fbpx

โรคสายตาขี้เกียจในเด็ก รู้จักกับโรคก่อนที่ลูกจะมองไม่เห็น

Writer : nunzmoko
: 5 ตุลาคม 2561

โรคสายตาขี้เกียจคืออะไร

โรคสายตาขี้เกียจในเด็ก (Amblyopia หรือ Lazy eye)” พบได้ 3-5% เกิดจากการที่มีปัจจัยที่ทำให้ตาข้างนั้นๆ มองเห็นภาพไม่ชัดในช่วงอายุ 7 ปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการของการมองเห็นอยู่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา จะทำให้ตามัว การมองเห็นลดลงอย่างถาวร

อาการของโรคสายตาขี้เกียจ

  • ตาเข
  • ตาสองข้างทำงานไม่ประสานกัน
  • มีสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันระหว่างตา 2 ข้าง
  • มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะภาพทีมีความละเอียดสูง

สาเหตุของโรคสายตาขี้เกียจ

  • การทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวดวงตาทำงานไม่สมดุลกัน
  • การเบี่ยงเบนสายตามาใช้ตาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีสายตายาว สั้น หรือเอียงทั้งสองข้างมากเกินไป หรือไม่เท่ากันทั้งสองข้าง
  • ความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ เช่น การเสียหายของสมองส่วนที่แปลภาพจากการขาดออกซิเจน

เมื่อไหร่ถึงต้องมาพบแพทย์

กลุ่มที่ 1 : เด็กที่มีความผิดปกติ เด็กกลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้องพามาพบจักษุแพทย์ทันทีที่พบความผิดปกติเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากในบางโรค การวินิจฉัยและการรักษาที่ช้าเกินไปอาจส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาวได้ เด็กที่มีความผิดปกติ ได้แก่
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (ที่กุมารแพทย์แนะนำให้ตรวจตา)
  • เด็กที่มีความผิดปกติทางสมองและพัฒนาการ
  • เด็กที่มีโรคประจำตัวอื่นที่แพทย์เห็นว่าอาจสัมพันธ์กับโรคตา
  • เด็กที่มีความผิดปกติของตาที่สังเกตได้ เช่น มองไม่เห็น หนังตาตก ตาเหล่ ตาสั่น ตาแดง มีจุดขาวกลางตาดำ
  • เด็กที่มีสมาชิกครอบครัวที่มีความผิดปกติทางตาที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

กลุ่มที่ 2 : เด็กปกติ ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่จะแน่ใจว่าตาของลูกดูปกติทุกอย่าง ก็ยังควรพามาพบจักษุแพทย์ตามระยะเวลา ดังนี้
  • อายุ 3-6 เดือน โรคที่พบบ่อยในวัยนี้ ควรพาทารกไปตรวจและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ
  • อายุ 3 ปี เนื่องจากในวัยนี้เด็กสามารถที่จะวัดระดับการมองเห็นออกมาเป็นค่ามาตรฐานได้ครั้งแรก
  • อายุ 5-6 ปี เนื่องจากเด็กเริ่มใช้สายตาเพิ่มขึ้น ถ้าพบโรคสายตาขี้เกียจจะรักษาได้ผลดี
  • ครั้งต่อๆ ไป ประมาณทุก 1-2 ปีไปจนถึงอายุ 18 ปี หรือขึ้นอยู่กับอาการและความผิดปกติที่ตรวจพบ

การรักษาโรคสายตาขี้เกียจ

1. การรักษาโดยการผ่าตัด หากสาเหตุของสายตาขี้เกียจจาก ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตาหนังตาตก ควรผ่าตัดก่อน หลังจากนั้นค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยการปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นตาอีกข้างที่ด้อยกว่าให้ถูกใช้งานมากขึ้น

2. การรักษาโดยใช้แว่นสายตา หากปัญหาจากความผิดปกติทางสายตา

3. การรักษาในกรณีที่มีตาเหล่หรือเริ่มมีตาขี้เกียจแล้ว โดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ตาข้างที่ด้อยกว่าได้รับการใช้งาน ซึ่งควรปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติ

การมองเห็นที่ดีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ของเด็กได้ การไม่แก้ไขปัญหาอาจส่งผลให้มีอาการทางร่างกายอื่นๆ เช่น ปวดตา ปวดศีรษะ และเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นได้เช่นกัน การดูแลเรื่องตาเด็กเบื้องต้นง่ายๆ เท่านี้ก็สามารถป้องกันโรคร้ายทางตาที่อาจเกิดได้แล้วหล่ะค่ะ

ที่มา :

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



สิทธิประโยชน์ “ฝากครรภ์ฟรี” ปี 60
ข้อมูลทางแพทย์
5 ข้อควรรู้ก่อนพาลูกน้อยไปว่ายน้ำ
ข้อมูลทางแพทย์
ท้องตอนอายุ 35 มีปัญหาหรือไม่ ?
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save