จากการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 13 ได้เปิดเผยว่า ภาวะโภชนาการเด็กไทยในช่วงวัยต่ำกว่า 5 ปี ยังคงประสบปัญหาการเจริญเติบโตไม่เหมาะสม มีทั้งมากไปและน้อยไป โดยเฉพาะในช่วงวัย 1-3 ปี สาเหตุมาจากการขาดสมดุลด้านโภชนาการโดยได้รับสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตไม่เพียงพอ
โดยภาวะที่พบสูงมากในช่วงวัย 1-3 ปี คือ โภชนาการเกินหรือภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก และภาวะขาดโภชนาการส่งผลให้เด็กมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น
สำหรับภาวะโภชนาการเกิน โดยส่วนมากพบว่า มาจากการที่เด็กเล็กได้รับโปรตีนมากกว่าความต้องการของช่วงวัย ดังนั้นจึงมีคำแนะนำว่าควรจำกัดปริมาณนมสำหรับเด็กกลุ่มนี้ไม่ให้กินเกินวันละ 1-2 แก้ว หรือให้กินนมโปรตีนต่ำ (Yong Child Fomula) แทนการกินนมวัว
เพราะหากปล่อยให้ลูกอ้วนไปเรื่อยตั้งแต่อายุ 3-6 ปี โอกาสเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานในเด็กจะสูงมาก ผลสำรวจพบว่ามีอัตราเสี่ยงถึง 1.6 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อโตเป็นวัยรุ่นก็จะเป็นวัยรุ่นที่เป็นเบาหวาน มีอัตราเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากถึง 6.4 เปอร์เซ็นต์
ส่วนของภาวะแคระแกร็นเกิดจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ทางองค์การยูนิเซฟจึงได้จัดทำตัววัดคุณภาพอาหารในแต่ละวันที่เด็กต้องได้รับควรเป็นอาหาร 4 ใน 7 กลุ่ม ดังนี้คือ
1.ข้าวและธัญพืชชนิดต่างๆ
2.ถั่วและพืชตระกูลถั่ว
3.นมและผลิตภัณฑ์นม
4.เนื้อสัตว์ ปลา หมู ตับ เครื่องใน
5.ไข่
6.ผักผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง
7.ผลไม้อื่นๆ
อ้างอิงจาก