fbpx

"นมแม่ดีที่สุด แต่นมวัวก็ไม่ใช่ยาพิษ" คุยกับ ผศ.นพ. วรวุฒิ เชยประเสริฐ คุณหมอเจ้าของเพจเลี้ยงลูกตามใจหมอ

Writer : Mookky TCN
: 2 ตุลาคม 2560

ถ้าพูดถึงเพจเเม่ลูกชื่อดังก็มีเพจ  เลี้ยงลูกตามใจหมอ ติดอยู่ในลิสต์ด้วย เพราะสไตล์การเขียนที่ดูแหวกแนวจากเพจเเม่ลูกทั่วไป เราเลยลองมาคุยกับ ผศ.นพ. วรวุฒิ เชยประเสริฐ คุณหมอเจ้าของเพจที่ปัจจุบันเป็นคุณหมอเด็กทั่วไป และหมอเด็กโรคเลือดและโรคมะเร็งในเด็กที่ รพ.เวชธานี มาดูกันว่าคุณหมอแอดมินเพจมีเเนวคิดยังไงกันบ้างค่ะ

เเรงบันดาลใจในการตั้งเพจคืออะไร

คุณหมอ: ผมเป็นหมอเด็กมาตอนนี้เป็นปีที่ 8 เเนะนำคุณพ่อคุณเเม่มาเยอะ เเต่พอมามีลูกเองก็ฉีกตำราไปหลายบทเลย เพราะพอเปลี่ยนสภาวะจาก “หมอเด็ก” มาเป็น “คุณพ่อ” ทุกอย่างก็ต่างกันเยอะ เลยคิดว่าจากวิธีเดิมๆ อาจต้องมีการปรับกันบ้าง พูดง่ายๆ คือถึงแม้ว่าเราจะเป็นหมอเด็ก เเต่ก็ไม่สามารถทำตามทฤษฎีได้มากขนาดนั้น มันไม่มีอะไร 100% ทางการเเพทย์

เเรกสุดที่เขียนที่เขียนหลักๆ คือ ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เเละนมเเม่ ซึ่งแฟนผมอ่านเพจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งเเต่ตอนท้อง พอคลอดลูกปุ๊บมันไม่ได้เป็นไปตามคาด คือการให้นมเเม่มันไม่ง่ายเเต่ก็ไม่ได้ยาก ขนาดตัวผมเป็นหมอเด็กรู้ว่าต้องเข้าเต้ายังไง กระตุ้นน้ำนมยังไง เเต่เอาเข้าจริงพอร่างกายเปลี่ยนก็เครียด เเละเขาก็เครียดที่ให้นมเเม่ 100% ไม่ได้ด้วย

นอกจากนั้นก็มีแม่บางคนที่ให้ลูกทานนมผสมร่วมด้วย เพราะให้นมเเม่ 100% ไม่ได้เหมือนกัน เเล้วอ่านเพจนมเเม่มาตลอด 9 เดือน ก็ค่อนข้างกระทบจิตใจ ด้วยความรู้สึกว่าตัวเองเป็นเเม่ที่ไม่ดี อย่างสองที่ทำเพจคือ การเปลี่ยนงานจากอาจารย์หมอมาเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลเอกชน เป็นการที่พลิกบทบาทจากเดิมคือสอนคนมาทำอีกอย่าง ทำให้เรารู้สึกว่าอาจมีคุณเเม่บางคนที่ยังเข้าไม่ถึงความรู้ที่ย่อยง่ายๆ ตรงไปตรงมา เลยอยากตั้งเพจขึ้นมาเพราะอยากให้ความรู้คนอื่น

ตอนนั้นรับมือยังไงกับความเครียดที่เจอ

คุณหมอ: ผมกับภรรยาได้ไปที่ “คลินิกนมแม่” ก็ปลดล็อคจากคำที่พยาบาลพูดว่า  “นี่อดหลับ อดนอน ขนาดนี้ยังเป็นเเม่ที่ไม่ดีอีกเหรอ เเล้วเเม่ที่ดีคือะไร? “ เลยได้รู้ว่าการเป็นเเม่ที่ดี ไม่ได้หมายถึงเเค่การให้นมเเม่ 100% เเต่ยังมีส่วนอื่นๆ ประกอบด้วยหลายอย่าง ทั้งการให้ความรัก ให้การศึกษา ถ้าแม่ๆ คนไหนที่กังวลเรื่องนี้ก็สามารถไปปรึกษาได้

คุณหมอกำลังจะเเนะนำให้คุณเเม่ปล่อยวางใช่ไหม

คุณหมอ: ใช่ เเล้วเชื่อไหมว่าเวลาปล่อยวางเสร็จน้ำนมจะไหล เพราะความเครียดทำให้น้ำนมไม่ไหล เหมือนภรรยาพอถูกปลดล็อคที่คลินิกนมเเม่เเล้วน้ำนมก็ไหลเลย เป็นการได้พักเเละได้ relax เลยคิดว่าบันไดมันมีหลายทาง เราอาจจะไม่ต้องเลือกในทางที่มันกดดันขนาดนี้

ถ้าพูดถึงกระเเสนมเเม่ คุณหมอคิดว่ายังไงบ้าง?

มีบางคนที่เป็นลัทธินมเเม่ พอใครก็ตามที่พูดถึงนมผสมก็บอกว่าผิดหมดเลย ผิดไม่พอยัดเยียดความเป็นเเม่ที่ไม่ดีให้เขาอีก ถ้าอยู่ในวงการเเม่เเละเด็กจะรู้ว่ามี กลายเป็นเเม่มี 2 เกรด คือ เกรดดีมาก 100% กับแบบเกรดไม่ 100% ก็กลายเป็นเเม่ที่ไม่ดีไปเเล้ว เราต้องไม่สร้างความกดดัน ความเครียด ให้กับคนที่ให้นมเเม่ไม่ได้ เราเข้าใจเรื่องนมเเม่ เเต่อยากให้คนที่เป็นเเม่รู้จักปล่อยวางบ้าง

เช่น มีคุณเเม่ที่เป็นโรคหัวใจคนหนึ่ง inbox มาหาผม บอกว่าทานยาอยู่ 5 ตัว ซึ่งคุณหมอโรคหัวใจเเนะนำให้กินนมผสม เพราะยาบางตัวถูกขับออกมาทางนมเเม่ด้วย ซึ่งคุณเเม่กังวลเเละอยากให้นมเเม่ เลยบอกไปว่า “ถ้าคุณเเม่เสียชีวิตเพราะโรคหัวใจ ลูกจะขาดเเม่นะ มันคุ้มกันไหม” เเละเเนะนำไปว่าให้กอดลูกเยอะๆ เพราะอย่างน้อยเราอาจให้นมเเม่ไม่ได้ด้วยโรคทางกาย เเต่การเลี้ยงเขาดีๆ พร้อมทั้งอยู่เคียงข้างเขา รักษาตัวดีๆ อยู่ยาวเป็น 10 ปี 20 ปี ก็ดีเหมือนกัน อยากบอกว่า “นมแม่ดีที่สุด แต่นมวัวก็ไม่ใช่ยาพิษ”

ในมุมมองของคุณหมออยากบอกอะไรเพจที่เน้นเรื่องนมเเม่อย่างสุดทาง

คุณหมอ: คิดว่าไปโทษเพจเหล่านั้นไม่ได้ เพราะในสมัยก่อนเรามีกระเเสว่ากินนมผงเเล้วฉลาด ซึ่งในความจริงไม่มีทางที่จะดีกว่านมเเม่อยู่เเล้ว ปรากฏว่าคนเข้าใจว่าใครกินนมเเม่เเล้วจะทำให้ไม่ฉลาด หรือดูไม่มีเงิน กระทรวงสาธารณะสุขเลยเริ่มรณรงค์เรื่องประโยชน์ของนมเเม่ค่อนข้างเยอะ เเล้วก็เกิดเพจนมเเม่ตั้งขึ้นมาเรื่อยๆ

เนื้อหาแบบไหนที่คนสนใจมากๆ

คุณหมอ: มีอยู่ 2 แบบ คือ ทำนองเพจเลี้ยงลูกทั่วไปคือฟังเเล้ว feel good คนจะชอบ เเละเริ่มคนที่ไม่มีลูกก็เข้ามาเพิ่ม หลังจากเพิ่มคอนเทนท์การเลี้ยงลูกเเนวตลกๆ อย่างที่ชอบเรียกว่าเลี้ยงลูกเชิงดวกส์ เลี้ยงลูกเชิงปลวก และที่มักมาจากคำถามหลังไมค์ของคุณเเม่ เช่น ” คุณหมอคะกินปลาแซลมอนตอน 7 เดือนได้ไหมคะ? ”
ลองอ่านบทความเต็มๆ ได้ที่  เรื่องของ “ปลา” ในเด็กต่ำกว่า 1 ปี 

รับมือกับกระเเสตอบโต้ที่เจอยังไง

คุณหมอ: ในตอนเเรกคนที่ทำเพจจริงๆ มี 5 คน พอเพจเริ่มโตก็เจอดราม่าหลังไมค์ เลยมีเเต่เราที่ยังเขียนอยู่เพราะที่เหลือไม่ไหวเเล้ว เลยเหลือเรากับเพื่อนอีกคน (แอดเเม่หมอ) ส่วนตัวผมก็เฉยๆ ไม่ได้เครียด เเละรู้สึกว่าถ้ากระเเสเเรงมาก็จะไม่เเรงกลับ เช่น เคยเจอเขียนด่าอย่างยาวเหยียดประมาณหนึ่งหน้ากระดาษเอสี่ เราก็ตอบไปคำเดียวว่า  “ครับ”

ตอนนี้เราอยู่ในสังคมที่ information เยอะเกินไปจะทำยังไงดี

คุณหมอ: มองว่า information ที่เยอะนั้นถูกหรือเปล่า เพราะบางที่ถูก 80% เเต่อาจจะไม่ถูกอีก 20% ซึ่งคุณเเม่ทั่วไปอาจจะไม่ได้มีความรู้พอว่าถูกหรือไม่ถูก ผมมองว่าถ้าอยากชัวร์ หรือมีข้อมูลอะไรที่สงสัยอันดับเรกให้เชื่อหมอที่ดูเเลก่อนดีกว่า

คำถามอะไรที่คุณเเม่ inbox มามากที่สุดหลังไมค์

คุณหมอ: ตอนช่วง 2 เดือนเเรกที่ตั้งเพจเป็น “เรื่องอึ” ที่คุณเเม่ inbox  มาเยอะมากๆ จนหลังไมค์ผมเกือบกลายเป็นส้วมสาธารณะ เเละเรื่อง “ซึมเศร้าหลังคลอด”  หลังๆ ก็เริ่มมีคำถามสุขภาพ ซึ่งส่วนตัวจะพยายามไม่ตอบคำถามสุขภาพ เพราะเราไม่ได้ซักประวัติ ไม่ได้ตรวจร่างกาย

ถูกไหมที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นคุณหมอ เเค่ถามคำถามไปก็น่าจะได้คำตอบเเล้ว

คุณหมอ: เป็นความเข้าใจที่ผิด เเต่ถ้าถามคำถามง่ายๆ เช่น คุณหมอวิธีล้างจมูกที่ผมทำอยู่ถูกไหม? เเล้วส่งคลิปวิดีโอมาให้ดู ซึ่งแบบนี้ก็พอทำได้อยู่ เพราะเราเเนะนำได้มากสุดเเค่นั้น เเละ inbox มันจะแปลตามสิ่งที่เราโพสต์ช่วงนั้นก็มักจะมีคำถามเเนวๆ นั้น

สุดท้ายคุณหมออยากฝากกับคนที่ติดตามเพจว่าให้เปิดใจกว้างๆ รับข้อมูลทางหลักวิทยาศาสตร์เยอะๆ ถ้าอ่านเเล้วทำให้ไม่สบายใจก็ unlike ได้ เพราะอยากให้เป็นคอมมูนิตี้ที่เฮฮา มีความสุข เเละคุณเเม่ๆ ได้มาคุยกัน 🙂

เรียบเรียงโดย – ParentsOne

 

 

Writer Profile : Mookky TCN

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



7 เทคนิค พูดยังไงให้ลูกฟัง
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save