เมื่อรู้ว่ากำลังจะมีเจ้าตัวเล็กอยู่ในท้อง ว่าที่คุณแม่ก็คงตื่นเต้นไม่น้อย น่าจะมีหลายเรื่องที่อยากรู้ เช่น ลูกจะแข็งแรงดีไหม อายุของลูกคือเท่าไหร่ จะเป็นเด็กผู้ชายหรือผู้หญิง รวมไปถึงหน้าตาของลูก ซึ่งการอัลตราซาวด์จะเป็นการตอบคำถามที่คุณแม่สงสัย โดยวันนี้เราจะพาว่าที่คุณพ่อคุณแม่ไปรู้จักกับการอัลตราซาวด์ให้มากขึ้นค่ะ
วิธีการตรวจ
1.ตรวจผ่านช่องคลอด
ใช้ในช่วงไตรมาสแรก (จนถึง 11-12 สัปดาห์) ได้ภาพที่ละเอียดและใกล้ชิด เพราะมีการสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอดทำให้เห็นมดลูกในตำแหน่งที่ใกล้กับลูกในครรภ์ อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบความแข็งแรงของมดลูกและรังไข่ของคุณแม่ได้ด้วย
2.ตรวจผ่านช่องท้อง
จะเป็นการใช้หัวตรวจ ตรวจจากภายนอกท้อง โดยจะทาเจลสำหรับช่วยให้คลื่นผ่านได้ดีที่ท้อง จะรู้สึกเย็นๆ ไม่เจ็บปวด
จำนวนครั้งในการอัลตราซาวด์
อัลตราซาวด์ประมาณ 3 ครั้ง ตามแต่ละไตรมาส
- ไตรมาสที่ 1 6-7 สัปดาห์
- ไตรมาสที่ 2 18-20 สัปดาห์
- ไตรมาสที่ 3 35-37 สัปดาห์
อัลตราซาวด์ดูอะไรได้บ้าง?
- ยืนยันอายุครรภ์
- ดูจำนวนทารก
- ดูเพศ
- โครงสร้างของร่างกายทารก
- ประเมินน้ำหนัก
- ดูลักษณะรกและปริมาณน้ำคร่ำ
- ตำแหน่งในการตั้งครรภ์ ว่าท้องนอกมดลูกหรือไม่
- ตรวจสอบความพิการ
- ดูความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดาวน์ซินโดรม
รูปแบบของการอัลตราซาวด์
- การอัลตราซาวด์ 2 มิติ : เป็นภาพตัดขวาง เป็นเงาดำๆ เห็นหน้าลูกไม่ชัด
- การอัลตราซาวด์ 3 มิติ : มีความลึกเพิ่มเข้ามา ทำให้เห็นภาพเสมือนวัตถุจริง พ่อแม่ก็ดูรู้เรื่อง
- การอัลตราซาวด์ 4 มิติ : เพิ่มเรื่องการเคลื่อนไหว ทำให้เห็นว่าลูกกำลังขยับร่างกายอยู่ในขณะที่ตรวจ
** การอัลตราซาวด์ไม่มีผลต่อทารกที่อยู่ในครรภ์ **
ข้อมูลอ้างอิงจาก