fbpx

สอนลูกน้อยอย่างไร ก่อนใช้ Google เว็บท่องโลกอินเทอร์เน็ตเป็น

Writer : Mneeose
: 26 สิงหาคม 2563

Google คือโลกใบใหญ่อีกใบของลูกๆ ที่เหล่าผู้ปกครองอย่างเราอยากเข้าไปทำความรู้จัก คงไม่แปลกเกินไปใช่ไหมล่ะคะ ถ้าอยากรู้ว่าพวกเขาทำอะไรในนั้นบ้าง?

หัวข้อนี้จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ Google ของเด็ก ทั้งเรื่องของการสร้างบัญชีของลูกใน google ว่าควรป้อนข้อมูลและรหัสผ่านยังไง การตั้งค่าอุปกรณ์บนเครื่องมือสื่อสารต่างๆ รวมไปถึงการมีสิทธิ์เข้าถึงส่วนต่างๆ เช่น แอปฯ , รูปภาพ , Search , Gmail , Chrome ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเข้าถึง อีกทั้งเรื่องการเชื่อมต่อ google กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเชื่อมกับอุปกรณ์ของลูกโดยใช้แอปพลิเคชั่น รวมถึงการตั้งกฎพื้นฐานบนโลกดิจิทัล เพื่อเป็นการควบคุมการใช้งานของลูกด้วย จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

สร้างกฎในการในการใช้อินเทอร์เน็ตขึ้นมา ระหว่างลูกและผู้ปกครอง

ก่อนที่เราจะตกลงซื้อสมาร์ตโฟน หรือเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดให้ลูก ควรตั้งข้อตกลงเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สื่อสาร และอินเทอร์เน็ตของลูกไว้อย่างชัดเจน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการยอมรับข้อตกลงทั้ง 2 ฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายคุณพ่อคุณแม่ และฝ่ายลูก เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเด็กติดจอตามมาทีหลัง และให้ลูกได้ฝึกความรับผิดชอบและการรักษาคำพูดของตัวเองด้วย เช่น

  • เราควรกำหนดระยะเวลาในการเล่นอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ รวมทั้งเล่นอินเทอร์เน็ตว่าวันนี้ให้เล่นวันละกี่นาที โดยอ้างอิงจากอายุของเด็กเป็นหลัก อาทิ เด็กอายุ 1-3 ขวบ ไม่ควรเล่นเลย ส่วนเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย อาจจะเริ่มต้นที่วันละ 30 นาที
  • พูดคุยกับลูกให้เข้าใจในการที่พ่อแม่ต้องรู้บัญชี และรหัสผ่านของลูกทุกแอปพลิเคชั่น เพื่อความปลอดภัยของตัวลูกเอง พยายามบอกถึงเหตุผลและความจำเป็นง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย และที่สำคัญ ต้องบอกด้วยว่า แต่พ่อแม่จะไม่ไปก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของลูกหรอกนะ มีไว้เฉยๆ เท่านั้นเอง
  • ให้ความสำคัญกับการแชร์เรื่องราวต่างๆ โดยที่เราควรสอนให้ลูกรู้จักการคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้เป็น ว่าข่าวใดคือเรื่องจริงหรือว่าเป็นเรื่องปลอม
  • ไม่หลงเชื่อคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ ห้ามพูดคุยหรือเปิดเผยเรื่องในครอบครัวเด็ดขาด เช่น พิกัดที่อยู่ของบ้าน เพราะอาจเกิดอันตรายขึ้นได้
  • สอนลูกให้เป็นคนที่กล้าถาม เมื่อไม่รู้ โลกอินเทอร์เน็ตกว้างใหญ่มาก บางเรื่องที่ไม่รู้ เด็กๆ ควรถามผู้ใหญ่ก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปบนนั้น เพราะอาจะส่งผลเสียกับลูกในระยะยาว คนที่กล้าถามและเเสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ จึงเป็นคนที่ได้เปรียบมากกว่าคนอื่น

 

สอนลูกน้อยให้รู้จักตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย

การตั้งรหัสผ่านเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเด็กๆ ตั้ง ตั้งแต่ครั้งแรกที่พวกเขาเริ่มใช้ แล้วลูกจะเรียนรู้ได้เองว่ารหัสผ่านแบบไหนที่ควรตั้งในแอปพลิเคชันอื่นๆ แล้วปลอดภัย เช่น

  • ควรตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวประมาณ 8-10 ตัว
  • สร้างรหัสผ่านที่ยากต่อการคาดเดา โดยใช้ตัวเลขและตัวอักษร หรือใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน
  • สร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกัน และที่สำคัญเด็กๆ ต้องจำได้ หรือหากยังจำไม่ได้ ให้จดเอาไว้ในสมุดก่อน

 

สอนลูกน้อยให้รู้จักเก็บชื่อบัญชี และรหัสผ่านให้เป็นความลับ

การเก็บชื่อบัญชี และรหัสผ่านให้เป็นความลับ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คุณพ่อคุณแม่ควรบอกลูกๆ ว่า ไม่ควรนำข้อมูลพวกนี้ไปบอกกับคนอื่นเด็ดขาด ไม่ว่าจะสนิทกันแค่ไหนก็ตาม เพราะในระบบมักจะมีข้อมูลส่วนตัวของเราอยู่มากมาย เช่น บางคนใช้เก็บรูปความทรงจำต่างๆ หรืออาจมีข้อมูลสำคัญมากๆ ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ รวมถึงบางแอปพลิเคชั่นก็สามารถรู้พิกัดของบ้านเราได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้น ควรเตือนให้ลูกๆ ระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษ หากมีคนมาขอ ต้องบอกปฏิเสธเขาไปอย่างเดียว และคอยบอกลูกเสมอว่า เพื่อนคนอื่นเราอาจสนิทได้ แต่ห้ามไว้ใจคนอื่น นอกจากพ่อแม่เด็ดขาด

 

การตั้งค่าอุปกรณ์สื่อสารของลูก ให้อยู่ในสายตาของพ่อแม่

  • Google Family Link

เป็นแอปพลิเคชั่นของกูเกิล (Google) ที่ช่วยให้พ่อแม่ตั้งกติกาการใช้สื่อต่าง ๆ กับลูกได้ แม้ไม่ได้อยู่กับลูกตลอดเวลา และยังสามารถตรวจสอบการใช้งานของลูกได้ด้วย ซึ่งแอปฯนี้ใช้งานได้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปีเท่านั้น สามารถโหลดใช้ฟรีได้ในสมาร์ตโฟนได้ทั้งระบบไอโอเอส (iOS) และระบบแอนดรอยด์ (Android) 

 

ข้อดีของ Google Family Link

ความสามารถพิเศษของแอปพลิเคชั่น Family Link ก็คือ 

  • 1. พ่อแม่สามารถอนุมัติ หรือไม่อนุมัติการติดตั้งแอปฯต่าง ๆ ของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกเฉพาะแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการให้ลูกเข้าถึงได้
  • 2. มีตัวกรองสำหรับเด็ก ไม่ให้โหลดและป้องกันเว็บไซต์ เกม รวมทั้งภาพยนตร์ที่ไม่เหมาะสมขึ้นมา เมื่อทำการค้นหาในโครม (Chrome)
  • 3. รู้ว่าลูกใช้แอปฯอะไรบ้าง และเสียเวลาไปกับมันมากน้อยแค่ไหน
  • 4. ตั้งเวลาเข้านอนได้ เมื่อถึงเวลานอน สมาร์ตโฟนจะดับลงทันที
  • 5. ติดตามพิกัดของลูกได้ว่าตอนนี้อยู่ที่ไหน เข้าเรียนหรือเปล่า
  • 6. หยุดการทำงานของแอปฯได้ชั่วคราว หากพบว่าลูกใช้แอปฯนั้นมากเกินไป

 

  • โหมด Parental Controls หรือโหมดการควบคุมโดยผู้ปกครอง

โหมดการควบคุมโดยผู้ปกครอง เป็นอีกโหมดที่เอาไว้ควบคุม และป้องกันไม่ให้เด็กดาวน์โหลดเเอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่อยากจะคัดกรองแอปพลิเคชั่น หรือเนื้อหาต่างๆ ที่ลูกเล่นแบบเบื้องต้น

 

วิธีตั้งค่า โหมด Parental Controls

ขั้นตอนที่ 1 : เปิดเเอปพลิเคชั่น Play Store แล้วกดแถบเมนูที่อยู่ด้านบนซ้าย

ขั้นตอนที่ 2 : กดไปที่การตั้งค่า

ขั้นตอนที่ 3 : กดเปิดการควบคุมโดยผู้ปกครอง (User Controls : Parental Controls)

ขั้นตอนที่ 4 : เปิดปุ่มการควบคุมโดยผู้ปกครอง

ขั้นตอนที่ 5 : ระบบจะให้ตั้งรหัสผ่าน เพื่อเลือกประเภทของเนื้อหาที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องการให้ลูกเปิดดูได้เลย

เห็นไหมล่ะว่าทำง่ายมาก ๆ เพียงเท่านี้คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันไม่ให้ลูกเข้าถึงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมก่อนวัยได้แล้ว อย่างที่เราได้บอกไปตอนต้นว่า Google คือโลกใบใหญ่อีกใบของลูกๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจในการเริ่มต้นใช้อินเทอร์เน็ตของลูกให้มากๆ เช่นกัน ที่สำคัญ คือ อย่าปล่อยให้พวกเขานั่งดูหน้าจอเพียงคนเดียวล่ะ เพราะนั่นคือสิ่งที่อันตรายสำหรับลูกที่สุดแล้วล่ะค่ะ

 

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save