fbpx

พ่อแม่ต้องรู้! พัฒนาการจับดินสอของเด็ก ไขข้อสงสัยทำไมลูกจับดินสอแปลกๆ?

Writer : Lalimay
: 24 กันยายน 2563

คุณพ่อคุณแม่เคยสังเกตการจับดินสอของลูกไหมคะ ว่ามีลักษณะแบบไหนบ้าง หลายๆ คนอาจสงสัยว่าทำไมลูกถึงจับดินสอแปลกๆ นั่นเป็นเพราะแต่ละช่วงวัยมีการพัฒนาในการจับดินสอที่แตกต่างกันนั่นเองค่ะ วันนี้เราจึงมีพัฒนาการจับดินสอของเด็กมาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่า

อายุ 1 – 1.5 ขวบ : Power Grasp

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสม : สีเทียนด้ามอ้วน

ในช่วงอายุนี้เด็กๆ ยังพัฒนากล้ามเนื้อมือได้ไม่เต็มที่ ยังควบคุมน้ำหนักมือได้ไม่ดี โดยในช่วงวัยนี้อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสมก็คือสีเทียนด้ามอ้วน เพราะทำให้จับถนัดมือและทนต่อแรงกดได้ดีกว่าดินสอหรือปากกาด้ามผอม ดังนั้นเด็กวัยนี้จึงจับสีเทียนที่ใช้ในการเขียนด้วยการกำมือเป็นท่าแรกเริ่ม เพราะจะควบคุมการเขียนได้ง่าย เวลาเขียนก็จะขยับไปทั้งท่อนแขน มีการงอของข้อมือ ซึ่งการจับแบบนี้จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และความมั่นคงของข้อมือ 

 

อายุ 2 – 3 ขวบ : Immature Pronated Grasp

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสม : ดินสอลักษณะสามเหลี่ยม

สำหรับช่วงอายุนี้ เด็กๆ จะพัฒนากล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้นแต่ก็ไม่ได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยในช่วงวัยนี้อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสมก็สามารถใช้ดินสอได้แล้ว แต่ก็ควรเป็นดินสอที่มีด้ามใหญ่สักหน่อย ถ้าเป็นแบบสามเหลี่ยมก็อาจทำให้จับได้ถนัดมือมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเด็กในวัยนี้จึงจับดินสอโดยใช้ทั้งนิ้ว และใช้ข้อมือคว่ำ หัวแม่มือและนิ้วชี้ชี้ลงไปที่กระดาษ ไม่มีช่องว่างระหว่างนิ้ว เวลาเขียนก็ยังคงขยับแขนทั้งท่อน ซึ่งการจับแบบนี้จะช่วยพัฒนาความมั่นคงของข้อมือ และทำให้รับรู้สัมผัสของการใช้มืออย่างแผ่วเบา

 

อายุ 3.5 – 4 ขวบ : Less Mature Static Tripod / Static Quadripod

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสม : ดินสอธรรมดา

ต่อมาคือช่วงอายุ 3.5 – 4 ขวบ เด็กๆ เริ่มจับดินสอได้ดีขึ้นแล้ว มีความมั่นคงมากขึ้น เริ่มจับดินสอในท่าเกือบถูกต้อง แต่ว่าจะมีช่องว่างในการจับระหว่างโคนนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้อาจแคบ เลยทำให้นิ้วเรียงตัวแปลกๆ ซึ่งในช่วงวัยนี้จะจับดินสออยู่ 2 ท่าหลักๆ คือ ใช้ 3 นิ้วและใช้ 4 นิ้วในการจับ และยังคงเขียนโดยเคลื่อนไหวทั้งแขนอยู่ดี สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนก็สามารถใช้ดินสอปกติได้เลย โดยการจับแบบนี้จะช่วยพัฒนาความแม่นยำของมือในการหมุนตำแหน่งการวาดหรือเขียน นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาการควบคุมกล้ามเนื้อแบบแยกส่วน ของนิ้วหัวแม่มือและนิ้วก้อยอีกด้วย

 

อายุ 4.5 – 6 ขวบ : Mature Dynamic Tripod / Dynamic Quadripod

อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสม : ดินสอธรรมดา

ช่วงอายุ 4.5-6 ขวบ เป็นวัยที่สามารถจับดินสอได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเด็กจะควบคุมน้ำหนักมือได้ดีขึ้น เวลาเขียนจะไม่รู้สึกเมื่อยนิ้ว ข้อมือ หรือท่อนแขนทำให้ลูกเขียนหนังสือหรือวาดรูปได้ดี ซึ่งท่าทางที่เหมาะสมคือ การจับดินสอด้วยปลายนิ้ว หัวแม่มืออยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง และหัวแม่มีมีความมั่นคง เรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างนิ้วชี้และนิ้วโป้ง โดยบางคนอาจจะใช้ 4 นิ้วในการจับดินสอก็ได้

แต่การจับด้วย 3 นิ้วจะมีประสิทธิภาพมากกว่าทำให้การเขียนมีความรวดเร็วและแม่นยำ

 

ท่าจับดินสอที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้ลูกไม่อยากเขียนได้

จริงๆ แล้ว การจับดินสอไม่มีมีถูกหรือผิด เพียงแค่วาดหรือเขียนได้อย่างถนัดก็พอ แต่ถ้าลูกรู้สึกเมื่อหรือไม่ยอมเขียนหนังสือ เมื่อถึงช่วงวัยที่เหมาะสมก็อาจต้องมาดูว่าสาเหตุเกิดจากการจับดินสอรึเปล่า เพราะการจับดินสอที่ไม่ถูกต้องจะทำให้เด็กออกแรงมากหรือน้อยเกินไปในการเขียน ซึ่งจะส่งผลให้การเขียนไม่มีประสิทธิภาพ  จนรู้สึกปวดเมื่อยแขน ข้อมือ และล้าง่าย เพราะการเขียนผิดท่า บางทีอาจเกิดตุ่มพองเพราะการเสียดสีในบางนิ้ว และท้ายที่สุดทำให้ไม่อยากวาดรูปหรือเขียนหนังสือ

ข้อมูลอ้างอิง

 

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
7 สิ่งที่เด็กวัย 2 ขวบทำเก่ง
ช่วงวัยของเด็ก
9 วิธีแก้ทางเด็กดื้อเด็กซน
เด็กอายุ 2-5 ขวบ
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save