จากการสำรวจในประเทศไทย เด็กไทยนอนกรนเป็นประจำร้อยละ 6.9-8.5 ซึ่งปกติแล้วการนอนกรนนั้นจะเกิดจากความเหนื่อยล้าสะสมหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจจนทำให้หายใจลำบาก ทำให้ส่วนมากการกรนนั้นมักเกิดกับผู้ใหญ่หรือบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ แต่หากการนอนกรนเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก แปลว่าอาจมีสัญญาณอันตรายที่ห้ามปล่อยปละละเลยอย่างเด็ดขาดเพราะเด็กอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนี้เกิดจากการบกพร่องออกซิเจนในเลือดจึงทำให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ส่งผลให้คุณภาพการนอนลดลงไปจนทำไปสู่การหยุดหายใจเพราะออกซิเจนหล่อเลี้ยงไม่พอในที่สุด ซึ่งจากการคิดร้อยละข้างต้น เด็กไทยมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับไปถึงร้อยละ 0.7-1.3 เลยทีเดียว
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตว่าลูกๆ เข้าข่ายหรือไม่จากสิ่งเหล่านี้
- นอนกรนบ่อยเกิน 3 คืนต่อสัปดาห์
- หายใจแรงขณะหลับ
- หยุดหายใจและมีเสียงหายใจเฮือก
- ปัสสาวะรดที่นอน
- นอน, นั่งในท่าแหงนคอ ริมฝีปากเขียว
- น้ำหนักน้อย, อ้วนกว่าเกณฑ์
- เพดานปากโค้งสูง, โหว่
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจด้านขวา
เช่นนั้นแล้ว หากเด็กๆ ในบ้านมีอาการหรือเข้าข่าย ควรรีบน้ำพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการตรวจและรักษาให้เหมาะสมกับอาการที่เป็น
ที่มา : https://www.prachachat.net/rama-health/news-589828