เมื่อถึงวัยที่ลูกเข้าโรงเรียนและเริ่มมีการเรียนรู้ในทักษะต่างๆ ก็มีพ่อแม่หลายคนที่ก็เป็นกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาการเรียนของลูกน้อย และเริ่มมีความลังเลว่าจริงๆ แล้วลูกของเราเรียนไม่เข้าใจหรือตามไม่ทันเพื่อนสักทีนั้น เป็นเพราะเขาขี้เกียจรึป่าวนะ หรือจริงๆ แล้วอาจจะมาจาก “โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)” ที่ทำงานผิดปกติกันแน่?
โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ คืออะไรกันนะ?
โรคบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities: LD) เป็นโรคทางระบบประสาทพัฒนาการที่เด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่แสดงออกทางการอ่าน การเขียน สะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์
อาการของเด็ก LD
1. บกพร่องด้านการอ่าน
เป็นความบกพร่องที่พบมากที่สุดในเด็ก LD ทั้งหมด เด็กจะมีทัษะการอ่านต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี พวกเขามักจะขาดทักษะในการจดจำพยัญชนะ สระ ขาดทัษะในการสะกดคำ อ่านไม่ออก อ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้
2. บกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
ส่วนใหญ่พบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กๆ มีเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง หรือมีการเรียงลำดับอักษรผิด ทำให้การสะกดคำผิดและส่งผลทำให้ไม่สามารถแสดงออกผ่านการเขียนด้วยนั่นเอง เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
3. บกพ่องด้านคณิตศาสตร์
เด็กที่บกพร่องด้านคณิตศาสตร์เขามักจะไม่สามารถเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เวลาคำนวณเลข บวก ลบ คูณ หาร ก็จะผิดไปด้วย ด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
สาเหตุ
- การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง
- กรรมพันธุ์
- ความผิดปกติของโครโมโซม
พบมากในเด็กวัยไหน
- 4 -10% พบในเด็กวัยเรียน
- พบในเด็กเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2-3 เท่า
- มักเป็นร่วมกับโรคสมาธิสั้นถึง 40-50%
ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ร่วมที่มักเกิด
- ไม่อยากอ่านเขียน
- ไม่มีสมาธิ
- เบื่อหน่าย ท้อแท้
- ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า “ทำไม่ได้” หรือ “ไม่รู้”
- หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
- ก้าวร้าว
- ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง
เราจะช่วยเหลือเด็กๆ ได้อย่างไร
ทางด้านครอบครัว
- พ่อแม่ต้องเข้าใจและทราบถึงปัญหาและความบกพร่องนี้
- ไม่ตำหนิ ลงโทษ เมื่อเด็กๆ มีผลการเรียนที่ต่ำ
- คอยสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของลูก
- ชื่นชมเมื่อพวกเขาทำได้ เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
ทางด้านการศึกษา
- โรงเรียนต้องมีการทำแผนการเรียนให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กรายบุคคลในแต่ละด้าน
- เน้นการสอนในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ การอ่าน หรือช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เขาได้เนื้อหาความรู้ได้เร็วขึ้น
- ให้เวลาในการทำสอบเพิ่ม เพื่อช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น
- ส่งเสริมด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น กีฬา ศิลปะ ดนตรี เพื่อให้เกิความภาคภูมิใจในตนเองยิ่งขึ้น
ทางด้านการแพทย์
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลสินแพทย์, คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล