โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ขวบ หรือเงินสงเคราะห์บุตรนั้น ปัจจุบันค่อนข้างมีข้อจำกัดของผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือในเรื่องของฐานเงินเดือนของพ่อแม่ที่จะต้องมีรายได้ไม่เกิน 3,000 บาท/เดือน หรือ 36,000 บาท/ปี ซึ่งถือว่าเป็นฐานเงินเดือนค่อนข้างต่ำ
ดังนั้นกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) จึงได้เสนอรูปแบบการจัดสรรเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดขึ้นมาที่ พม.แล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียดถึงข้อมูลต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เห็นชอบ 3 รูปแบบประกอบด้วย
- เงินอุดหนุนเด็กอายุ ระหว่าง 0-6 ขวบ แบบถ้วนหน้า
- เงินอุดหนุนเด็กอายุ 0-6 ขวบ โดยขยายฐานรายได้เป็น 100,000 บาท/คน/ปี
- เงินอุดหนุนเด็กอายุ 0-6 ขวบ โดยใช้ฐานรายได้เดิม คือ 36,000 บาท/คน/ปี
โดยสุดท้ายสรุปที่จะจัดสรรเงินอุดหนุนเด็กอายุเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ โดยขยายฐานรายได้เป็น 100,000 บาท/คน/ปี ตามโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และคาดว่าจะเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาภายในเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งหากเห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที
แต่อย่างไรก็ดี ในอนาคตรัฐบาลตั้งเป้าที่จะจัดสรรเงินเด็กแรกเกิดให้กับเด็กทุกคนแบบถ้วนหน้า แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของประเทศ
อ้างอิงจาก