fbpx

โรคนอนกรนในเด็ก อันตรายที่คาดไม่ถึง

Writer : giftoun
: 27 กุมภาพันธ์ 2561

วันดีคืนดีลูกๆ เริ่มนอนกรนเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ คุณแม่ควรระวังไว้ว่าลูกอาจจะเป็นโรคนอนกรนในเด็กก็ได้นะคะ แล้วโรคนี้เป็นอย่างไร อันตรายกับลูกน้อยแค่ไหน ไปดูกันเลยค่ะ

สาเหตุของการนอนกรน

สาเหตุของการนอนกรนนั้น อาจเกิดจากต่อมอะดีนอยด์โตก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งเกิดจาก

  • การติดเชื้อเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น โรคโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง โรคโพรงไซนัสอักเสบเรื้อรัง หรือโรคหูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
  • โรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ของเยื่อบุโพรงจมูก หรือโรคแพ้อากาศ
  • การติดเชื้อเรื้อรังของต่อมอะดีนอยด์

ต่อมอะดีนอยด์คืออะไร

ต่อมอะดีนอย์ เป็นต่อมน้ำเหลืองชนิดหนึ่งซึ่งอยู่บริเวณด้านหลังของโพรงจมูก ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

อาการของต่อมอะดีนอยด์โต

  • หายใจไม่สะดวก หายใจมีเสียงดัง
  • นอนอ้าปาก เนื่องจากมีการหายใจทางปาก
  • นอนกรน สะดุ้งตื่นกลางดึก
  • ส่วนมากอาการสังเกตได้ช่วงกลางคืน ขณที่ลูกนอนหลับสนิท
  • ฯลฯ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคต่อมอะดีนอยด์

  • รู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียในช่วงกลางวันจากการนอนหลับไม่เต็มที่
  • มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น
  • มีการหลั่งของฮอร์โมนที่จำเป็นในการเจริญเติบโตลดน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวจะหลั่งในขณะที่เด็กมีการนอนหลับสนิท
  • มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้า ทำให้รูปใบหน้ารีเป็นรูปไข่ จากการโก่งตัวสูงขึ้นของกระดูกเพดานปาก และมีการยื่นออกของฟันหน้าจนผิดรูป ซึ่งเกิดจากการที่เด็กหายใจทางปาก
  • การขาดออกซิเจนในช่วงของการนอนตอนกลางวันคืนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตในปอดสูง เป็นต้น

แนวทางในการดูแลเบื้องต้น

  • ปรับการนอน โดยให้เด็กเข้านอน และตื่นนอนเป็นเวลาสม่ำเสมอ ในรายที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย ก็ให้ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายเป็นประจำ
  • เด็กมีอาการน้ำมูกไหล ซึ่งน้ำมูกจะยิ่งเข้าไปอุดตัน ทำให้เด็กหายใจทางจมูกลำบาก ให้จัดการโดยการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือและหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้น้ำมูกเพิ่มขึ้น
  • ทำความสะอาดสถานที่, ห้องนอน, ผ้าปูที่นอน และผ้าห่ม ของใช้ในบ้านทุกชนิด ที่จะก่อให้เกิดการระคายเคืองกับจมูกอยู่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเพิ่มของเชื้อที่มากับฝุ่น
  • ถ้าเด็กมีอาการกรนมากขึ้น ให้จับเด็กนอนในท่าตะแคง เพื่อลดอการกรนลง
  • ในบางรายอาจต้องมีการให้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกหรือ ยารักษาอาการอักเสบของจมูก จากภูมิแพ้และต่อมทอมซิล ซึ่งต้องมีคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
  • ในรายที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย แนะนำให้พบแพทย์ทันที เพราะอาจจะต้องใส่เครื่องครอบ เพื่อช่วยหายใจตอนนอน เพราะเครื่องนี้จะเข้าไปช่วยเปิดทางเดินหายใจ ที่แคบให้กว้างขึ้น เพื่อป้องกันการหยุดหายใจขณะหลับ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดต่อมทอมซิล และต่อมอะดีนอยด์ ถือว่าปลอดภัยที่สุด ภาวะในการแทรกซ้อนต่ำ และมีภาวะการติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อยมาก ไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อภูมิคุ้มกัน แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักแนะนำวิธีการรักษานี้ แก่เด็กที่มีอาการกรนหนัก ๆ
  • การรักษาในแบบอื่น ๆ เช่น การจัดฟัน หรือการการใช้เครื่อง CPAP เพื่อรักษาโรค และอาการแทรกซ้อนชนิดอื่น ๆ
  • ดูแลสุขภาพทั่ว ๆ ไป งดดื่มน้ำเย็นและของเย็น อย่าให้ลมโดนหน้าอกมากจนเกินไป ถ้าโดนฝนหรือจำเป็นต้องไปว่ายน้ำ ควรรีบเช็ดตัวให้แห้ง, ใส่เสื้อผ้าที่อบอุ่น และก่อนนอนควรอาบน้ำอุ่นเพื่อทำให้จมูก และระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น
  • อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ควรให้เด็กดื่มน้ำเยอะ ๆ ระหว่างวัน เพื่อให้ร่างกายได้ดูดซับน้ำไว้ใช้ในตอนนอน เพราะตอนนอนจมูก และเพดานจะแห้งลง จนทำให้เกิดเสียงกรนได้ง่ายขึ้น

โรคภัยอยู่ใกล้แค่เอื้อมเท่านั้น คุณแม่ควรหมั่นสังเกตลูกน้อยสักนิดนะคะ

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



12 ข้อดีจากการให้นมแม่
เตรียมตัวเป็นแม่
สายด่วนที่คุณแม่ควรจดเบอร์ไว้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save