โรคไอกรน เป็นโรคติดต่อที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไออย่างหนักและควบคุมไม่ได้ เด็กและทารกมีโอกาสติดเชื้อชนิดนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในรายที่ไม่ได้รับวัคซีนไอกรนอย่างเพียงพอ
จาการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคเกี่ยวกับสถานการณ์โรคไอกรนปี 2561 ได้รับรายงานผู้ป่วย 12 คน ไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ 1-3 เดือน คาดว่าในช่วงนี้จะยังพบผู้ป่วยโรคไอกรนประปราย และมีแนวโน้มพบผู้ป่วยไอกรนสูงขึ้น
สำหรับลักษณะสำคัญของโรคไอกรน คือเมื่อหายใจเข้าหลังจากการไอจะมีเสียงแหลมสูง อาการไอที่รุนแรงของโรคติดเชื้อชนิดนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดการสำลักและขาดอากาศหายใจจนเขียว
จากข้อมูลการสอบสวนโรค พบว่าเด็กที่ป่วยด้วยโรคไอกรนส่วนใหญ่ติดเชื้อจากสมาชิกในครอบครัวที่ไม่แสดงอาการป่วย ดังนั้น ผู้ที่มีอาการไอ จาม ไม่ควรคลุกคลีกับเด็กแรกเกิด หรือไม่ควรพาเด็กเล็กไปสถานที่แออัด หากพบว่าเด็กแรกเกิดมีอาการไอเป็นชุดๆ ไอมาก หายใจไม่ทัน หรือไอแล้วมีเสียงวู้ป ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจึงควรพาเด็กเล็กไปฉีดวัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนแบบไร้เซลล์ หรือ ดีทีเอพี (diphtheria /tetanus/ acellular pertussis: DTaP) ตามช่วงเวลาที่กำหนดคือ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน, 1 ปีครึ่ง และ 4 ปี
อ้างอิงจาก