คุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยสร้างพัฒนาการสมองที่ดีให้กับลูกได้ เพียงใช้วิธีกระตุ้นการสร้างไมอีลิน ซึ่งเป็นตัวช่วยส่งสัญญาณประสาทในสมองให้ตรงกับช่วงอายุของลูกควบคู่กับการให้ลูกได้โภชนาการที่เหมาะสมตามวัยค่ะ
“ไมอีลิน” เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้การส่งสัญญาณประสาทเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้สมองทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ สมองยิ่งส่งสัญญาณหากันได้ไว การประมวลผลสมองก็ยิ่งดี1,2
1,000 วันแรก ช่วงเวลาสร้างสมองลูก
ช่วงเวลาสำคัญในการสร้างเซลล์ประสาทและการเชื่อมต่อของสมอง ก็คือ 1,000 วันแรก เพราะเป็นช่วงที่สมองสร้างไวที่สุด3 โดยวงจรประสาทในสมองจะเชื่อมโยงสมองแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน และสิ่งสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาทก็คือ “ปลอกไมอีลิน (Myelin sheath)”
การสร้างปลอกไมอีลินนั้นจะเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้ายและต่อเนื่องในช่วงวัยเด็ก…ดังนั้นการสร้างไมอีลินจึงสำคัญมากในช่วงวัยเด็ก4 ลำดับในการสร้างปลอกไมอีลินในสมองและการสร้างวงจรประสาทในแต่ละส่วนเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ดังนั้นเราจะสามารถส่งเสริมการสร้างปลอกไมอีลินได้ด้วยการทำสิ่งกระตุ้นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของสมองในช่วงนั้นๆ ของลูกค่ะ
นอกจากนี้การได้รับสารอาหารที่เพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากไขมันเป็นแหล่งวัตถุดิบสำคัญในการสร้างไมอีลิน การเสริมสร้างไม่อีลินจึงต้องมีสารอาหารสำคัญได้แก่ ดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน โปรตีน วิตามินบี 12 และสฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น5
เราไปดูกันดีกว่าค่ะ ว่าการสร้าง “ไมอีลิน” ในแต่ละช่วงอายุสามารถทำอย่างไรได้บ้าง
เทคนิคการสร้างปลอกไมอีลินในสมองตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ: 0-1 ขวบ
ช่วงขวบปีแรกควรเน้นการกอดและสัมผัสลูกให้มาก การให้เวลากับลูกคือสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยการสร้างปลอกไมอีลินตามวงจรประสาทส่วนต่างๆ สามารถทำได้ดังนี้
วงจรประสาทรับสัมผัส
- ใช้การกอด การสัมผัส
วงจรประสาทการมองเห็น
- เลือกของเล่นที่มีสีสัน
วงจรประสาทการรับเสียงและภาษา
- พูดคุยและใช้เสียงดนตรี
นอกจากนี้ โภชนาการก็มีส่วนสำคัญในการสร้างไมอีลิน และโครงสร้างอื่นๆในสมองที่ช่วยพัฒนาสมอง โดยสารอาหารสำคัญที่มีบทบาทในการสร้างไมอีลิน ได้แก่ ดีเอชเอ ธาตุเหล็ก โคลีน โปรตีน วิตามินบี 12 และสฟิงโกไมอีลิน เป็นต้น5
ช่วงอายุ: 1-3 ขวบ
ช่วงวัยนี้เป็นวัยแห่งการค้นพบสิ่งใหม่ๆ ถือเป็นก้าวสำคัญของการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางร่างกาย โดยจะมีการพัฒนาทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก รวมไปถึงเรื่องของภาษาและการเรียนรู้ โดยการสร้างปลอกไมอีลินตามวงจรประสาทส่วนต่างๆ สามารถทำได้ดังนี้
วงจรประสาทของภาษา
- ฝึกชี้อวัยวะบนใบหน้า เรียกชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การร้องเพลงหรือการเล่านิทานให้ลูกฟัง
วงจรประสาทกล้ามเนื้อมือกับการมองเห็น
- ฝึกทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การต่อของเล่น การใช้ช้อนตักอาหาร
วงจรประสาทการเรียนรู้
- การจับคู่สิ่งของที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน เช่นสีหรือรูปทรง หรือการเล่นที่เลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ในชีวิตประจำวัน
ช่วงอายุ: 3 ขวบขึ้นไป
เมื่อลูกโตขึ้น การฝึกให้เขารู้จักการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง รวมไปถึงการสอนให้รู้จักเหตุและผลของสิ่งต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน นอกจากนี้การฝึกให้รู้จักรอคอยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นรากฐานของการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นนามธรรม การคิดวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุมตัวเองและการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่อไปในอนาคต โดยการสร้างปลอกไมอีลินตามวงจรประสาทส่วนต่างๆ สามารถทำได้ดังนี้
วงจรประสาทในส่วนของการทำงานขั้นสูง
- ฝึกให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหา สอนความเป็นเหตุเป็นผลและการอดทนรอคอย
ข้อมูลโดย นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์
อ้างอิง
- Joan Stiles, Terry L. Jernigan. The Basics of Brain Development, Neuropsychol Rev (2010) 20:327–348
- Robert Stufflebeam. Neurons, Synapses, Action Potentials, and Neurotransmission – The Mind Project. http://www.mind.ilstu.edu/curriculum/neurons_intro/neurons_intro.php
- Sarah Cusick, PhD and Michael K. Georgieff, MD. THE FIRST 1,000 DAYS OF LIFE: THE BRAIN’S WINDOW OF OPPORTUNITY. https://www.unicef-irc.org/article/958-the-first-1000-days-of-life-the-brains-window-of-opportunity.html
- Linderkamp O, Janus L., Linder R, et al. Time Table of Normal Fetal Brain Development. J. Prenatal and Perinatal Psychology and Medicine 21 No. 1/2, 4-16 (2009).
- Michael K Georgieff. The American Journal of Clinical Nutrition, Volume 85, Issue 2, 1 February 2007, Pages 614S–620S, https://doi.org/10.1093/ajcn/85.2.614S