fbpx

NEWS: รู้จักไว้ก่อนนะ HAE โรคหายากที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จัก

: 19 มีนาคม 2564

โรค HAE หรือ Hereditary angioedema แม้หายากและพบได้ในปริมาณที่น้อยมาก ทั่วโลกพบอุบติการณ์โดยประมาณ 1 ต่อ 50,000 ราย แต่ถึงแม้ว่าโรคนี้พบเห็นได้น้อยในแง่ปริมาณ แต่อาจรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้ฉับพลันเลยทีเดียวค่ะ

รศ.พญ.พรรณทิพา ฉัตรชาตรี นายกสมาคมโรคภูมิแพ้ โรคหืด และวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย ได้เผยว่าโรค HAE เป็นโรคหายากที่มีอุบัติการณ์น้อยมาก เกิดจากพันธุกรรมถ่ายทอดจากยีนเด่น มาจากความผิดปกติของโปรตีนในเลือด C1 esterase-inhibitor (C1-INH) ที่ช่วยควบคุมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและระบบการแข็งตัวของเลือด

หากการทำงานของ C1-INH ลดลง จะทำให้เกิดอาการบวมเฉียบพลันที่ใบหน้า ลิ้น และส่วนอื่นๆ ของร่างกาย และแสดงอาการชัดขึ้นในเด็กวัยกำลังโต ในบางกรณีอาการบวมอาจเกิดขึ้นในลำไส้ ส่งผลให้ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน และถ้าหากเกิดอาการบวมในระบบทางเดินหายใจ จะเสี่ยงต่อการขาดอากาศ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ฉับพลันหากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง

อย่างไรก็แล้วแต่ ในขณะนี้มีการเตรียมจัดตั้งห้องปฏิบัติการใช้สำหรับทดสอบโปรตีนคอมพลิเมนต์ในประเทศไทย ในโรงพยาบาลรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ รพ.ศิริราช รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี รับคนไข้ส่งต่อจากทั่วประเทศ โดยสามารถเข้ามารับตรวจคัดกรองโรคและตรวจเลือดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถจับสังเกตอาการได้ดังนี้ค่ะ

  • หายใจลำบากฉับพลัน ช่วงคอบวม
  • ปวดท้องรุนแรงเป็นครั้งคราวโดยไม่ทราบสาเหตุ (ในที่นี้รวมทั้งอาเจียน ท้องร่วง ความเจ็บปวดบริเวณท้อง)
  • มีอาการบวมที่มือ แขน ขา ปาก ตา ลิ้น คอ หรืออวัยวะเพศ
  • ผื่นแดงที่ไม่มีอาการคัน

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3eVsVn6

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save