ลูกคือแก้วตาดวงใจ ตั้งแต่วันที่รับรู้ว่ามีเจ้าตัวเล็กที่กำลังเติบโตอยู่ในท้อง ความปรารถนาของคนเป็นแม่คงมีเพียงอย่างเดียว คือหวังให้ลูกแข็งแรงทั้งกายใจ พร้อมออกมาพบหน้ากันอย่างสมบูรณ์
NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing จึงกลายเป็นเป็นเทคโนโลยีทางเลือกใหม่ที่จะช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้มากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะสามารถรู้เพศของลูกได้แล้ว ยังสามารถตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้อย่างแม่นยำ ทราบความเสี่ยงหรือความพิการตั้งแต่เนิ่นๆ
รวมทั้งยังลดอัตราการเจาะน้ำคร่ำโดยไม่จำเป็น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เป็นอันตรายกับลูกได้
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักหรือคุ้นเคยกับ NIPT สักเท่าไร ไม่แน่ใจว่ามีกระบวนการวิธีการอย่างไร ปลอดภัยต่อลูกหรือเปล่า ควรจะตัดสินใจตรวจดีไหม ฉะนั้น วันนี้ Parents One จะพาไปเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ NIPT กัน!
นอกจากนี้ ยังมีโปรโมชันสุดพิเศษจาก N Health มาแนะนำให้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของคุณแม่ที่ต้องการจะตรวจ NIPT อีกด้วยถ้าพร้อมกันแล้วตามไปดูกันเลยค่ะ
คุณแม่รู้ไหม? ทำไมต้องตรวจ NIPT : “รู้เร็ว รู้ก่อน พร้อมรับมือ”
NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing คือการตรวจเลือดคุณแม่เพื่อคัดกรองความผิดปกติทางโครโมโซมของทารกภายในครรภ์ อาทิ ดาวน์ซินโดรม เอ็ดเวิร์ดซินโดรม หรือพาทัวซินโดรม รวมถึงความผิดปกติของโครโมโซมเพศ
การตรวจ NIPT นั้นได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากๆ เลยค่ะ เพราะนอกจากจะมีความแม่นยำสูงมากกว่า 99% ยังไม่เป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และคุณลูกอีกด้วย
เพราะอย่างนั้นแล้ว ถึงแม้ความผิดปกติทางโครโมโซมต่างๆ จะไม่ได้พบทั่วไป แต่ตรวจเอาไว้ก็ไม่เสียหลายค่ะ ทั้งยังช่วยคลายความกังวลและช่วยให้คุณแม่วางแผนต้อนรับลูกน้อยที่จะออกมาลืมตาดูโลกอย่างปลอดภัย
การตรวจ NIPT เหมาะกับคุณแม่คนไหนบ้าง?
คุณแม่สามารถรับการตรวจ NIPT ได้ตั้งแต่อายุครรภ์ครบ 10 สัปดาห์ขึ้นไป โดยคุณแม่ที่ควรเข้ารับการตรวจ NIPT ก็ได้แก่
- คุณแม่ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
- คุณแม่ที่ครอบครัวมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซม คู่ที่ 13 18 และ 21
- คุณแม่ที่เคยคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ
- คุณแม่ที่ทำอัลตราซาวด์แล้ว พบว่าทารกเสี่ยงมีโครโมโซมผิดปกติ
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณแม่อายุยังน้อยหลายๆ ท่านคงจะเริ่มตั้งคำถามว่า “ถ้าอย่างนั้นแล้ว คุณแม่อายุน้อยกว่า มีความเสี่ยงน้อยกว่า คงไม่จำเป็นต้องตรวจ NIPT ใช่ไหม” คำตอบคือจำเป็นค่ะ เพราะกลุ่มอาการผิดปกติสามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกช่วงวัย เพียงแต่ว่าความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุเยอะขึ้นนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ ไม่ว่าคุณแม่จะอายุเท่าไรก็ไม่ควรมองข้ามการตรวจ NIPT ไปนะคะ
เว้นเสียแต่คุณแม่ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง มีโครโมโซมผิดปกติ เคยได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผ่านการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์อาจไม่เหมาะกับการตรวจแบบ NIPT เพราะตัวอย่างเลือดอาจตรวจเจอพบความผิดปกติของโครโมโซมคุณแม่แทน
ฉะนั้น ก่อนจะตัดสินใจตรวจ NIPT คุณแม่ควรศึกษาหาข้อมูล พร้อมทั้งเข้ารับคำปรึกษากับคุณหมอผู้ดูแลเสียก่อนค่ะ
Essential NIPT vs Complete NIPT : ตรวจแค่ 3 โครโมโซม หรือ ตรวจทุกโครโมโซมแบบไหนดีกว่ากัน ?
การตรวจ NIPT By N Health มีด้วยกันทั้งสิ้น 2 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจคัดกรองความผิดปกติโครโมโซม 3 คู่หลัก (Essential NIPT) และ ตรวจคัดกรองทุกโครโมโซม (Complete NIPT)
ความแตกต่างก็ตรงตัวเลยค่ะ Essential NIPT จะเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมที่พบความผิดปกติได้บ่อยที่สุด ได้แก่
- “กลุ่มอาการพาทัวร์” (Trisomy 13) โครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 โครโมโซมส่งผลให้ทารกปากแหว่งเพดานโหว่ ใบหูต่ำ นิ้วมือนิ้วเท้าเกิน และสมองพิการ
- “กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด” (Trisomy 18)โครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 โครโมโซม ทำให้ทารกศีรษะเล็ก ใบหูต่ำ ปากแหว่งเพดานโหว่ มีหัวใจและไตพิการ ปอดและทางเดินอาหารผิดปกติ
- “กลุ่มอาการดาวน์” (Trisomy 21) โครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 โครโมโซม โดยทารกจะศีรษะเล็กและแบน มีหางตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน พัฒนาการค่อนข้างช้า และมี IQ ต่ำ อาจมีอาการผนังกั้นห้องหัวใจรั่วร่วมด้วย
ในทางกลับกัน Complete NIPT จะเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมตั้งแต่คู่ที่ 1-23 ได้แก่ โครโมโซมร่างกาย (Autosome) โครโมโซมคู่ที่ 1-22 ซึ่งเป็นโครโมโซมส่วนที่ทำหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมและลักษณะทางกายภาพต่างๆ เช่น รูปร่าง หน้าตา ส่วนสูง ลักษณะเส้นผม ฯลฯ รวมถึงโครโมโซมคู่ที่ 23 หรือโครโมโซมเพศอีกด้วย
นอกเหนือไปจากภาวะผิดปกติทางโครโมโซมที่พวกเราคุ้นเคยกันดี ความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นจะอยู่ที่ 7% จากความผิดปกติของโครโมโซมทั้งหมด นับว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยนะคะ แถมความผิดปกติของโครโมโซมคู่อื่นๆ ยังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อลูกในครรภ์ ไม่ว่าจะภาวะการเจริญเติบโตช้า ความเสี่ยงผิดปกติทางรูปร่าง ไปจนกระทั่งถึงภาวะแท้ง หรือเสียชีวิตหลังคลอด
การตรวจ Complete NIPT จึงถือว่าครบครอบคลุมรู้รอบทุกความเสี่ยงอาการผิดปกติการันตีความสบายใจของคุณแม่ได้มากกว่าเดิม
ตามไปดู! ขั้นตอนการตรวจ NIPT
อีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่มักสงสัยเกี่ยวกับการตรวจ NIPT คือกระบวนการขั้นตอน ต้องบอกเลยว่าการตรวจ NIPT ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่หลายคนคิดค่ะ
คุณแม่ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหาร เพียงแค่นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จากนั้นเมื่อถึงเวลาตรวจก็เดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดประมาณ 10 ซีซี รอ 5-7 วันก็จะทราบผล
แต่อยากจะแนะนำเพิ่มเติมว่าก่อนจะทำการตรวจ คุณแม่จำเป็นจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจ NIPT และไม่ลืมที่จะรวบรวมข้อมูลทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นโรคประจำตัว ยาที่ทานประจำ และประวัติการรักษาที่ผ่านมา เพื่อแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อผลที่ออกมาแม่นยำไม่คลาดเคลื่อนค่ะ
ทำไมต้องเลือกตรวจ NIPT by N Health?
สำหรับคุณแม่ที่สนใจอยากตรวจ NIPT สามารถตรวจได้ทั้งในโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำทั่วไปที่มีบริการรับตรวจ
ยกตัวอย่างเช่น N Space หรือ N Health Lab Center ศูนย์ตรวจสุขภาพแนวใหม่จาก N Health ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนทุกเพศทุกวัย มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพมากมาย แถมมีสาขาให้เข้ารับบริการมากกว่า 30 สาขาทั่วประเทศ
ที่นี่มีบริการตรวจ NIPT ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรองเครื่องหมาย CE-IVD จากยุโรปทั้งยังใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์ผลจากประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความแม่นยำแถมมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
ยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่ตรวจแล้วผลออกมามีความเสี่ยงสูงทาง N Health ยังมีวงเงินสนับสนุนการเจาะน้ำคร่ำให้สูงสุดถึง 20,000 บาท และยังมีการรับประกันในกรณีที่มีผลลบลวงสูงสุดถึง 2,500,000 บาท เรียกได้ว่าที่เดียวจบครบ เพิ่มความอุ่นใจ คลายทุกความกังวลอย่างแน่นอนค่ะ
โปรโมชันพิเศษ! ต้อนรับเทศกาลวันแม่
Super Mom Super Sale ดีลสุขภาพ ลดพิเศษเพื่อคุณแม่โดยเฉพาะ แพ็กเกจตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์ (23 คู่) Complete NIPT จ่ายเพียง 13,800 บาท จากราคาปกติ 14,900 บาท (ประหยัดไปได้ถึง 1,100 บาท) ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2567
พิเศษสุดๆ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ชาว Parent One เมื่อบันทึกภาพหน้าจอของโพสต์นี้แล้วสั่งซื้อแพ็กเกจตรวจ NIPT ทาง LINE Official : https://bit.ly/4cKtdst ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2567 รับฟรี! Healthy Beginner แพ็กเกจตรวจสุขภาพเบื้องต้น 12 รายการตรวจ (มูลค่า 1,810 บาท คนละ 1 แพ็กเกจ) (มีจำนวนจำกัด)
ติดตามข่าวสารเพื่อสุขภาพดีๆ รวมถึงปรึกษา ทำนัดตรวจสุขภาพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- Facebook : N Health Thailand
- LINE : @NHealth
- Instagram : nhealth_asia
- Tiktok : nhealth.Thailand
- Youtube : N Health