ไส้กรอก ถือเป็นอาหารยอดฮิตที่เด็กๆ ชื่นชอบ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องเลือกไส้กรอกที่มีอย.และมีคุณภาพ เพราะล่าสุด พบเด็กป่วยจากการกินไส้กรอกที่ไม่มีคุณภาพ เนื่องจากใส่สารกันเสียเยอะเกินไปค่ะ
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ได้ให้ข้อมูลว่า พบเด็กป่วยด้วยภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) จำนวน 6 ราย ใน 5 จังหวัด (เชียงใหม่ 2 ราย, เพชรบุรี 1 ราย, สระบุรี 1 ราย, ตรัง 1 ราย, กาญจนบุรี 1 ราย) โดยทั้งหกรายมีประวัติกิน ไส้กรอกซึ่งไม่มียี่ห้อ ไม่มีเอกสารกำกับ อาการของผู้ป่วยคือ คลื่นไว้ เวียนศีรษะ เหนื่อย หายใจเร็ว เขียว ระดับออกซิเจนที่วัดปลายนิ้วต่ำ ในขณะนี้ยังไม่มีรายใดที่รุนแรงถึงแก่ชีวิต
ซึ่งภาวะเมทฮีโมโกลบิน (Methemoglobin) เป็นภาวะที่ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงถูกออกซิไดช์โดยสารออกซิแดนท์ต่างๆ (มีอยู่ในสารตระกูล ไนเตรท และไนไตรทที่อาจอยู่ในไส้กรอก) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสีย กลายเป็นเมทฮีโมโกลบิน ทำให้สูญเสียความสามารถในการขนส่งออกซิเจน และสีของเม็ดเลือดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ
ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจนเช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว เขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและเสียชีวิตได้
สำหรับเด็กที่ป่วยนั้นได้รับประทานไส้กรอกฟุตลองรสไก่รมควันที่คาดว่าจะมีส่วนผสมของสารไนไตรท์ในปริมาณมาก เนื่องจาก ไม่มียี่ห้อและไม่มีเครื่องหมาย อย. และ ไม่ระบุแหล่งผลิต แต่ทราบว่าผู้ปกครองได้สั่งซื้อทางออนไลน์ มีต้นทางจากตลาดมหาชัย จ.สมุทรสาคร
โดยในขณะนี้ตัวอย่างไส้กรอกดังกล่าวได้ถูกเก็บส่งตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภาคเหนือเพื่อดูว่ามีปริมาณของสารไนไตรทมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อหนึ่งกิโลกรัม
อ้างอิงจาก