ปัจจุบันมีโรคตาที่เป็นปัญหาใหญ่ของคนไทยและภูมิภาคอาเซียน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหลายโรค เช่น ภาวะสายตาผิดปกติในเด็ก ทั้งสายตาสั้น สายตาเอียง และโรคตาขี้เกียจ ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่พบสูงขึ้นหลายเท่าตัวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กอาเซียน
รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานฝ่ายวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย หัวหน้าศูนย์ตาธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า
แต่เดิมเราเข้าใจว่า การใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตทำให้เด็กสายตาสั้นหรือสายตาผิดปกติ แต่ภายหลังมีงานวิจัยพบว่า การที่เด็กใช้ชีวิตอยู่แต่ในที่ร่มหรือห้องแคบๆ ตลอดเวลา จะมีผลทำให้เกิดภาวะสายตาผิดปกติมากขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะการอยู่ในห้องแคบๆ จะทำให้เกิดการเพ่งมองระยะใกล้หรือในระยะแคบๆ ตลอดเวลา ทำให้เกิดปัญหาสายตาสั้นมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยปัญหาสายตาสั้นในเด็กก็พบมากขึ้น จากเดิมที่เมื่อก่อนพบประมาณ 5-6% ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีการสำรวจพบสูงถึง 10-20% ซึ่งเกิดทั้งจากการใช้สมาร์ทโฟน และการใช้ชีวิตอยู่แต่ภายในห้อง ไม่ว่าจะอยู่บนรถ ในห้องเรียนหรือที่บ้านก็ตาม
ดังนั้น จึงต้องพยายามให้เด็กออกไปใช้ชีวิตภายนอกห้อง ทำกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้น อย่างเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กหรือนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ก็ถือว่าตอบโจทย์หากทำให้เด็กใช้ชีวิตอยู่นอกห้องมากขึ้น นอกจากเพิ่มกิจกรรมทางกายแล้ว ยังช่วยลดปัญหาสายตาอีกด้วย
อ้างอิงจาก