คุณพ่อคุณแม่รู้ไหมคะว่า การโกหกของเด็กนั้น สามารถสะท้อนถึงความสำคัญในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเขากับสิ่งแวดล้อมได้ด้วย เพราะเด็กไม่สามารถโกหกได้ จนกว่าจะเข้าใจว่าคนอื่นๆ มีความเชื่อที่แตกต่างจากเข้า ซึ่งในแต่ละช่วงวัยก็มีการโกหกที่แตกต่างกันไป ยิ่งวัยโตขึ้นการโกหกก็จะเริ่มมีสิ่งที่ทำให้น่ากังวลใจมากขึ้น มาดูกันดีกว่าค่ะว่า หากลูกของเราโกหก เราจะทำยังไง วัยไหนจะรับมือแบบไหน ไปดูกันเลยค่ะ
เด็กวัยเตาะแตะ 2 – 3 ขวบ
เป็นวัยที่ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ความจริง ความฝัน จินตนาการ และความกลัว”
ทำไมเด็กถึงโกหก
- เด็กเกินกว่าจะรู้ว่าการโกหกเป็นสิ่งที่ผิด
- คิดว่าเล่นอยู่ระหว่างโลกจินตนาการและความเป็นจริง
- พูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ
- โกหกเพื่ออยากให้สิ่งที่คิดเป็นจริงเท่านั้น
พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
- เด็กเกินไปกว่าจะเข้าใจว่าการโกหกคืออะไร
- ระวังเรื่องการลงโทษและการเตือนเป็นพิเศษ
- เปลี่ยนวิธีการพูด เช่น ลูกกินคุกกี้โดยไม่ได้รับอนุญาตใช่ไหม เปลี่ยนเป็น คุกกี้หายไปไหนนะ แล้วเสื้อลูกเปื้อนขนมได้ยังไงนะลูก เป็นต้น
เด็กวัยอนุบาล 4 – 5 ขวบ
เป็นวัยที่สื่อสารได้มากขึ้น และเริ่มรู้แล้วว่าหากโกหกเขาจะโดนลงโทษอย่างไร
ทำไมเด็กถึงโกหก
- เป็นพฤติกรรมปกติของเด็ก
- เป็นวิธีแก้ปัญหาแบบเด็กๆ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ
พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
- เน้นย้ำถึงความซื่อสัตย์อยู่เสมอ
- เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็น
- ชี้ให้เห็นถึงผลของการโกหกและสิ่งที่จะได้รับ
- คุยกับลูกอย่างสบายๆ ในสภาวะทางอารมณ์ที่สงบทั้งเราและลูก
เด็กวัยประถมต้น 6 – 8 ขวบ
เป็นวัยที่โกหกเพื่อให้ตัวเองรอดจากความรับผิดชอบต่างๆ นานา วัยนี้เริ่มจะโกหกเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น
ทำไมเด็กถึงโกหก
- โกหกเพื่อทดสอบตัวเองว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
- โกหกเพื่อเอาตัวรอด จากโรงเรียน การบ้าน คุณครู เพื่อน
พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
- พูดคุยอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับความซื่อสัตย์
- พูดเชิงให้ลูกคิด เช่น ลูกรู้สึกอย่างไร ถ้าเพื่อนสนิทลูกพูดโกหก?
- คอยชื่นชมแบบพอดีเมื่อลูกพูดความจริง
- พูดคุยกับลูกอย่างมีเหตุผลแบบตรงไปตรงมา
เด็กวัยก่อนวัยรุ่น 9 – 10 ขวบ
เป็นวัยที่มีเหตุผลในการโกหกที่เริ่มเปลี่ยนไป โกหกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการทำผิด
ทำไมเด็กถึงโกหก
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เจ็บปวด
- เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจากการทำผิด
- เพื่อรักษาความรู้สึกของคนอื่นๆ
พ่อแม่ต้องทำอย่างไร
- พยายามสงบสติอารมณ์เพื่อไม่ให้เกิดการโต้ตอบของลูก
- ค่อยๆ พูดถึงความกลัวที่ทำให้ลูกโกหกตั้งแต่แรก
- ไม่เพิกเฉยต่อการโกหกของลูก
- อธิบายความแตกต่างระหว่างการโกหกที่ผิดเสมอกับ การโกหกเล็กๆ น้อยๆ
- หากลูกยอมรับในการโกหก ให้ชื่นชมและตอบรับพฤติกรรมเชิงบวกนี้
อ้างอิงจาก : https://www.parents.com/kids/development/behavioral/age-by-age-guide-to-lying/