fbpx

กิจกรรมทางดนตรีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กตั้งแต่ 4 เดือนจนถึง 7 ขวบ

Writer : Lalimay
: 3 พฤษภาคม 2562

ดนตรีเป็นสิ่งอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน เพราะไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ชุบชูใจและทำให้เพลิดเพลินเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะในเด็ก การที่เราส่งเสริมทักษะทางด้านดนตรีหรือให้ลูกซึมซับดนตรีตั้งแต่เล็ก จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการด้านต่างๆ ให้ดีขึ้นได้ โดยในเด็กแต่ละช่วงวัยก็มีกิจกรรมทางดนตรีที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการที่แตกต่างกันค่ะ

เด็กวัย 4-8 เดือน

กิจกรรมการเรียนรู้ทางดนตรีที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาการของลูกในวัยนี้คือ การจัดของเล่นและเครื่องดนตรีสำหรับเด็กเล็ก โดยใช้ดนตรีที่มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ (Percussion) เช่น ลูกแซก (Maracas) กระดิ่ง (Bell) กลองใบเล็ก (Drum) โดยอาจจะวางเครื่องดนตรีนั้นไว้ใกล้ๆ ตัวของลูก พ่อแม่อาจจะประคองหรือจับมือลูกในการลองสัมผัส เพื่อที่จะทำให้เครื่องดนตรีชนิดนั้นเกิดเสียงด้วยก็ได้

กิจกรรมที่ช่วยเสริมเชาว์ปัญญา คือ การเขย่า เคาะ หรือตีเพื่อดึงดูดความสนใจ อาจพูดคำศัพท์ 2-3 คำประกอบการเขย่า เคาะหรือตี เช่น “เล่น ตี กลอง” “เล่น ตี ระฆัง” ก็จะทำให้ลูกเชื่อมโยงระหว่างเสียงของคำและความหมายที่ได้ยิน ผ่านการเรียนรู้จากเสียงที่ได้ยินและเสียงที่เงียบหายไป

เด็กวัย 8-12 เดือน

กิจกรรมทางดนตรีที่สอดคล้องกับพัฒนาการตามช่วงอายุของเด็กวัยนี้คือ การให้ลูกได้เรียนรู้เสียงของเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นด้วยตัวเอง อย่างเช่นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ คีย์บอร์ด ไซโลโฟน ให้ลูกได้ลองกด ลองดีด ลองเป่า ลองตี ก็จะทำให้ลูกตื่นตาตื่นใจและสนุกสนานกับเสียงดนตรีที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้พ่อแม่อาจจะทำกิจกรรมร่วมกับลูกโดยทำให้ดูเป็นตัวอย่างและให้เด็กเลียนแบบ ทั้งในด้านความดัง-เบา จังหวะช้า-เร็ว พอลูกได้ลองทำด้วยตัวเองก็จะค่อยๆ เรียนรู้ว่าจะต้องทำยังไงเพื่อให้เกิดเสียงต่างๆ ขึ้นและเพิ่มความรู้สึกท้าทาย

เด็กวัย 1-2 ขวบ

กิจกรรมเรียนรู้ทางดนตรีที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กในวัยนี้คือ การร้องเพลงหรือเปิดเพลง พร้อมกับการเขย่า เคาะ หรือตี เช่น กลองรำมะนาที่มีลูกพรวนผูกไว้ (Tambourine) และกลอง (Drums) หรือ การเขย่าลูกแซก (Maracas) ให้เกิดเสียงไปตามจังหวะของเพลง

โดยเราอาจเสริมการเรียนรู้คำศัพท์พื้นๆ ไปกับเสียงเพลงได้ด้วย เช่น เพลงที่เกี่ยวกับอวัยวะ อย่าง Head Shoulder Knees and Toes ซึ่งการใช้ทำนองเพลงที่ซ้ำๆ กัน ร้องวนไปวนมาแต่เปลี่ยนคำไปเรื่อยๆ ก็จะช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และจดจำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

เด็กวัย 2-4 ขวบ

การใช้เสียงดนตรีหรือเสียงเพลงประกอบจะช่วยให้กระบวนการรับรู้และความเข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวของลูกพัฒนาได้ดีขึ้น เช่น การร้องเพลงที่มีการโต้ตอบหรือใส่ชื่อของลูกเข้าไป โดยสามารถร้องได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เช่น “Baby ต้นข้าว Baby ต้นข้าว, Where are you? Here, I am. Here, I am. How do you do? ”

เด็กวัย 4-7 ขวบ

กิจกรรมทางดนตรีที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้คือ การฝึกการออกเสียงร้องเพลงง่ายๆ การเต้นหรือเคลื่อนไหวตามจังหวะของเพลง การเรียนเครื่องสายไวโอลิน (Suzuki Medthod) และการเรียนเปียโนเบื้องต้น (Piano for Kids)

เด็กวัยนี้สามารถแยกแยะอารมณ์ความรู้สึกของดนตรีได้ เช่น จะยืนนิ่งๆ เมื่อได้ยินทำนองเพลงช้า หรือกระโดดโลดเต้นเมื่อได้ยินทำนองที่สนุกสนานร่าเริง รวมไปถึงสามารถร้องพึมพำตามเพลงที่มีท่วงทำนองง่ายๆ หรือจดจำเนื้อร้องได้ ที่สำคัญเด็กวัยนี้มักจะเกิดความสนใจเกี่ยวกับเครื่องดนตรีและอยากที่จะลองเล่น โดยเราก็สามารถสนับสนุนลูกได้อย่างเต็มที่

ข้อมูลอ้างอิง

  • วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2561
Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save