fbpx

เตรียมรับมือเมื่อลูก "กลอกตาใส่"

Writer : nunzmoko
: 17 ตุลาคม 2561

คุณพ่อคุณแม่ทุกคน ก็อยากให้ลูกว่านอน สอนง่าย น่ารัก น่าเอ็นดู ไม่ว่าจะกับพ่อแม่เองหรือกับคนอื่นๆ แต่ทำไมบางทีลูกของเราจึงไม่ได้ดั่งใจ ไม่ดื้อก็ซน ไม่ซนก็มีพฤติกรรมที่ค่อนไปทางก้าวร้าวหน่อยๆ โดยเฉพาะถ้าลูกแสดงอาการ “กลอกตาใส่” เห็นทีต้องจะต้องจัดการเสียแล้ว ไปดูกันว่าจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรดีค่ะ

สาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง?

  • เด็กเล็กมีพัฒนาการทางสมองส่วนอารมณ์ได้เร็วกว่า ส่งผลให้เด็กควบคุมอารมณ์ และการรอคอยได้จำกัด
  • ความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการคิด การจัดการอารมณ์ ให้เหมาะสมตามวัย
  • การไม่มีผู้ปกครองหรือครอบครัว สอนเรื่องการจัดการอารมณ์ของตนเองให้กับเด็ก
  • เด็กไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องการรู้จัก อดทน รอคอย
  • ครอบครัวมีรูปแบบการแก้ปัญหาโดยใช้อารมณ์ในการพูด การกระทำ
  • การเลียนแบบเพื่อน หรือสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม

พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร?

1. ผู้ปกครองต้องเข้าใจสาเหตุ

ผู้ปกครองหรือคนที่ดูแลเด็กต้องเข้าใจก่อนว่า มีเหตุการณ์หรือตัวกระตุ้นอะไรที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมก้าวร้าว และเหตุการณ์นั้นส่งผลหรือทำให้เด็กรู้สึกอย่างไร และคิดอย่างไรต่อเหตุการณ์นั้นๆ

2. ให้เวลากับลูกได้สงบสติและอารมณ์

ให้เวลากับลูกได้สงบสติและอารมณ์ในบรรยากาศที่สงบ ให้พ่อแม่โอบกอดโดยใช้คำพูดว่า กำลังช่วยลูกให้สงบ เพราะลูกไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้แล้ว พ่อแม่ควรใช้เวลาในการสอบถามความรู้สึกของลูก และแนะนำวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม

3. พ่อแม่ต้องจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน

พ่อแม่ต้องควบคุมจัดการอารมณ์ตนเองให้ได้ก่อน และรับฟังว่าลูกต้องการจะสื่อสารอะไรกับพ่อแม่ เช่น ต้องการให้พ่อแม่สนใจ ต้องการให้พ่อแม่ทำให้ลูกสบายใจขึ้น หรือต้องการระบายความรู้สึกอึดอัด หรือต้องการจะหนีจากเหตุการณ์ที่ไม่ต้องการขณะนั้น การที่พ่อแม่มีอารมณ์ที่สงบและนิ่งได้ก่อน จะสามารถแก้ไขปัญหา ได้และเป็นตัวอย่างให้ลูกได้เห็นว่าเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่พอใจ พ่อแม่ก็สามารถนิ่งและมีสติให้ลูกเห็นได้

4. มีกติกาและข้อตกลง

มีการทำกติกาตกลงกันในครอบครัวว่าเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น สามารถพูดคุยและเปิดเผยกันได้ โดยไม่มีการตำหนิหรือใช้อารมณ์ สอนให้ลูกรู้จักอดทน

5. ผู้ใหญ่ให้ความเสมอภาคกับเด็กทุกคน

ผู้ใหญ่ในครอบครัวควรปฏิบัติต่อเด็กเหมือนกันทุกคน เช่น ผู้ใหญ่คนหนึ่งให้เวลากับเด็กได้สงบก่อนเมื่อมีเด็กเริ่มแสดงอารมณ์ แต่ผู้ใหญ่อีกคนบังคับห้ามแสดงอารมณ์ออกมา อาจทำให้เด็กสับสนว่าเวลาโมโหควรจะทำอย่างไรดีที่สุด

6. สร้างบรรยากาศที่ดีในครอบครัว

ในเวลาปกติทั่วไป สมาชิกในครอบครัวควรสร้างบรรยากาศที่ดี ร่วมทำกิจกรรมในครอบครัว มีบรรยากาศการรับฟังปัญหาซึ่งกันและกัน เพื่อให้เด็กมีโอกาสได้เล่าความรู้สึก และเล่าปัญหา เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไข

7. ให้กำลังใจลูกเมื่อลูกพยายาม

เมื่อผู้ปกครองเห็นถึงความตั้งใจของเด็กว่ามีความพยายามความอดทนที่จะจัดการอารมณ์ตนเอง ผู้ปกครองควรมีการชื่นชมให้กำลังใจ ถึงความตั้งใจ ความพยายามของเด็ก แม้บางครั้งยังจัดการอารมณ์หรือพฤติกรรมได้ไม่ดีนักก็ตาม

คำตอบข้างต้นจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่เข้าใจและพร้อมรับมือ เมื่อลูกมีพฤติกรรมกลอกตาใส่ได้อย่างถูกต้อง และช่วยให้ลูกกลับมาเป็นเด็กดีที่น่ารักเหมือนเดิมค่ะ

ที่มา – www.phyathai.com

Writer Profile : nunzmoko

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ควรให้ลูกนอนวันละกี่ชั่วโมง?
ชีวิตครอบครัว
พาทัวร์โปรโมชั่นเด็ดงาน Baby&Kid Best Buy 1-4 มิ.ย.
เตรียมตัวเป็นแม่
5 บทเรียนที่พ่อแม่ควรสอนลูกวัยอนุบาล
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save