fbpx

มะเร็งเต้านมคุณพ่อก็เป็นได้นะ

Writer : Jicko
: 12 มกราคม 2564

หากพูดถึงมะเร็งเต้านมเราเองก็คงจะคุ้นชินกับการที่ผู้หญิงเป็นมากกว่าที่ผู้ชายจะเป็น ซึ่งคุณพ่อๆ ฟังไว้เลยนะคะว่ามะเร็งเต้านมก็สามารถพบในเพศชายได้เหมือนกันค่ะ โดยคนส่วนใหญ่ก็จะไม่รู้เลยว่าผู้ชายก็มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ จนทำให้ไม่ได้ให้ความสำคัญในการตรวจเท่ากับผู้หญิงสักเท่าไหร่ มาพบอีกทีก็มักจะอยู่ในระดับที่รุนแรงและเป็นอันตรายแล้วนั่นเอง

ถึงแม้โรคนี้จะมีเปอร์เซ็นต์การเกิดที่ผู้ชายน้อย แต่ยังไงหากเรารู้ข้อมูลไว้ก็ไม่เสียหายนะคะ เพราะฉะนั้นเราไปดูกันเลยดีกว่าว่าทำไมผู้ชายถึงเป็นได้ และมีอาการและวิธีการรักษาแบบไหน ไปดูกันเลยค่ะ

ผู้ชายแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม

จากสถิติพบว่าโดยทั่วไปในเพศชายจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมตลอดอายุขัยอยู่ที่ 1 ใน 1,000 เท่านั้น และคนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นจะมีสาเหตุและปัจจัยดังนี้

  • คนในครอบครัวมีประวัติ
  • พบในชายที่อายุมากขึ้น หรืออายุ 60 ปีขึ้นไป
  • มีระดับฮอร์โมนเพศหญิงสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของ DNA ตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter’s syndrome)
  • มีโรคตับแข็ง เนื่องจากหากตับเสื่อมสภาพจะส่งผลให้ไม่สามารถทำลายฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ตามปกตินั่นเอง
  • เป็นโรคอ้วน หรือภาวะน้ำหนักเกิน
  • บริโภคแอลกอฮอล์บ่อยมาก
  • ได้รับรังสีที่บริเวณหน้าอก
  • ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กและเป็นหมันจากการมีตัวอสุจิน้อยเกินไป หรือไม่มีเลย

วิธีตรวจและการสังเกตอาการ ด้วยตัวเองทุกเดือน หลังอายุ 40 ปี

  • มีของเหลวออกจากหัวนม (พบบ่อยคือน้ำปนเลือด)
  • คลำได้ก้อนที่บริเวณใต้รักแร้
  • หัวนมผลุบเข้า หรือบุ๋มเข้าใน
  • เต้านมหรือหัวนมแดง
  • มีขุยขรุขระบนหัวนม

หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมากกว่าควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

ลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร

  • หมั่นตรวจเต้านมของตัวเองเป็นประจำ
  • หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรเข้ารับการเอกซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง
  • งดดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หากรู้สึกว่าหน้าอกผิดปกติให้ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

วิธีการรักษามะเร็งเต้านมในเพศชาย (การรักษาขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง)

1. การผ่าตัด : การผ่าตัดเต้านมแบบ Mastectomy คือการ ตัดเอาทั้งเต้านมออก หากมีการแพร่กระจาย ของมะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือกล้ามเนื้อ หน้าอก จะมีการผ่าตัดทั้งสองส่วนนี้ออกมาด้วย

2. การให้เคมีบำบัด : การรักษาด้วยเคมีบำบัดในเพศชายไม่แตกต่างจากในเพศหญิง โดยไม่จำเป็นว่าคนไข้มะเร็งเต้านมเพศชายทุก คนจำเป็นต้องได้รับยาเคมีบำบัดหรือการ เลือกใช้สูตรยาต้องเหมือนกัน ซึ่งทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ตามพยาธิ สภาพและชนิดของมะเร็ง รวมไปถึงระยะของโรคที่คนไข้เป็น

3. รักษาโดยการฉายรังสี : โดยใช้คุณสมบัติของรังสีคือ สามารถทำลายสารพันธุกรรม (DNA) ภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ ได้รับความเสียหายหรือตาย

4. การรักษาด้วยฮอร์โมน : โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจชิ้นเนื้อว่า เซลล์มะเร็งมีตัวรับฮอร์โมน (hormonal receptor) จึงจะได้รับประโยชน์จากการรักษาชนิดนี้ โดยตัวรับฮอร์โมนที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งเต้านมที่ทำการตรวจ มี 2 ชนิด คือ ตัวรับเอสโตรเจน (Estrogen receptor, ER) และตัวรับโปรเจสเตอโรน (Progesterone receptor, PR)

5. การรักษาแบบจำเพาะเจาะจง : การรักษาแบบจำเพาะเจาะจง คือการให้ยาหรือสารที่ไปยับยั้งหรือรบกวน แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  • Monoclonal antibodies : ยากลุ่มนี้มีความสามารถในการจับกับเป้าหมายที่จำเพาะซึ่งอยู่บนผิวเซลล์มะเร็ง ซึ่งมีผลให้เซลล์ถูกทำลายหรือจำกัดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง
  • Small molecules : เป็นยากลุ่มที่มีขนาดเล็กสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่ ภายในเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งมีผลต่อการ สังเคราะห์โปรตีนภายในเซลล์มะเร็ง ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษาด้วยวิธีนี้ เช่น ท้องเสีย อาการทางผิวหนัง ผลต่อตับ ไต และ หัวใจ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : hospital.tu.ac.thphukethospital.combangkokbiznews

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save