Parents One

สอนอย่างไร ให้ลูกคิดเองเป็นตั้งแต่เล็ก

เป้าหมายหนึ่งของการเลี้ยงดูลูก ก็คือ ลูกใช้ชีวิตด้วยตนเองได้

เพราะเรา ไม่สามารถอยู่กับเขาไปได้ตลอด อยากให้ลูกใช้ชีวิตได้ในวันข้างหน้าโดยไม่มีเรา

ดังนั้น การฝึกให้เด็กๆ ให้คิดเป็น แก้ไขปัญหาเองเป็น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการฝึกลูกให้คิดอย่างเป็นระบบ จะฝึกอย่างไรได้บ้างนั้น ไปดูกันเลยค่ะ

พ่อแม่ต้องลดความรู้ใจลูกลงบ้าง เพื่อให้ลูกรู้จักสื่อสารออกมา

ยิ่งถ้าเราไม่เดาใจเขาทุกอย่างแต่เลือกที่จะให้เขาเป้นคนพูดออกมา ลูกก็จะกล้าแสดงออกมากขึ้น และ พยายามที่จะสื่อสารกับเราโดยเฉพาะเวลาที่เราเข้าใจตรงกัน เขาจะยิ่งมั่นใจขึ้นมากๆ เลยที่จะสื่อสารต่อไป

 

สอนให้ลูกรู้ว่าเขาสามารถสื่อสารได้ โดยตั้งคำถามง่ายๆ ทีละสเต็ป ช้าๆ 

การสื่อสารจะต้องมีทั้งผู้รับ, ผู้ส่งและรูปแบบของสาร เราสามารถฝึกการสื่อสารของลูกได้โดยการ

 

สอนให้รู้จักเหตุและผล

 

ตอบคำถามลูกด้วยความตั้งใจ 

หลายครั้งในวัยเตาะแตะ ลูกกำลังเริ่มเผชิญโลกกว้าง เราอาจจะต้องเจอคำถามร้อยแปดพันก้าว บางครั้งเป็นคำพูดในวัยหัดพูด บางครั้งเป็นสีหน้าท่าทางหรือน้ำเสียงอ้อแอ้ตามวัยของเขา เราสามารถสังเกตอาการเหล่านั้น และตอบคำถามเพื่อคลายข้อสงสัยให้ลูก ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน เช่น วัยที่ยังพูดไม่เป็นคำ แต่เขามีประสาทสัมผัสหลายด้านที่สามารถรับรู้ได้ เราอาจดูจากท่าทางแล้วตอบเขา “ได้ยินเสียงมั้ยครับ เสียงดังมั้ย อันนี้คือเสียงรถนะ ที่ปะป๊าขับ เสียงเป็นแบบนี้ บรืนๆ” 

ลูกก็จะจดจำได้ว่านี่คือเสียงของรถนะ เขาต้องระวังนะ ต้องรีบมองหานะพอมีรถมา

 

ตอบคำถามลูกโดยตั้งสติให้ดี ไม่ใช้อารมณ์แบบผิดๆ

บางครั้งเราอาจเผลอลืมไปว่า ลูกยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ เขายังไม่สามารถเข้าใจได้ในครั้งเดียวหรือรู้ทุกอย่างได้ด้วยการพูดเพียงครั้งเดียวจบ เพราะงั้นคงมีบ้างที่จะถูกถามซ้ำๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เหนื่อยไปข้าง แต่มันก็เป็นสัญญาณที่ดี ที่ลูกรู้จักถามนะคะ

 

สอนโดยให้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยเรียนรู้ได้ดี 

การสอนให้ลูกมีประสบการณ์ตรง สามารถปรับให้เหมาะกับวัยได้ เช่น จับมือเขาไปอังแบบมีระยะปลอดภัย และบอกว่าร้อนคือแบบนี้ ถ้าจับตรงๆ จะร้อนมาก คุณแม่สามารถสามารถทำท่าจับใกล้ๆ แล้วทำท่าร้อน เจ็บมือ แบบสมจริง “ถ้าจับโดน จะเจ็บมาก ต้องทายาหรือไปหาหมอ” เราอาจพาลูกไปสัมผัสสิ่งต่างๆ เช่น “น้ำนะคะ //มันเย็นๆนะ// มันอุ่นๆนะ// หรือจับน้ำไม่ได้เลย” แล้วแต่ว่าลูกอยู่วัยไหน ควรสอนเรื่องอะไร

เด็กน้อยวัย 6 เดือน เราก็สามารถสอนได้ พาไปสัมผัสพื้นผนังปูน ผนังไม้ พื้นหญ้า แล้วบอกว่าคืออะไร จับแล้วเป็นไง ใส่ประสบการณ์และคลังคำต่างๆ ให้ลูก อย่างเป็นลำดับบ่อยๆ จะช่วยเรียบเรียงความคิดลูกได้ดียิ่งขึ้น

 

พูด สอน อธิบาย สอนมากสอนน้อย ดีกว่าไม่สอนเลย

บางครั้งเราอาจจะคิดว่าลูกยังเล็กเกินไป สอนไปก็ไม่เข้าใจ พูดไปก็ยังไม่รู้เรื่อง ซึ่งในความจริงแล้ว ไม่เป็นไรเลยที่จะลองสอนตอนที่เขายังเล็ก เราต้องพยายามพูดกับลูก เพื่อเติมคลังข้อมูลให้เขา โดยวิธีสอนนั้น ทำตามได้ดังนี้

 

ไม่รู้จะสอนอย่างไร เอานิทานมาช่วยได้

หนังสือนิทาน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีมากๆ ช่วยให้เด็กมีคลังคำ และเมื่อเจอประสบการณ์จริง ให้เราเชื่อมโยงสิ่งที่เห็นนั้นกับนิทานของเขา จะช่วยให้ลูกเข้าใจ และเชื่อมโยงเป็นด้วย ทั้งนี้ นิทานนั้น เป็นการเล่าแบบมีลำดับความคิด มีการปูเรื่อง มีการผูกปัญหาหรือคลายปัญหา  มีสาเหตุ มีผลปลายทางของเรื่องชัดเจน ช่วยฝึกคิดให้เป็นระบบได้อย่างเป็นธรรมชาติ 

และนอกจากช่วยฝึกการคิดแล้ว นิทานยังมีการอธิบายด้วยคำภาษาง่ายๆ ดังนั้น เมื่อเรานำคำเหล่านั้นมาใช้ ลูกก็จะยิ่งเข้าใจและสนุกกับประสบการณ์ที่เจอ แถมยังปลูกฝังการรักการอ่านด้วย เพราะตื่นเต้นสิ่งที่อยู่ในหนังสือ มาเป็นประสบการณ์จริงได้

 

เวลาทำอะไรในชีวิตประจำวัน พยายามให้ทำด้วยตนเอง ตามวัยของเขา

การเรียนรู้ทักษะวิชาการก็เป็นสิ่งที่ดี แต่จะดียิ่งกว่าถ้าลูกของเราสามารถเรียนรู้ เข้าใจเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวันได้ตั้งแต่ยังเล็กๆ และสามารถเอาตัวรอดได้, การสอนให้แก้ไขปัญหา ในสิ่งที่ทำไม่ได้ ด้วยการพาเขาก้าวไปทีละขั้นตอน แรกๆ คือ การชี้นำ เมื่อฝึกบ่อยๆ เด็กจะเริ่มคิดเองเป็น เราต้องไม่กลัวที่ลูกจะทำอะไรด้วยตนเองได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เราก็อยากให้เขาจะเอาตัวรอดเองได้ ยิ่งแก้ปัญหาได้ต่อหน้าเรา ก็ยิ่งอุ่นใจค่ะ

อย่าเบื่อหน่ายที่จะสอนหรือปูพื้นฐานให้ลูก เพราะเผลอแป๊บเดียวเขาก็โตแล้วค่ะ ทุกสิ่งที่ทำ เราเพียงหวังว่าจะช่วยให้เขาเติบโต  รู้จักตัวเองเพื่อวันหนึ่งข้างหน้า เมื่อเผชิญกับสิ่งต่างๆ เขาจะคิดเป็น…

เมื่อคิดเป็น แม่ก็หวังว่า ลูกจะใช้ชีวิตเป็น และมีความสุขกับชีวิตจริงๆ