การศึกษาสำหรับเด็กยุคปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะยุคนี้ถือว่าเด็กๆ มีการเรียนรู้ที่แตกต่างจากสมัยก่อนอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ยุคเราๆ ในบางครั้งก็มีความกังวลถึงอนาคตของลูกอย่างมาก
ซึ่งวันนี้ทาง ParentsOne ได้มีโอกาสเข้าร่วมฟังงานเสวนา ในหัวข้อเรื่อง “HP New Asian Lerning Experience เปิดประสบการณ์การเรียนรู้ของครอบครัวยุคใหม่” ที่มีนักวิชาการและครอบครัวของคุณ ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติพร้อมภรรยา มาร่วมแสดงมุมมองและแนวทางในการเตรียมความพร้อมของลูกในอนาคตด้วยนั้นเอง
สำหรับแนวทางและมุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กยุคเทคโนโลยีนั้น คุณปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการเอชพี อิงค์ ประเทศไทยได้กล่าวว่า
“ในฐานะพ่อแม่ การให้การศึกษากับลูกหลานอย่างรอบด้านเป็นสิ่งสำคัญ เอชพีจึงตระหนักในข้อกังวลนี้ จึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและอุปกรณ์มารองรับสื่อดิจิทัลและสิ่งพิมพ์ที่จะช่วยให้สนับสนุนการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้แน่ใจว่าลูกหลาน จะได้รับการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัย”
ผลสำรวจเกี่ยวกับความมุ่งหวังของพ่อแม่ในการเตรียมลูกหลานสู่อนาคตมีดังนี้
ท่ามกลางสภาพแวพล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างก้าวกระโดดจากผลของเทคโนโลยี ทำให้คุณพ่อคุณแม่เร่ิมกังวลว่าลูกๆ ของเราจะไม่สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงและไม่พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตได้ ซึ่งผลสำรวจเกี่ยวกับความมุ่งหวังจาก 7 ประเทศในเอเชียมีดังนี้
-
อนาคตที่มั่นคง
แน่นอนว่าจากผลสำรวจพบว่า เรื่องของอนาคตที่มั่นคงของลูกนั้น คือความกังวลสูงสุดของผู้ปกครองทุกคน โดย 66% กังวลเรื่องค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น 42% กังวลเรื่องความมั่นคงในการทำงาน และ 54% กังวลเรื่องทักษะที่ถูกต้องต่อบทบาทชีวิตในอนาคตนั้นเองค่ะ
แต่สำหรับประเทศไทย คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ 65% จะกังวลเรื่องค่าครองชีพมากที่สุด และรองลงมา 54% จะเป็นห่วงเรื่องการสร้างทักษะที่ถูกต้องให้กับเด็กในอนาคตนั้นเองค่ะ
-
ต้องการให้ลูกพัฒนาทักษะทางสังคมควบคู่กับการมีความสุข
จากผลสำรวจของพ่อแม่ชาวเอเชียยุคใหม่ 83% ต้องการให้ลูกหลานมีความสุขเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ในขณะที่ผู้ปกครองของไทยนั้น 68% ต้องการให้ลูกสามารถทำได้ดีที่สุดในสิ่งที่พวกเขาทำ และ 66% ของผู้ปกครองไทย ระบุความมั่นคงของงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ
-
เด็กๆ ต้องถูกเตรียมพร้อม สำหรับการเรียนรู้ยุคดิจิทัล
ผู้ปกครองเชื่อว่าสิ่งพิมพ์ให้ผลที่ดีกว่าสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจ การใช้เวลาในการอ่าน การเรียนคำศัพท์และการจดจำ ในขณะที่แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยเรื่องการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการสร้างวิจารณญาณ
สำหรับผู้ปกครองไทยนั้น 57% ใช้การเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับการเรียนรู้ด้านศิลปะ รองลงมาก็คือการเรียนรู้ด้านภาษา 56% และทักษะดนตรี 41%
-
ผู้ปกครองช่วยลูกในการเรียนรู้เพราะเป็นโอกาสสร้างความผูกพัน
ประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ปกครองสูงสุดถึง 89% ที่ระบุว่า เหตุผลที่ผู้ปกครองเข้าไปมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ของลูก คือต้องการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มประสบการณ์ใหม่ๆ คุณพ่อคุณแม่เห็นว่าการใช้เวลาร่วมกับลูกเป็นการพัฒนาทักษะในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้นั้นเอง
-
ส่งเสริมให้เรียนพิเศษ เพื่อการศึกษาของลูก
ผู้ปกครองชาวเอเชีย 60% ยอมใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษ ส่วนผู้ปกครองของไทย 64% ใช้จ่ายไปกับค่าเรียนพิเศษและสถาบันกวดวิชา และ 35% ยอมย้ายบ้านเพื่อให้ลูกได้เรียนในโรงเรียนที่ดี และอีก 45% ยอมกู้เงินเพื่อการศึกษาของลูกค่ะ
-
ผู้ปกครองมีความคาดหวังกับสิ่งที่ปฏิบัติจริงไม่ตรงกัน
ผู้ปกครองเชื่อว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการเผชิญกับโลกแห่งความจริง ที่เสริมการพัฒนาความสามารถเชิงสร้างสรรค์และวิจารณญาณ ในขณะที่การเรียนรู้แบบท่องจำนั้นเหมาะสำหรับความรู้ที่อาศัยความจริง อันเป็นฐานในการต่อยอดการพัฒนาทักษะอื่นที่สูงขึ้น
ผู้ปกครองไทย 88% ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์ มากกว่าการเรียนรู้แบบท่องจำที่ 73% เชื่อว่าการเรียนรู้ทั้งสองประเภทจะมีอิทธิพลต่อความสามารถของเด็กในการเลือกทักษะที่จำเป็นเมื่อเข้าสู่วัยทำงาน
กระบวนความคิดของผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็ก แบ่งได้ 5 ลักษณะ
ผลของการสำรวจสรุปกระบวนความคิดของผู้ปกครองในภูมิภาคเอเชียแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ ได้แก่ The Concerned, The Realist, The Typical, The Overachiever และ The Detached ซึ่งสะท้อนลักษณะวิธีการที่ผู้ปกครองให้ความหมายต่อการเรียนรู้ การให้คุณค่าของการเรียนรู้จากประสบการณ์ของพวกเขา บทบาทการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้ รวมถึงความห่วงใยต่ออนาคตของลูก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- กระบวนความคิดแบบกังวล (The Concerned)
ผู้ปกครองกลุ่มนี้สนใจและกังวลอย่างมากเกี่ยวกับอุปกรณ์ดิจิทัลต่อการศึกษาของบุตรหลาน รวมถึงผลกระทบที่เทคโนโลยีมีอต่อการเรียนรู้และ ต่อการพัฒนาทักษะในด้านสังคมและการเข้าสังคม ผู้ปกครองกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม มากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยเชื่อว่าเด็กๆ จะเสียสมาธิได้ง่าย เมื่อต้องอ่านบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเด็กน่าจะได้เรียนรู้มากขึ้นจากสิ่งพิมพ์หรือตำรา
- กระบวนความคิดแบบสัจนิยม (The Realist)
ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย พวกเขาพร้อมที่จะเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ ต้องการให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง พวกเขาอยากให้ลูกๆ พัฒนาทักษะที่สามารถนำไปปรับใช้นอกเหนือจากในห้องเรียน กลุ่มพ่อแม่ลักษณะนี้จะชื่นชอบอุปกรณ์ดิจิทัล เนื่องจากสามารถช่วยให้ลูกๆ ได้เรียนรู้ไอเดียใหม่ๆ
- กระบวนความคิดตามขนบ (The Typical)
ผู้ปกครองในกลุ่มนี้ให้คุณค่ากับการพัฒนาทักษะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงและการเรียนรู้จากประสบการณ์ ผู้ปกครองลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะยอมรับว่า การเรียนรู้ทั้งทางดิจิทัลและจากสิ่งพิมพ์เหมาะสมและให้ผลการเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาทักษะและสติปัญญาด้านคำศัพท์และความเข้าใจ
- กระบวนความคิดที่เน้นประสบความสำเร็จ (The Overachiever)
ผู้ปกครองลักษณะนี้เรียกอีกอย่างว่า Tiger Parents มีลักษณะแสดงความต้องการเข้าไปช่วยผลักดันให้เด็กเรียนรู้และควบคุมเนื้อหาและเส้นทางของการเรียนรู้ ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาเชื่อว่าอุปกรณ์ดิจิทัลจะช่วยให้เด็กๆ ได้สัมผัสกับวัฒนธรรมและไอเดียต่างๆ ในขณะที่สื่อการเรียนรู้ที่เป็นสิ่งพิมพ์และกิจกรรมทางกายภาพช่วยส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- กระบวนความคิดแบบปลีกตัว (The Detached)
ผู้ปกครองกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่เงียบและเก็บตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับทุกกลุ่ม แม้พวกเขาใช้เวลาเรียนรู้กับลูกน้อยที่สุด แต่พวกเขากระตือรือร้นที่จะพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสังคม ซึ่งอาจเป็นเพราะพวกเขามีแนวโน้มที่เป็นคนที่เก็บตัว จึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้เประเภทท่องจำ การติวเสริม และร่วมกิจกรรมทางสังคม นอกจากนี้ ในด้านการสร้างความผูกพัน พวกเขาต้องการควบคุมเนื้อหาและเส้นทางการเรียนรู้ของลูกๆ โดยแม่จะมีบทบาทในการเรียนรู้ของลูกมากกว่าฝ่ายพ่อ
กระบวนความคิดของผู้ปกครองไทยอยู่ในกลุ่มสัจนิยมมากที่สุด 31% รองลงมาคือกลุ่มกังวล 22% และพบว่า กลุ่มปลีกตัวและกลุ่มตามขนบเท่ากันที่ 17% ส่วนกลุ่มเน้นประสบความสำเร็จมีเพียง 15%
ศาสตราจารย์ ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเกี่ยวกับแนวทางและบทบาทของผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมสำหรับลูกในอนาคตว่า
“ถ้าคุณอยากให้ลูกมีประสบการณ์ สิ่งที่ดีที่สุดเลยก็คือ ให้ลูกทำงานบ้าน เราอย่ากลัวลูกเราลำบาก เลอะเทอะ กลัวโน้นกลัวนี่ แล้วก็ให้อยู่แต่ในบ้านนั่งจ้องแท็บเล็ต แล้วลูกจะสตรองได้ยังไงล่ะ จะมีภูมิคุ้มกันได้ยังไง การที่ให้ลูกทำงานบ้าน จะช่วยให้เขามีวินัย มีเรื่องคุณธรรมจริยธรรม มีหลายๆ เรื่องตามมาเยอะแยะ หรือการพาเขาไปเปิดโลก ก็จะทำให้เขามีประสบการณ์ยิ่งขึ้น”
สำหรับครอบครัวนักแสดง ชาตโยดม หิริญยัษฐิติ และภรรยา คุณสุนิสา เจทท์ กล่าวว่า สำหรับครอบครัวเขาจะเป็นแบบที่สอง นั้นก็คือ เป็นครอบครัวแบบกระบวนความคิดแบบสัจนิยม ที่เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ การเล่น และการเรียนรู้สิ่งใหม่ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และพร้อมเปิดรับ เน้นเรื่องการปฏิบัติ และให้ลูกได้สัมผัสโลกแห่งความเป็นจริง และกำหนดเวลาในการเล่นหากใช้เทคโนโลยี และพยายามใช้เวลากับลูกให้ได้มากที่สุดถ้าทำได้
การส่งเสริมการเรียนรู้ของลูกให้สนุกเป็นเคล็ดลับที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง ให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกในครอบครัว เครื่องพิมพ์ HP DeskJet Ink Advantage จะสร้างรอยยิ้มแห่งความสุขให้ลูกๆ เมื่อได้สร้างผลงานสวยแจ่ม สีสันสดใส สั่งงานไร้สายผ่านแอพ HP Smart แม้ผู้ใช้งานจะเป็นเด็กก็สามารถสั่งพิมพ์สื่อการเรียน การเล่นที่ต้องการด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้อย่างง่ายดาย