นพ.กุลพัชร จุลสำลี ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แนะนำว่าการได้รับแคลเซียมที่เพียงพอนั้นจะช่วยส่งเสริมให้กระดูกแข็งแรงไม่เป็นโรคภาวะกระดูกพรุนในตอนสูงวัย
นอกจากนี้แคลเซียมเองยังเป็นอีกหนึ่งสารอาหารสำคัญที่ช่วยในระบบหมุนเวียนเลือด, ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่นนั้นแล้วการได้รับแคลเซียมที่เหมาะสมต่อช่วงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ซึ่งความหนาแน่นของมวลกระดูกนั้นจะเพิ่มมากขึ้นไปตามวันและจะมีมวลสูงสุด (peak bone mass) ในช่วงอายุที่ 20-25 ปี หลังจากนั้นจึงจะเริ่มลดลงในช่วงอายุ 35-40 ปี โดยที่ผู้หญิงจะลดลงได้เร็วกว่าผู้ชาย ยิ่งหากหมดประจำเดือนแล้วก็จะยิ่งลดลงเร็วยิ่งขึ้น
เช่นนั้นแล้วเด็กๆ จึงควรบริโภคแคลเซียมให้ได้มากๆ ก่อนจะถึงช่วงอายุ 20-25 ปีแต่นอกจากนี้ก็ควรหมั่นออกกำลังกายและดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอด้วยเพื่อป้องกันการเป็นโรคกระดูกพรุน
การรับแคลเซียมแบ่งได้ตามช่วงอายุดังนี้
- ช่วงอายุ 0-6 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 7-12 เดือน ควรได้รับแคลเซียม 260 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 1-3 ปี ควรได้รับแคลเซียม 700 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 4-8 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 9-13 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 14-18 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,300 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 19-50 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1,000 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,500 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 51-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,000 มิลลิกรัม
- ช่วงอายุ 71 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม 200 มิลลิกรัม ปริมาณสูงสุดที่แนะนำ 2,000 มิลลิกรัม