fbpx

NEWS : พ่อแม่ระวัง กัญชาส่งผลต่อสมองเด็ก หากเด็กได้รับโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์อาจอันตราย

Writer : Jicko
: 16 มิถุนายน 2565

จากเดิมที่กัญชามีเฉพาะสารสกัดที่ใช้ในทางการแพทย์ แต่ตอนนี้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผสมกัญชาสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่ส่วนใหญ่มักไม่ได้ตั้งใจรับสารนั้นโดยตรง

ในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ในปี 2561 พบว่าเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 12 ปี ได้รับกัญชาโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ร้อยละ 38 ผ่านทางการกินขนม เช่น คุ้กกี้ ลูกกวาด ผ่านทางการสูดควันบุหรี่ที่ผสมกัญชา และ ผ่านทางผิวหนังจากน้ำมันกัญชา มีผลทำให้เด็กเกิดอาการทางระบบประสาทร้อยละ 71 และ ต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยหนักร้อยละ 18

นอกจากนี้ปี พ.ศ.2565 ในประเทศแคนาดาพบปัญหาเด็กอายุน้อยกว่า 9 ปีได้รับกัญชาโดยไม่ตั้งใจและต้องเข้าห้องฉุกเฉิน มีแนวโน้มจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่มีผลิตภัณฑ์กัญชาที่กินได้ขายอย่างแพร่หลาย ในช่วงปี พ.ศ.2563-2564

ในพืชกัญชามีสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) หลายชนิด ซึ่งจากการศึกษาของ Noble MJ, et al พบว่าร้อยละ 45 เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี (ร้อยละ 28 อายุน้อยกว่า 12 ปี) โดยพบว่าเด็กได้รับสารแคนนาบินอยด์โดยการกินอย่างไม่ตั้งใจมากที่สุดร้อยละ 98

การที่เด็กมีโอกาสที่รับสารกัญชาแบบไม่รู้ตัวนั้น ก็เนื่องมาจากต้นกัญชาและผลิตภัณฑ์กัญชา สามารถแปรรูปได้ทั้งอาหาร, เครื่องดื่ม, ขนม ทำให้การเตรียมความรู้เรื่องของอาการเป็นพิษทางระบบประสาทและการแก้ไขจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

อาการและอาการแสดงด้านระบบประสาท

  • อาการทางกดระบบประสาท ได้แก่ ซึมลง หมดสติ โคมา เป็นลม หกล้ม สับสน พูดผิดปกติ อ่อนแรง เดินเซ การประสานงานผิดปกติ เป็นต้น
  • อาการทางกระตุ้นระบบประสาท ได้แก่ วิตกกังวล หวาดระแวง panic attack  อาการหลอน มองเห็นผิดปกติ ไม่อยู่สุข ก้าวร้าว จิตวิปลาส อาการชัก สั่น หรือกระตุกแบบสะดุ้ง เป็นต้น
  • อาการทางระบบประสาทอื่นๆ ที่พบ เช่น อารมณ์หงุดหงิด อารมณ์ดีเกินไป ความรู้สึกผิดปกติ  รู้สึกชา เจ็บเหมือนเข็มตำ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ บ้านหมุน เป็นต้น

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง รักษาตามอาการขึ้นกับอาการที่นำมาโรงพยาบาล ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการรักษา ดังนี้

  • เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลให้อยู่ในที่ที่เงียบสงบและปลอดภัย
  • ให้การตรวจการทำงานของระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจหาสารพิษในปัสสาวะ
  • ประเมินชีพจร ตรวจดูระบบหัวใจและทรวงอก การหายใจ รวมทั้งการทำงานของสมอง
  • มองหาและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดจากการได้สารแคนนาบินอยด์ เช่น หากมีอาการชักให้การรักษาโดยการให้ยาเพื่อควบคุมอาการชักและต้องหยุดการได้สารแคนนาบินอยด์ เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา การแนะนำและให้ความรู้คุณพ่อคุณแม่ให้เกิดการตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งนั่นเองค่ะ

อ้างอิงจาก : https://www.pptvhd36.com/health/care/1019

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save