fbpx

แจกตาราง Mood Tracker สื่ออารมณ์ลูกน้อย

: 5 มีนาคม 2564

ถ้าคุณพ่อคุณแม่คนไหนอยู่ในวงการการเขียนแพลนเนอร์ อาจจะคุ้นเคยกับ mood tracker หรือการบันทึกอารมณ์ของเราในวันนั้นๆ นั่นเอง เพื่อที่เราสามารถดูภาพรวมของช่วงเวลานั้นๆ ว่าเรารู้สึกอย่างไรบ้าง และสามารถทำความเข้าใจกับอารมณ์ของตัวเองในแต่ละวันเช่นกัน ซึ่งวิธีการทำ mood tracker นั้นไม่ยาก และสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการชี้ตารางอารมณ์บนโปสเตอร์ จดบันทึกในสมุด หรือทำเป็นตารางไว้ลงสีประจำวัน

วันนี้เราเลยมี Mood Tracker มาแจกให้คุณพ่อคุณแม่สามารถปรินท์ไปใช้กับเจ้าตัวน้อยได้ด้วยค่ะ!

ประโยชน์ของ Mood Tracking ในเด็ก

ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่ที่เครียด เพราะเด็กก็เครียดเป็นเหมือนกัน! ในชีวิตประจำวันของเด็กโดยเฉพาะเด็กเข้าโรงเรียนนั้นไม่ง่ายเลย สิ่งที่ mood tracker สามารถช่วยได้คือการสร้างพื้นที่ให้เขารู้สึกปลอดภัยที่จะแสดงอารมณ์ของตนเอง และทำให้อารมณ์ที่เข้าใจยาก กลายเป็นสิ่งที่จับต้องได้ แต่นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ต่อครอบครัวอีกมากมาย อาทิเช่น

  • ช่วยเริ่มบทสนทนากับลูกน้อย
  • สามารถจับต้นชนปลายว่าความรู้สึกต่างๆ มาจากเหตุการณ์ใด
  • สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลให้แก่แพทย์ จิตแพทย์หรือคุณครูได้
  • ทำให้เห็นแพทเทิร์นของอารมณ์นั้นๆ และสิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกไม่ดีของลูก
  • ช่วยให้เด็กเข้าใจตัวเองมากขึ้น
  • เสริมสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
  • ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงความรู้สึกของตัวเอง
  • ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจเด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิต

ใช้ Mood Tracker กับลูกยังไงดี?

  1. ตกลงคำศัพท์บอกอารมณ์กับลูก: ก่อนจะใช้ mood tracker ให้พูดคุยกับลูกว่าคำนี้มีความหมายว่าอย่างไรบ้าง อย่างเช่นโกรธ โมโห มีความสุข ตื่นเต้น เหนื่อย เศร้า เพื่อที่เขาจะได้เข้าใจว่าต้องสื่ออารมณ์เป็นตัวอักษร สี  หรือรูปภาพได้เช่นไร
  2. สร้างระบบตามชอบ: ตามหาวิธีการบันทึก mood tracking ที่ชอบและสะดวก ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ให้ชี้บอกอารมณ์ ระบายสี แปะสติ๊กเกอร์ หรือเขียนบนกระดานไวท์บอร์ด ซึ่งสามารถปรับใช้ได้ตามชอบและตามความสะดวกของเจ้าหนูน้อยได้เลยค่ะ
  3. สร้างกิจวัตร เลือกเวลาที่ใช่: เลือกเวลาที่เหมาะสมกับการทำ mood tracker ซึ่งจะแตกต่างกันไปกับเด็กแต่ละคน บางคนอาจต้องการระบายอารมณ์ทันทีหลังเลิกเรียน หรือบางคนอาจต้องการใช้เวลากับตัวเองสักหน่อยก่อนเล่าเรื่องที่เจอมาวันนี้ เลือกเวลาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้เวลาพูดคุยกับเจ้าตัวน้อย พร้อมแบ่งปันความรู้สึกให้กันและกันได้ค่ะ
  4. หาทางฟื้นฟูอารมณ์: เมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้รับรู้อารมณ์ของเจ้าตัวน้อยแล้ว ก็สามารถหาวิธีฟื้นฟูอารมณ์ร่วมกัน อาทิเช่น ออกไปเล่นข้างนอก พาสัตว์เลี้ยงออกไปเดินเล่น หาอะไรอร่อยๆ รับประทานด้วยกันเป็นครอบครัว หรือหากิจกรรมทำร่วมกัน และให้ดีควรสอนวิธีจัดการอารมณ์ให้เขาด้วยนะคะ

 

Writer Profile : phanthirapuyou

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



รู้จักกับกระเป๋านักเรียน “รันโดะเซะรุ”
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
เกมล่าสมบัติ ตามหาสมบัติในบ้านกันเถอะ!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
เด็กวัยเข้าโรงเรียน เด็กวัยเข้าโรงเรียน
26 กันยายน 2561
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save