เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ ทุกสิ่งที่อย่างรอบๆ ตัวไม่ว่าจะเรื่องใดๆ ก็ตามก็เป็นสิ่งที่พึงระวังอยู่แล้ว และยาก็เป็นหนึ่งในนั้นที่ต้องระวังสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากหากรับประทานยาที่แรงเกินไป ก็ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้เช่นกัน
และยาก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่ปลอดภัยหมดทุกอย่าง เพราะฉะนั้นทุกครั้งคุณแม่ๆ ที่กำลังตั้งครรภ์ควรซื้อยาหรือรับประทานยาจากใบสั่งแพทย์เท่านั้น และควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการใช้ และปริมาณการใช้ในทุกๆ ครั้งอีกด้วย
จะมียาอะไรบ้างที่คุณแม่ๆ ตั้งครรภ์ใช้ได้บ้าง ไปดูกันเลยค่ะ
ผลของการทานยาต้องห้าม
- ช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก ยาจะมีผลอย่างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่อวัยวะพัฒนา ถ้าได้รับสารเคมีต่างๆ ที่ผิดปกติเข้าไปนั้น จะทำให้เด็กพิการทันที
- การได้รับยาในช่วงหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนไปแล้ว จะทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ส่งผลให้เกิดภาวะเกร็ดเลือดต่ำ หรือเด็กตัวเหลืองได้
ยาที่ใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์ได้แก่
- ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) : เป็นกลุ่มยาบรรเทาอาการแก้ปวด และยาต้านไข้ สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจะจัดอยู่ในกลุ่ม Category B คือยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ สามารถใช้ในระยะสั้นๆ
- ยาลดกรด (Antacids) : ซึ่งมีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต ใช้ลดอาการกรดไหลย้อนได้ หากอาการกรดไหลย้อนหมดไป ก็สามารถหยุดยาได้ค่ะ
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) : บางชนิดสามารถใช้ได้ในการรักษาโรคติดเชื้อ ซึ่งกลุ่มยาที่ปลอดภัยสำหรับทารกในครรภ์ที่คุณหมอนิยมใช้ เช่น อะม็อกซีซิลลิน แต่เนื่องจากยากลุ่มนี้มีการแพ้ยาสูง จึงใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติการแพ้ยากลุ่มเพนิซิลลิน นั้นเอง และทุกครั้งที่เข้าพบแพทย์ไม่ว่าจะแพทย์คนเดิมหรือคนใหม่ ควรจะแจ้งทุกครั้งว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ และแจ้งด้วยว่าใช้ยาอะไรอยู่บ้าง
- ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamines) : เป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาอาการภูมิแพ้ต่างๆ เช่น อาการคัดจมูก น้ำตาไหล หรือลงพิษ ผลข้างเคียงคือจะทำให้ง่วงนอน มึนหัว กระวนกระวาย ได้ แม่ๆ ที่ตั้งครรภ์สามารถใช้ได้แต่ไม่ปลอดภัยทุกชนิดเสมอไป ตัวที่แพทย์นิยมใช้คือ ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ลาราตาดีน (Loratadine)
- ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของเด็กซ์โตรเมทโทแฟน (Dextromethorphan) : รวมถึงยายับเสมหะต่างๆ สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย
- ยาระบายชนิดไฟเบอร์ (Fiber Laxatives) : เป็นยาที่บรรเทาอาการท้องผูก โดยทำให้อุจจาระอ่อนลง หรือกระตุ้นการบีบตัวของลำใส้ ผลข้างเคียงคืออาจจะทำให้ท้องอืด หรือรู้สึกเหมือนมีลมในท้อง และปวดท้องได้นั้นเอง
- ยาขับลม : ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรืออาหารไม่ย่อย สามารถใช้ได้เป็นครั้งเป็นคราว เช่น แอร์เอ็กซ์ (Air-X) เป็นต้น
- ยาพ่นจมูกที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ (Steroids) : ใช้สำหรับลดอาการคัดจมูก และใช้รักษาโรคจมูกอักเสบ ภูมิแพ้ หากคุณแม่ๆ ที่ตั้งครรภ์ต้องการเลือกใช้ยานี้ ควรเลือก Budesonid ซึ่งยาตัวนี้มีผลข้างเคียงน้อยมาก และค่อนข้างปลอดภัยถ้าใช้อย่างเหมาะสมค่ะ
- ยาที่ใช้สำหรับโรคประจำตัว : ยาที่ใช้สำหรับโรคของแต่ละคน เช่น โรคหอบหืด หรือเบาหวาน โดยรวมสามารถใช้ได้ในช่วงตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง จะปลอดภัยที่สุดค่ะ
- วิตามิน : วิตามินสำหรับคุณแม่ๆ ที่ตั้งครรภ์ประกอบไปด้วย วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด โดยมีกรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ไอโอดีน และแคลเซียม เหล่านี้คือวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญเป็นพิเศษสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นเอง แต่ก็มีวิตามินบางชนิดที่ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ควรปรึกษาแพทย์ให้พิจารณาวิตามินชนิดอื่นๆ แทนนะคะ
- ยาครีมสำหรับผื่นผิวหนัง : ยาทาผื่นภูมิแพ้ หรือยาทาที่มีส่วนของสเตียรอยด์ สามารถใช้ทาได้เป็นครั้งคราว และใช้ในปริมาณที่น้อยนะคะ
- วิค วาโปรับ (Vicks Vaporub) : ช่วยให้คุณแม่ๆ หายใจได้คล่องขึ้น ทาบริเวณหน้าอกและลำคอ ช่วยลดอาการคัดจมูกได้ อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บกล้ามเนื้อได้อีกด้วย เมื่อทาตรงบริเวณที่ช้ำ
- ยาเหน็บสำหรับริดสีดวง : เป็นยาใช้ภายนอก ประกอบด้วยยาชาช่วยลดอาการปวด และช่วยให้หลอดเลือดหดตัวได้ คุณแม่ๆ ที่ตั้งครรภ์สามารถใช้กลีเซอรีนแบบเหน็บได้ค่ะ หรือหากมีอาการหนัก ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องนั้นเองค่ะ
องค์การอาหารและยาได้มีการแบ่งระดับความปลอดภัย ของยาเป็น A B C D และ X เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยากับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มีดังต่อไปนี้
- ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ A เป็นยาที่ไม่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ ยืนยันว่ามีความปลอดภัย เช่น กลุ่มยาวิตามินต่างๆ
- ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ B มีการทดลองว่าไม่มีความผิดปกติ แม้ยาบางตัวจะมีรายงานในการทดลองว่ามีความผิดปกติกับตัวอ่อน แต่เมื่อนำมาศึกษาหรือนำมาใช้กับมนุษย์แล้วไม่มีความผิดปกติต่อทารก เช่น ยาเพนิซิลิน ยาแก้หวัด เป็นต้น
- ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ C มีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่ามีผลกระทบต่อลูกสัตว์ในครรภ์แต่ไม่มีข้อมูลการศึกษาในคน คือยังไม่แน่ใจในความปลอดภัย 100 % กลุ่มนี้ต้องระมัดระวังในการใช้ ใช้กับคนที่แพ้ยาปฏิชีวนะจำพวกเพนิซิลิน จึงต้องมาใช้กลุ่มยานี้แทน แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทางแพทย์อย่างใกล้ชิดด้วยนะคะ
- ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ D มีการศึกษาในคนพบว่า มีผลกระทบต่อทารกในครรภ์แต่ประโยชน์ที่ได้รับยังเป็นที่ยอมรับได้อยู่ แต่ต้องดูว่าคุณแม่ท่านนั้นจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ หรือไม่ เพราะอาจจะกระทบต่อทารกในครรภ์ได้เช่นกัน
- ลำดับขั้นของยาต่อการตั้งครรภ์ X เป็นกลุ่มที่ห้ามใช้โดยเด็ดขาด เพราะจะส่งผลกระทบต่อความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง โดยจะสังเกตจากฉลากยาที่ระบุว่า ห้ามสตรีมีครรภ์รรับประทานนั้นเองค่ะ
นี้ก็คือข้อมูลที่ทาง Parentsone ได้รวมรวมมาให้กับคุณแม่ๆ ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ศึกษากันดู ก่อนที่จะรับประทานยาต่างๆ เข้าไปนั้นเอง หากคุณแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์ควรจะพบคุณหมอเพื่อปรึกษาถึงการรักษานะคะ ห้ามซื้อยารับประทานเองเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดอันตรายกับเด็กในครรภ์ได้นั้นเองค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : honestdocs ,baby kapook