งานวิจัยที่จัดทำขึ้นโดย แคสเปอร์สกี้ เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พ่อแม่ในอาเซียนร้อยละ 40 คิดว่า ลูกของตัวเองมีอารมณ์ฉุนเฉียว และก้าวร้าวมากขึ้น หลังจากที่ได้เล่นเกม แต่ในความจริงแล้ว ผู้ปกครองและเด็กที่เกิดมาพร้อมสื่อออนไลน์ต่างมีช่องว่างของระยะห่างจากวัยเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจเกิดปัญหาในเรื่องการสื่อสารที่ผิดพลาด หากไม่อธิบายให้เข้าใจตรงกัน นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ของโควิด ทำให้เกิดการล็อกดาวน์ และเด็กๆ ต้องอยู่ที่บ้านเพิ่มมากขึ้น จึงมีการใช้อินเทอร์เน็ตตลอดทั้งวัน
ซึ่งได้มีงานวิจัยหลายงานได้บอกเอาไว้ว่า การเล่นเกมไม่ได้มีแต่ข้อเสียอย่างเดียว เพราะการเล่นเกมก็มีประโยชน์เช่นกัน แต่ต้องเล่นอย่างพอดี ไม่หักโหม และต้องรู้จักการจัดการอารมณ์ของตัวเองด้วย
สุดท้ายแล้ว การเล่นเกมไม่ได้มีแต่ด้านลบ หากเราสามารถจัดการชีวิตของบุตรหลานให้ปลอดภัยได้ และที่สำคัญ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องอย่าห้ามไม่ให้ลูกเล่นเกมเด็ดขาด เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แต่ลองทำตามคำแนะนำ ดังนี้
- รู้จักวิธีการสื่อสาร และวิธีการพูดกับลูกให้ดี
- กำหนดช่วงอายุ ว่าเมื่อลูกอายุเท่าใด จึงสามารถเล่นเกมนี้ได้
- จำกัดเวลา ไม่ให้ลูกเล่นเพลิน จนไม่เป็นอันทำกิจกรรมอย่างอื่น
- ปกป้องข้อมูลสำคัญจากไวรัส โดยการไม่เปิดเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายและไม่ได้รับความปลอดภัย
- รู้จักการตั้งค่า เพื่อจำกัดการซื้อไอเทมต่างๆ ในแอปฯ
- ให้ลูกมีงานอดิเรกในชีวิตจริง ไม่หมกมุ่นอยู่แต่ในเกม
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง : ch3thailandnews