โรคไมเกรมเป็นสาเหตุของการปวดหัวที่พบได้บ่อย ส่วนมากเราจะเห็นว่าเป็นโรคที่ผู้ใหญ่เป็นกัน แต่จริงๆ แล้วไมเกรนพบได้ตั้งแต่เด็กอนุบาล แต่ไม่เป็นอันตรายและพ่อแม่สามารถป้องกันได้
นายแพทย์ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า เด็กจะมีโอกาสเป็นโรคไมเกรนได้ถ้าสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคไมเกรน ปัจจัยภายนอกที่อาจกระตุ้นทำให้ปวดศีรษะ เกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดในสมองที่มากเกินไป เพราะสารเคมีเซโรโตนินในสมองทำงานไม่ปกติ
โดยโรคไมเกรนแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน และไมเกรนที่มีอาการเตือน อาการเตือนที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ โดยจะเห็นแสงเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย อาจจะมีหรือไม่มีสีหรือเห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน มองภาพไม่ชัด
ซึ่งพ่อแม่สามารถสังเกตอาการได้จากลูกมักบ่นปวดหัวทั้งที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีปัญหาเรื่องสายตา ปวดศีรษะบริเวณขมับ หรือหน้าผาก แต่ละครั้งนานเกิน 1 ชั่วโมง ปวดมากเมื่อมีการเคลื่อนไหว คลื่นไส้อาเจียนในบางครั้ง
โรคไมเกรนในเด็กไม่มีอันตรายรุนแรง เพียงแต่จะกระทบต่อชีวิตประจำวันทำให้หงุดหงิดงอแงมากกว่าปกติ วิธีการดูแลและป้องกันเมื่อเด็กมีอาการไมเกรน คือ หลีกเลี่ยงแสงแดด หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปต่างๆ เล่นการนอนดึก การใช้สายตาเป็นเวลานานอย่างเล่นเกมหรือคอม
นอกจากนี้ยังต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าปวดหัวไม่มากให้นอนพักแต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นให้กินยาพาราจะช่วยบรรเทาอาการปวด แต่ถ้าปวดหัวรุนแรงมากๆ ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที
อ้างอิงจาก