ในระยะหลัง เราเห็นคอนเทนต์ที่มีเด็กเป็นตัวละครนำหรือตัวละครหลักอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ปกครองทำคอนเทนต์ หรือครูและอาจารย์ถ่ายนักเรียนขอตนเองลงในช่องทาง ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่มักเป็นการตัดผมเด็ก, เด็กร้องไห้, ถูกแกล้งเพื่อบันทึกภาพไว้มาลงเป็นเรื่องตลก ทำให้คุณหมอเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน หรือคุณหมอโอ๋ ( ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร ) ต้องออกมาโพสแสดงความเห็นเพื่อให้บรรดาอาจารย์และผู้ปกครองฉุกคิด
“เด็กนักเรียนไม่ใช่เครื่องสร้างคอนเทนท์
เด็กนักเรียน ไม่ใช่เครื่องมือสร้างคอนเทนท์ให้ครู
พ่อแม่ควรรู้ ว่านี่คือเรื่องของการละเมิดสิทธิ
อะไรที่ลงในโลกออนไลน์ ‘มันจะอยู่ที่นั่นตลอดไป’
เด็กๆ หลายคนไม่ได้เต็มใจให้ครูเอาพวกเขาไปเรียกยอดไลก์
แต่อำนาจที่สูงกว่า ทำให้เด็กหลายคนไม่กล้าปฏิเสธ
Social bullying ในเด็ก หลายครั้งเกิดจากการเห็นตัวอย่างจากผู้ใหญ่
ครูมีหน้าที่พิทักษ์สิทธิของเด็ก
โรงเรียนมีหน้าที่กำกับ การละเมิดสิทธิผู้อื่นของครู
กระทรวงศึกษามีหน้าที่ทำให้ครูเกิดความเข้าใจ และออกกฎกติกา เพื่อทำให้ไม่เกิดการเลียนแบบและทำกันอยู่ซ้ำๆ
พ่อแม่มีหน้าที่ปกป้องสิทธิของลูก ด้วยการส่งเสียงไม่ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น
สังคมมีหน้าที่ไม่สนับสนุนการกระทำ ที่กำลังเกิดขึ้นกับเด็กซ้ำๆ เหล่านี้
ก่อนลงอะไรในโลกออนไลน์
ช่วยถามตนเองซ้ำๆ ว่าสิ่งที่กำลังทำมันเกิดประโยชน์กับใคร
และเด็กๆ
เค้าได้อะไรจากสิ่งเหล่านี้?
จาก หมอโอ๋เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน
ผู้เชื่อว่าคุณครูคือผู้ที่เด็กเห็นเป็นแสงสว่างและเป็นแบบอย่างที่ดี
ฝากด้วยนะคะ กระทรวงศึกษาธิการ Ministry of Education”
โดยข้อความดั่งกล่าวของคุณหมอนั้น มุ่งเน้นให้ผู้ใหญ่ ตระหนักรู้ได้ถึงสิทธิของตัวเด็ก และเคารพในตัวตนของเขา เพราะสิ่งที่ถ่ายและโพสลงไปแล้ว มันจะอยู่ในโลกออนไลน์ตลอดไป เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขหรือลบออกได้หมดเมื่อสิ่งนั้นได้ทำการเผยแพร่ไปแล้ว จึงอยากขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายช่วยกันส่งเสียงหยุดการละเมือสิทธิ์ของเด็ก และส่วนที่ควรเข้ามาส่วนช่วยที่สุดคือกระทรวงการศึกษา ที่ต้องคอยควบคุมและดูแลให้บุคลากรทางการศึกษาระมัดระวังการถ่ายหรือการบันทึกภาพเด็กมาลงโซเชียล รวมถึงผู้ปกครองก็ต้องมีความยัง้คิด และนึกถึงความรู้สึกของลูกเป็นหลัก
อ้างอิงจาก https://www.sanook.com/health/35365/