ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารที่สำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาระดับสติปีญญาของเด็ก เพราะจะช่วงเสริมสร้างและพัฒนาสมองในช่วงแรกของชีวิต ดังนั้นถ้าเด็กโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กอาจทำให้ไอคิวลดต่ำลง
องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มี 4 ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาเชาวน์ปัญญาของเด็ก คือ 1.ภาวะเตี้ย (ส่วนสูงของเด็ก) 2.ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก 3.การขาดธาตุไอโอดีน และ 4.การเลี้ยงดู
ซึ่งภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia : IDA) หากเกิดในช่วงวัยทารกต่อเนื่องถึงวัยเด็กเล็ก อาจทำให้ไอคิวเมื่อเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยเรียนลดต่ำลง 5-10 จุด หากแก้ไขช้าเกินไปอาจทำให้สูญเสียศักยภาพด้านสติปัญญาไปอย่างถาวร
แพทย์หญิงกิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก (PNMA) อ้างอิงผลสำรวจ South East Asian Nutrition Surveys : SEANUTS โดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตีพิมพ์ในวารสาร BJN, 2013 ซึ่งระบุว่า “เด็กไทยเกือบ 40% ขาดธาตุเหล็ก และมากกว่า 50% ได้รับสารอาหารต่ำในกลุ่มแคลเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอและวิตามินซี อันเนื่องมาจากคุณภาพของอาหารที่กิน”
สำหรับแนวทางการป้องกันเด็กขาดธาตุเหล็กคือ การจัดเตรียมอาหารที่มีธาตุเหล็กให้ลูกวัยเด็กเล็กได้กินอย่างสม่ำเสมอ เช่น ปลา อาหารทะเล เป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง และในผักใบเขียวเข้มทุกชนิด เพราะการพัฒนาสมองของลูกวัยเด็กเล็กเป็นเรื่องสำคัญ โภชนาการที่ดีและครบถ้วนจะช่วยคุณแม่ในเรื่องนี้ได้
อ้างอิงจาก