fbpx

ชวนลูกไปเรียนดนตรี ฝึกสมาธิและความสุนทรีกับ"ครูเป้"

Writer : Mneeose
: 6 มิถุนายน 2562

ดนตรี เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราจรรโลงใจมากขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความสุนทรีให้กับชีวิต การเรียนดนตรีจึงเป็นเรื่องของความคลั่งไคล้ และการสร้างแรงบันดาลใจ จึงก่อให้เกิดทั้งแรงสนับสนุน และเเรงต่อต้านของพ่อแม่ในหลายครอบครัวที่มีความคิดเห็นในเรื่องดนตรีที่แตกต่างกัน

เราลองไปฟังมุมมองความคิดของครูเป้ จักรพงษ์ ครูสอนดนตรีที่เข้าใจในความสัมพันธ์ของครอบครัวที่รักในดนตรี และไม่สนับสนุนการเรียนดนตรีกันกันเลยดีกว่าค่ะ ว่าในฐานะที่เป็นครูสอนดนตรี และได้คลุกคลีกับเด็กมาเยอะ จะมีความคิดแง่มุมอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับดนตรีกันบ้าง?

บทสัมภาษณ์

ช่วยแนะนำตัวเองให้ Parents One รู้จักหน่อยค่ะ?

สวัสดีครับ ผมเป้ จักรพงษ์นะครับ เป็นครูสอนร้องเพลงครับผม

ทำไมถึงมาเปิดโรงเรียนสอนดนตรีเอง?

จริงๆ มันก็เป็นความใฝ่ฝันของทุกคน ที่สอนดนตรีก็อยากจะดูแลเอง ทำอะไรเอง วางระบบเอง มันดูน่าสนุกและอิสระกว่า เพราะว่าตัวผมก็เป็นนักดนตรี และก็ภรรยาก็เป็นครูสอนดนตรีเหมือนกัน และพอมีครอบครัวก็คิดว่าจะต้องไปเป็นลูกจ้างเขาอ่ะ เราก็ทำโรงเรียนเองดีกว่า ดูแลกันเอง

เรียนดนตรี ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางความคิด?

จะทำให้มีสมาธิ และก็ทำให้เป็นเด็กอารมณ์ดี เขาจะได้มีกิจกรรมทำ มีความคิดสร้างสรรค์

เด็กเริ่มเล่นดนตรีได้ตั้งแต่อายุเท่าใด?

ก็คือตั้งแต่อายุ 3 ขวบครึ่งนะครับ มันเป็นมาตรฐานสากลเลยนะครับ ที่จะเริ่มเรียนเปียโน แต่กีต้าร์ยังเริ่มไม่ได้ เพราะด้วยกำลังนิ้ว ด้วยกล้ามเนื้อเขายังไม่พร้อม

เปียโนเนี่ยเป็นพื้นฐานที่ดี และก็เป็นพื้นฐานของเครื่องดนตรีทุกอย่าง คือถ้าเมื่อไหร่ที่เราเริ่มเล่นเปียโน เราอ่านโน้ตได้ อีกหน่อยเราไปต่อยอดเล่นเครื่องดนตรีอื่น เราก็ไปได้เลย

จริงหรือ? ที่ดนตรีช่วยให้เด็กลดความเป็นไฮเปอร์ลงได้ 

ได้ฝึกสมาธิ ได้ใช้กระบวนการคิด การเล่น การฟัง การจำโน้ตพวกนี้ก็จะช่วยได้

พ่อแม่เป็นนักดนตรี แล้วอยากให้ลูกเป็นนักดนตรีด้วยรึเปล่า?

ไม่ได้ขีดเส้นให้เขาครับ แต่ว่าอยากให้เขาเล่นดนตรี แล้วก็จริงจังกับดนตรีในระดับหนึ่ง คือเอาให้เก่ง แต่ว่าไม่ต้องถึงขนาดว่าเป็นนักดนตรีเหมือนพ่อแม่ ลูกอยากเป็นอะไรก็ตามใจลูก เดี๋ยวว่ากันอีกที

ทำอย่างไรให้ลูกกล้าเปิดใจกับพ่อแม่?

ประเด็นสำคัญ คืออยู่ที่พ่อแม่มากกว่า ว่ามีเวลาใส่ใจลูก และพูดคุยกับลูกมากแค่ไหน

ถ้าเราได้พูดคุยกัน ได้อยู่ใกล้ชิดกันตลอด มันก็จะทำให้เขากล้าเปิดอก มีอะไรเขาก็จะบอกเรา ถ้าเกิดเราไม่ได้ใส่ใจไม่ได้ดูแลเขา บางทีเขาก็ไม่กล้าพูดกับเราก็ทำให้เกิดปัญหาในครอบครัว

เมื่อความคาดหวังมักอยู่ในความหวังดี?

ก็น่าจะเป็นทุกบ้าน รวมถึงตัวผมเองก็ยอมรับ เพราะบางทีเราก็คิดเหมือนกันว่าอยากจะให้ลูกมีอนาคตที่ดี มีการงานที่ดี ไม่อยากให้ลูกลำบาก

จริงๆ ก็จะมีแอบแฝงปูทางไปนิดหน่อยว่า ลูกเรียนอันนี้ไหม ทำอันนี้ไหม เช่น ที่บ้านคุณตาคุณยายอยากให้มิลินเป็นหมอ แต่ตอนนี้ที่บ้านก็คือ ลองเปียโน ร้องเพลง อะไรก็ให้เรียน แล้ววิชาการก็อยากให้เน้นเหมือนกัน จะลองดูสิว่าเขาจะไปทางนี้ได้ไหม แต่ว่าก็เหมือนเชียร์อยู่ห่างๆ มากกว่า ถ้ารู้สึกว่าเขาไม่เอาจริงๆ ก็ไม่เป็นไร ก็ไม่ถึงขนาด เอ้าอยากทำอะไรทำเลย เราก็จะมีปูทางให้ แต่ก็ต้องดูกันว่าเขาชอบรึเปล่า ถ้าเขาไปทางอื่นที่เขาชอบมากกว่า เขาจริงจังแค่ไหน เราก็ต้องมาประเมินดูกันอีกทีครับ

ทำอย่างไร? หากพ่อแม่จะเอาความฝันในวัยเด็ก มาปลูกฝังให้ลูก

ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจลูก และก็รักลูกจริงๆ เขาก็น่าจะสังเกตเห็นว่าลูกชอบอะไร คือจริงๆ การที่อยากให้ลูกเป็นแบบที่ตัวเองคิด แบบที่ตัวเองฝันเป็นเรื่องที่ดี ถ้าลูกเห็นตรงกัน ก็โชคดีไป แต่ถ้าเขาไม่เห็นด้วยก็ต้องมาดูกันใหม่

ถ้ามีพ่อแม่ไม่อยากให้ลูกเรียนดนตรี?

เราต้องเคารพการตัดสินใจของครอบครัวเขาเนอะ ผู้ปกครองไม่เห็นด้วย คิดว่าดนตรีไม่ได้เป็นวิชาที่สำคัญอะไร  ไปเรียนวิชาการดีกว่า คือเราก็ไม่ได้ว่าอะไรครับ ก็เสียดาย ได้แต่หวังว่าเขาจะเข้าใจสักวันนึงว่า ดนตรีมันไม่ได้ทำร้ายใครนะ ก็เป็นอะไรที่ดีและก็ผ่อนคลายได้

ทำไมหลายครอบครัวอยากให้ลูกมีความสามารถพิเศษในหลายด้าน ?

บางทีก็น่าจะเป็นความหวังดีของพ่อแม่ใช่ไหมครับ ที่อยากจะให้ลูกเก่ง มีความสามารถทุกอย่างรอบด้าน=อยากจะให้ลูกได้ทำทุกอย่าง คือถ้าพ่อแม่มีกำลังที่จะส่ง และก็มีเวลาให้ เขาก็คงเชียร์ให้ลูกทำทุกอย่างละครับ แต่จริงๆ ก็คืออยู่ที่เด็ก ถ้าเด็กสู้ อยากจะทำทุกอย่าง โอเคแฮปปี้ แต่ถ้าลูกเหนื่อยก็ต้องฟังลูกบ้างเหมือนกัน เพราะก็มีหลายๆ คนเหมือนกัน เด็กที่เขาทำมาทุกอย่าง แล้วเขาก็เหนื่อย

ดนตรีสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในครอบครัว?

คอยเป็นกำลังใจให้ บางทีพ่อแม่อาจจะไม่รู้ ลูกเล่นโน้ตอะไรก็ไม่รู้ แต่ว่าอาจลองช่วยเค้าดู เอาเท่าที่ได้ ให้เค้ารู้สึกอุ่นใจ

เล่นเพลงนี้ได้รึยังลูก ลองซ้อมให้ฟังได้ไหม เล่นผิดไม่เป็นไร แค่นี้เขาก็รู้สึกดีและ

อันนี้สำคัญที่สุดเลยที่เด็กจะประสบความสำเร็จ คือ ผู้ปกครองจะต้องอยู่ดูเขาซ้อม เป็นกำลังใจให้เขา เขาจะได้รู้สึกว่า โอเคมีคนคอยสนับสนุน เขาอยู่ และสิ่งที่เขาทำเนี่ยเป็นสิ่งที่ดี และน่าชื่นชม มีอีกหลายๆ กรณีที่เรียนไปแล้วไม่มีความสุข ก็คือเหมือนผู้ปกครองส่งให้ลูกเล่นก็เล่นไป กลับบ้านซ้อมสิ แต่ระหว่างที่ซ้อม ผู้ปกครองก็ไปทำอย่างอื่น ลูกก็เหมือนกับว่าทำไมฉันต้องมาทำตรงนี้ พ่อแม่ไม่เห็นจะสนใจเลย

วิธีสังเกตว่าลูกชอบหรือไม่ชอบอะไร เมื่อลูกโตขึ้น ?

อยู่คลุกคลี พูดคุยกับเขาตั้งแต่เขาเด็กๆ แต่พอถึงช่วงที่เป็นวัยรุ่น คือยังไงเขาก็ต้องมีโลกส่วนตัวเราก็ต้องคอยสังเกต แล้วก็ต้องคอยสนับสนุน ถามไถ่ เพราะจริงๆ ในวัยนี้  นักเรียนหลายๆ คนของผมก็มีอะไรบางทีก็ไม่บอกพ่อแม่ แต่มาเล่าให้ครูฟัง ป็นที่ระบายให้เด็กค่อนข้างเยอะ เพราะเขารู้สึกว่าไปปรึกษาเพื่อน เพื่อนก็เท่าๆ กันนั่นเเหละ ไปถามพ่อแม่ก็ไม่กล้า คุยกับครูละกัน

ฝากถึงพ่อแม่ยุคใหม่ถึงสิ่งที่ลูกรัก ไม่ใช่สิ่งที่เรารัก?

ฝากคุณพ่อคุณแม่นะครับลองสังเกตว่าลูกชอบอะไร พูดคุยกันบ่อยๆ นะครับผม แล้วก็จะรู้ว่า ลูกเราต้องการอะไร ชอบสิ่งไหน โดยที่เราตัดความคิดความชอบของตัวเราไปนะครับ และทีนี้ถ้ามีปัญหา เราก็จะแก้ปัญหาไปด้วยกันได้ครับ

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เมื่อผม…
ชีวิตครอบครัว
เมื่อผม…
31 มีนาคม 2563
7  วิธี พิชิตการทานยากของเด็ก
ชีวิตครอบครัว
ตัวตนของลูก คือทางของลูก
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save