fbpx

หนูน้อยหัวกระแทกพื้นบ่อย แบบไหนที่เรียกว่าอันตราย

Writer : Jicko
: 22 มีนาคม 2562

เมื่อหนูน้อยเริ่มเดินได้ หรือวัยกำลังเตาะแตะ คุณพ่อคุณแม่มักประสบปัญหา ลูกหงายหลังหัวฟาดพื้นบ้าง ล้มหัวกระแทกพื้นบ้าง แต่ด้วยความเป็นเด็กเขาก็มักจะห่วงเล่น จนไม่รู้สึกเจ็บเนื้อเจ็บตัวกันเลย

แล้วคุณพ่อคุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อลูกน้อยเล่นซนแล้วเกิดหัวกระแทกแบบไหนจึงนจะเป็นอันตรายกับเขา เรามาลองสังเกตอาการกันเลยค่ะ

เมื่อถึงวัยเตาะแตะ หรือกำลังหัดเดินของเด็กๆ แล้ว สิ่งที่มักจะตามมาและเป็นปัญหาสำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่นั้นก็คือ อุบัติเหตุ ซึ่งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราๆ ต้องคอยระมัดระวัง แต่ก็มีปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงนั้นแตกต่างกันออกไป ได้แก่

  • ตำแหน่งที่ศีรษะกระแทกพื้น
  • อายุของเด็ก
  • โรคประจำตัว
  • ยาที่รับประทานขณะนั้น

อาการที่ต้องสังเกตและต้องรีบพาไปพบแพทย์

หากลูกมีประวัติศีรษะกระแทกพื้น จะมีอาการดังนี้

  • อาเจียนบ่อย
  • ปวดศีรษะ (รับประทานยาแล้วไม่ทุเลา)
  • พูดผิดปกติ กระสับกระส่าย
  • ซึมลง ไม่ค่อยเล่น
  • ชัก  แขนขาอ่อนแรง
  • ตาพร่ามัว เดินเซ
  • มีรอยช้ำรอบดวงตา หรือหลังหู
  • ดูดนมได้น้อยลง
  • ในเด็กเล็กร้องไห้โยเย

วิธีการดูแลเมื่อศีรษะกระแทกรุนแรง

  • หากลูกหัวโน

คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเด็กๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก โดยการประคบเย็นบริเวณที่บวมปูด เพื่อช่วยลดอาการบวมลง หลังจาก 24 ชั่วโมงไปแล้วให้ประคบร้อน เพราะความร้อนจะทำให้เลือดที่ออกใต้ผิวหนังไหลเวียนได้ดีขึ้นและดูดซึมกลับ ทำให้อาการบวดลดลงนั้นเองค่ะ

  • หากศีรษะกระแทกจนมีเลือดออก

คุณพ่อคุณแม่จะต้องใช้ผ้าสะอาดกดแผลห้ามเลือดประมาณ 10 นาที หากเลือดหยุดไหลแล้ว ให้ทำความสะอาดด้วยผ จนสะอาด จากนั้นให้เช็ดรอบแผลด้วย แอลกอฮอล์ หากบริเวณนั้นไม่อยู่ใกล้ใบหน้าให้ใช้เบตาดีนอีกรอบ

แต่หากแผลนั้นลึกเกินไป และมีเลือดออกไม่หยุด ควรประคบเย็นให้ลูกแล้วรีบนำเขาส่งโรงพยาบาลโดยทันทีค่ะ

  • หากลูกกระแทกรุนแรง จนมีอาการทางสมอง

หากเด็กๆ ศีรษะกระแทกจนมี อาการซึมลง รับประทานอาหารหรือนมน้อยลง อาเจียน แขนขาอ่อนแรง ปวดศีรษะ ต่างๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อรักษาต่อไปนะคะ

การป้องกันเด็กศรีษะกระแทก

  • จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้ปลอดภัย
  • ในวัยหัดคลาน ควรมีแผ่นรองอเนกประสงค์ที่มีความนุ่มให้กับเด็กๆ
  • ในวัยหัดเดิน ควรฝึกลูกบริเวณสนามหญ้านุ่ม หรือหลีกเลี่ยงพื้นที่แข็งๆ ไม่ปลอดภัย
  • ดูแลลูกไม่ปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวตามลำพัง

 

ที่มา : Mamaexpert, Pobpad, babimild

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ป้อนข้าวลูกยังไงให้ทานได้เยอะ?
ข้อมูลทางแพทย์
ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save