ตอนนี้มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคในรัฐพิหาร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศอินเดีย หลังพบเด็กป่วยเป็นโรคสมองอักเสบเฉียบพลัน (เออีเอส) คาดเพราะได้รับพิษจากลิ้นจี่ที่มีการเพาะปลูกอย่างกว้างขวางในเขตนี้ ทำให้มีเด็กเสียชีวิตเกือบ 100 คน
โดยเด็กที่เสียชีวิตทั้งหมดมีอาการของโรคสมองอักเสบเฉียบพลัน (เออีเอส) และเด็กที่เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากการขาดกลูโคสในเลือดอย่างเฉียบพลัน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกล่าวว่า มีเด็กเสียชีวิตเพราะโรคนี้ที่โรงพยาบาลและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีกฤษณะ 80 คน และที่โรงพยาบาลเอกชนอีกแห่ง 17 คน
นายสันชัย กุมาร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงในรัฐพิหาร ตั้งข้อสังเกตว่าการที่เด็กๆ กลุ่มนี้รับประทานผลลิ้นจี่ทั้งวัน เพราะเป็นผลไม้ที่เพาะปลูกโดยทั่วไปในท้องถิ่น โดยไม่ยอมรับประทานอาหารเย็นอาจจะทำให้มีพิษจากลิ้นจี่ตกค้างอยู่ในตับของเด็ก อีกทั้งมีคลื่นอากาศร้อนจัดในช่วง 2-3 สัปดาห์ก่อน อาจจะทำให้เกิดสารพิษเร็วกว่าปกติ ทำให้เด็กเสียชีวิตในที่สุด
นักวิจัยสหรัฐเผยรายงานในปี 2558 ว่า โรคสมองอักเสบที่พบในเด็กที่เมืองมูซัฟฟาร์ปูร์เชื่อมโยงกับสารพิษที่มีอยู่ในลิ้นจี่ แต่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนี้ ซึ่งเด็กที่ป่วยมีอาการชัก, สภาพจิตใจแปรปรวน และมากกว่า 1 ใน 3 เสียชีวิต
ทั้งนี้ เขตมูซัฟฟาร์ปูร์และพื้นที่ใกล้เคียงเผชิญกับการการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในช่วงฤดูร้อนของทุกๆ ปี นับตั้งแต่ปี 2538 โดยท้องถิ่นเรียกว่าโรคฉัมกิพุขาร์ มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากเป็นประวัติการณ์ถึง 150 ราย เมื่อปี 2557
อ้างอิงจาก