fbpx

เตรียมรับมือ! เมื่อลูกน้อยพูดช้า

Writer : nunzmoko
: 5 ตุลาคม 2561

เด็กจะมีพัฒนาการทางด้านภาษา หรือการพูดตั้งแต่แรกเกิด และพัฒนามาเป็นคำพูดในช่วงประมาณ 1 ขวบ และจะเริ่มพูดคำมีความหมาย 2 คำติดกัน เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบ จนกระทั่งเป็นประโยคยาวๆ ประมาณ 3-4 ขวบ ถ้าคุณแม่ลองสังเกตว่าลูกน้อยมีอายุประมาณ 2 ขวบแล้ว ยังพูดคำที่มีความหมายไม่ได้เลย หรือพูดได้แค่คำศัพท์คำเดียว สื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ถือว่าผิดปกติ อย่างไรก็ตามไม่ควรรอจนกระทั่งอายุ 2 ขวบ หากเราพูดกับลูกแล้วไม่เข้าใจว่าเราพูดว่าอะไร หรือเรียกชื่อแล้วไม่หัน แสดงว่าลูกอาจผิดปกติจากการฟัง ควรพาลูกเข้ามาปรึกษาหมอ เพื่อหาทางรักษาต่อไปค่ะ

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า

  • การได้ยินผิดปกติ เนื่องจากอวัยวะรับการได้ยินผิดปกติ หูผิดปกติ หูดับ หูหนวก
  • ภาวะสติปัญญาบกพร่อง เกี่ยวเนื่องกับระดับสติปัญญา ลูกมีภาวะปัญญาอ่อน
  • ออทิสติก มีพัฒนาการด้านภาษาล่าช้า ร่วมกับความบกพร่องทางสังคม มีพฤติกรรมหรือความสนใจที่ซ้ำๆ
  • เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม ปัญหาเกี่ยวกับการพูดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
  • ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม เกิดจากการเลี้ยงดู การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม

วิธีการกระตุ้นและดูแลเมื่อลูกพูดช้า

1. ประเมินเพื่อหาสาเหตุที่ลูกพูดช้า

ประเมินเพื่อหาสาเหตุ และหาวิธีการแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุนั้น เช่น หากลูกมีความบกพร่องทางการได้ยิน คุณแม่ควรหาอุปกรณ์ช่วยฟังให้ลูกใช้ เพื่อกระตุ้นให้ลูกเริ่มเข้าใจและพูดตามได้

2. กระตุ้นการพูดของลูกจากการเล่น

กระตุ้นการพูดของลูกจากการเรียนรู้และการเล่น เช่น การเล่านิทาน การชวนดูรูปภาพ การพูดคุยกับลูกบ่อยๆ เพื่อพัฒนาด้านภาษาให้ลูกน้อยได้มีความเข้าใจและสามารถพูดตามได้ ที่สำคัญไม่ให้ลูกดูโทรทัศน์ เล่นแท็บเล็ตมากเกินไป และไม่ควรให้ลูกเล่นหรืออยู่คนเดียว

3. สื่อสารกับลูกให้มากขึ้น

คุณแม่จะต้องสื่อสารกับเด็กให้มากขึ้น ส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาและด้านอื่นๆ ไปพร้อมกันอย่างสม่ำเสมอ โดยการเลือกใช้คำที่ง่ายและสั้น รวมถึงการออกเสียงพูดที่ชัดเจนจะทำให้พวกเข้าพูดตามคุณได้เร็วขึ้นค่ะ

4. ช่วยเหลือด้านการศึกษา

ให้ลูกได้เรียนตามปกติ ช่วยเหลือลูกโดยการพูดคุยกับครูให้เข้าใจ ซึ่งถ้าเด็กได้รับการประเมินจากแพทย์และโรงเรียนแล้วว่ามีความพร้อมเพียงพอ เด็กก็สามารถเข้าเรียนได้ตามวัย และควรเรียนในโรงเรียนทั่วไปรวมกับเด็กปกติ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนากทักษะทางสังคม การสื่อสารและทักษะอื่นๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน

5. พูดคุยในสิ่งที่ลูกสนใจ

ให้คุณพ่อคุณแม่ พูดในเรื่องที่ลูกสนใจหรือเกี่ยวกับการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเขา เพื่อให้ลูกน้อยโต้ตอบในสิ่งที่ตัวเองชอบ และต้องการสื่อสารให้คุฯพ่อคุณแม่ได้รู้ไปกับพวกเขาด้วย

6. ฝึกลูกผ่านการตั้งคำถาม

ฝึกให้ลูกพูดผ่านการพูดคุยและตั้งคำถาม โดยการฟังลูกพูดอย่างตั้งใจ และตั้งคำถามที่เหมาะสม กับพัฒนาการของลูก ที่สำคัญต้องชื่นชมเมื่อลูกร่วมมือในการฝึกทุกครั้งด้วยนะคะ

หากคุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าลูกมีอาการพูดช้า ควรพามาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการตามความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา กุมารแพทย์ นักตรวจการได้ยินหรือนักแก้ไขการพูด เป็นต้น ถ้าต้องการที่จะแก้ไขการพูดช้าของเด็ก ควรส่งเสริมพัฒนาการทางการพูดให้เร็วที่สุด ด้วยการเรียนรู้ ฝึกให้เด็กเรียนรู้ภาษาตั้งแต่อายุน้อยๆ เพราะหากรู้เร็ว การแก้ไขก็จะง่ายกว่า อีกทั้งพัฒนาการต่างๆ ของเด็กก็จะเร็วขึ้นอีกด้วยค่ะ

ที่มา : 

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



อ่านก่อนโพสต์รูปลูกลง SOCIAL MEDIA!
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save