สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension โดยความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า คนไทยบริโภคโซเดียมเกินเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำถึงเกือบ 2 เท่า โดยเฉลี่ยสูงที่สุดในภาคใต้, ภาคกลาง, ภาคเหนือ, กรุงเทพมหานคร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยการบริโภคเกลือหรือโซเดียมมากเกิน จะส่งผลเสียต่อร่างกาย คือ ไตทำงานเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และเกี่ยวข้องต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น ความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจรวมถึงการเต้นของหัวใจ
นอกจากนี้อาจส่งผลต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เนื่องจากโซเดียมเร่งการขับแคลเซียมมาใช้ แต่อย่างไรการตามผู้ที่ออกกำลังกายและมีการสูญเสียเหงื่อมาก อาจต้องการโซเดียมที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโซเดียมสามารถสูญเสียออกจากร่างกายในรูปของเหงื่อ
ซึ่งเราสามารถควบคุมปริมาณที่โซเดียมอาจได้รับมากเกินในแต่ละวันด้วยการดูฉลากโภชนาการ และฉลากทางเลือกเพื่อสุขภาพ (Healthier Choice Logo) ซึ่งเป็นฉลากที่แสดงให้เรารู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการพิจารณาแล้วว่ามีปริมาณ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้
แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงสุขภาพและควบคุมปริมาณการกินของตนเองด้วยเช่นกัน
อ้างอิงจาก
https://www.prachachat.net/hilight-prachachat/news-622580