fbpx

ขอโทษลูกเป็นเรื่องปกติ วิธีสานสัมพันธ์เมื่อเราทำผิดพลาด

: 23 มีนาคม 2565

กินข้าวหรือยัง

แม่ปอกผลไม้ให้นะ ลงมากินกันเถอะ

พ่อแม่ชาวเอเชียขอโทษกันไม่เป็นหรอกเราเคยได้ยินประโยคนี้กันบ้างไหมคะ ที่เวลาเราทะเลาะกับพ่อแม่ ส่วนมากแล้วเราจะไม่ค่อยได้ยินคำว่าขอโทษจากพวกเขาเสียเท่าไรนัก แต่เป็นคำเชื้อเชิญให้ลงมากินข้าว หรือวิธีง้ออื่นๆ สไตล์พ่อแม่ปากแข็ง

แต่ต่อให้เป็นพ่อแม่ สุดท้ายแล้วเราก็เป็นมนุษย์คนหนึ่ง ใครๆ ก็ล้วนทำผิดพลาดกันได้ และที่จริงแล้วคำว่าขอโทษนั้นเปรียบเสมือนยาใจที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของครอบครัวเมื่อเกิดรอยแตกร้าวได้ดีกว่าที่คิด และการขอโทษลูกเมื่อเราทำผิดนั้นไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดีเลย

วันนี้ Parents One จะมาบอกถึงประโยชน์ของการขอโทษลูกเมื่อเราทำผิดพลาด และทำไมเราถึงควรทำให้มันเป็นเรื่องปกติกันค่ะ

 

ทำไมการขอโทษลูกเป็นสิ่งที่ดี?

ปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่จะสอนให้ลูกหัดขอโทษเมื่อเขาทำผิด แม้ว่าเขาจะรู้สึกผิดหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้าเกิดเราทำผิดขึ้นมาล่ะ?

เมื่อวันหนึ่งที่ภาระการงานหรือความเครียดจากชีวิตประจำวันส่งผลให้เราเผลอแสดงกิริยาที่ไม่ดีต่อหน้าลูก หรือเผลอทำสิ่งที่ทำให้เขาเสียใจขึ้นมา สิ่งที่จะทำให้เขารู้ว่าเรารู้สึกผิดกับสิ่งที่เราทำจริงๆ ทำให้เขาเชื่อใจและเข้าใจว่าเราเป็นห่วงความรู้สึกของเขา และส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของพ่อแม่และลูกแนบแน่นขึ้นด้วยค่ะ

นอกจากนี้แล้ว การขอโทษนั้นก็เหมือนเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกของเรา ถ้าเราขอโทษเขาอย่างถูกวิธี หาทางแก้ปัญหาหรือทดแทนในส่วนที่ผิดพลาดไป ก็จะทำให้เขาเข้าใจถึงการขอโทษและไถ่โทษที่ดี เข้าใจว่าคนเราผิดพลาดกันได้ และรักษาความรู้สึกของทั้งสองฝ่ายค่ะ

แล้วการขอโทษที่ดีเป็นอย่างไรกันล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

 

ยอมรับในความผิดพลาด และสัญญากับเขาว่าจะแก้ไขมัน

มนุษย์ทำผิดพลาดกันได้ พ่อแม่เองก็เช่นกันค่ะ ก่อนที่เราจะขอโทษอย่างจริงใจได้ เราควรยอมรับความผิดพลาดของตัวเองเสียก่อน อธิบายกับลูกของเราอย่างตรงไปตรงมาว่าเราผิดพลาดตรงไหน แสดงให้เขาเข้าใจว่าเราเข้าใจถ้าเขาจะกลัวหรือรู้สึกเจ็บปวดจากเหตุการณ์ดังกล่าว ขอความอภัยจากเขา และสัญญากับเขาว่าจะแก้ไขสิ่งที่เราทำผิดพลาดไปในอนาคตค่ะ

 

อย่าโทษหรือกล่าวหาลูกทางอ้อม

แม่ขอโทษนะ แต่เพราะลูกดื้อ ส่งเสียงดัง แม่ถึง…”

บางทีคำขอโทษนั้นก็แฝงถึงการโบ้ย การโทษอีกฝ่ายทางอ้อมด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกใช้คำให้ดีนะคะ การขอโทษที่กล่าวหาจะทำให้ลูกรู้สึกต่อต้าน

พยายามขอโทษเขาโดยไม่ใช้คำกล่าวหา แต่ใช้คำปลอบหรือการแสดงความรักแทน หลังจากนั้นค่อยอธิบายให้เขาฟังดี ๆ เพื่อให้เขาเข้าใจความผิดหรือแก้ไขพฤติกรรมของเขาค่ะ

 

แก้ไขปัญหาและทำความเข้าใจไปด้วยกัน

ปัญหาในครอบครัวและความสัมพันธ์ไม่ควรมีคำว่าแพ้หรือชนะ ครอบครัวก็คือทีมเดียวกัน เสนอทางออกหรือเวลาเพื่อพูดคุย ทำความเข้าใจกับลูกเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาด้วยกันเป็นครอบครัวค่ะ

 

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อฉันเป็นแม่
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save