fbpx

ทำอย่างไรดีเมื่อลูกเป็นเด็กเก็บตัว เเล้วเราจะช่วยเขาอย่างไรดี

Writer : giftoun
: 19 กุมภาพันธ์ 2561

 

การดูแลลูกถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ยิ่งอยู่ในช่วงวัยที่มีพัฒนาการเต็มที่แล้ว การแสดงออกของลูกเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรหมั่นสังเกตเป็นอย่างมาก คุณแม่หลายคนเริ่มอยากรู้แล้วว่าลูกของเราเป็นเด็กเก็บตัวหรือไม่  เเละจะมีวิธีดูแลลูกให้เหมาะสมได้อย่างไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

เด็กเก็บตัวเป็นอย่างไร

  • พูดน้อยหรือแทบไม่พูดเลย
  • ชอบทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • เวลาเป็นจุดสนใจมักทำตัวไม่ถูก
  • ไม่ชอบอยู่ในที่ที่มีคนเยอะๆ
  • ขี้กังวล เหมือนคิดอะไรตลอดเวลา

สาเหตุที่ลูกเริ่มเก็บตัว

  • อาจเป็นเพราะไม่ชอบเจอคนเยอะๆ อยู่แล้ว บวกกับไม่มีความเชื่อมั่น ทำให้มีความประหม่า ตื่นเต้น และอยากหนีออกจากที่ตรงนั้นให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • มีการเรียนรู้ที่เร็วและไวกว่าเด็กคนอื่นๆ การพูดจาจะล้ำกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน ทำให้รู้สึกแปลกแยก และสบายใจที่จะอยู่คนเดียวมากกว่า
  • หลายครั้งที่ความสนใจของลูกอาจจะไม่เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ รวมถึงวิถีชีวิตที่ต่างกัน ทำให้ไม่ค่อยมีเรื่องให้คุยกันเท่าไหร่นัก เลยอยากอยู่คนเดียวสบายใจกว่าและจะได้ไม่ต้องคอยหาเรื่องมาคุยกับเพื่อนด้วย
  • เพื่อนๆ เริ่มไม่ยอมเล่นด้วย เพราะมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก เช่น ชอบแกล้งเพื่อน ชอบล้อเพื่อน รังแกคนอื่น ตะคอกเสียงดัง เป็นต้น ทำให้ลูกต้องเก็บตัวอย่างไม่ได้ตั้งใจ
  • บางครั้งเหตุผลที่ลูกอยู่คนเดียวเพราะเรื่องเล็กน้อยที่ฝังใจลูก เช่น รูปร่าง ภาพลักษณ์ ฟันเพิ่งหลอ เป็นต้น ทำให้อายจนคิดว่าอยู่คนเดียวยังดีเสียกว่าก็เป็นได้

วิธีดูแลลูกให้เหมาะสม

  • ชื่นชมกับความพยายามของลูก ไม่ว่าลูกจะแพ้หรือชนะ
  • ฝึกการให้กำลังใจเพื่อสร้างความสามารถ ควรให้กำลังใจและเสริมแรงให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกสนใจ
  • มีโอกาสให้ลูกพูดระบายความในใจออกมาบ้าง เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับลูก
  • ให้ลูกฝึกแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  • ให้ลูกแสดงพฤติกรรมตามวัย ไม่ควรมีความคาดหวังให้ลูกแสดงพฤติกรรมเหมือนผู้ใหญ่
  • กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นด้วยการตั้งคำถามเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
  • ให้ลูกลองสิ่งท้าทายใหม่ๆ แสดงให้ลูกเห็นเป้าหมายที่เป็นความสำเร็จเล็กๆ เพื่อไปสู่ความสำเร็จของเป้าหมายใหญ่ๆ
  • หลีกเลี่ยงการซิกแซก หรือมีข้อยกเว้นให้ลูกเสมอ การให้สิทธิพิเศษทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่น
  • ไม่วิพากษ์วิจารณ์การแสดงออกของลูก เพราะเด็กแต่ละคนมีวิธการแสดงออกที่แตกต่างกัน
  • อย่าปกป้องลูกมากเกินไป ยอมให้ลูกล้มเหลวบ้างบางครั้งบางคราวเพื่อช่วยให้ลูกเกิดความเข้าใจ และมีการวางแผนที่ดีขึ้นในครั้งหน้า
  • ควรช่วยเปิดโอกาสให้ลูกมีประสบการณ์ในโลกกว้างมากขึ้นเพื่อเปิดโลกทัศน์ในการเรียนรู้
  • คุูณแม่ควรหาเวลาทำกิจกรรมกับลูกบ้าง จะได้เรียนรู้ร่วมกันกับลูก
  • สอนลูกว่าหากจะทำให้สำเร็จต้องรู้อะไรบ้าง
  • แสดงความมั่นใจของคุณแม่จะส่งผลต่อความมั่นใจของลูกด้วย
  • ให้กำลังใจลูกเมื่อลูกเผชิญความทุกข์ยากลำบาก
  • คุณพ่อคุณแม่เสนอตัวที่จะเข้าช่วยเหลือและสนุบสนุนแต่ต้องไม่มากจนเกินไป
  • ชมเชยในความกล้าหาญเมื่อลูกเริ่มลองสิ่งใหม่
  • ฉลองความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • เป็นคุณแม่แบบเข้าใจลูก ไม่บังคับหรือเข้มงวดจนเกินไป
  • ถ้าเกิดลูกอายุ 3ขวบครึ่งยังคงขี้อาย ไม่เล่นกับเพื่อน และไม่พูดคุย ควรพาเด็กไปพบจิตแพทย์หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก เพราะเด็กอาจมีปัญหาอื่น ๆ ด้านพัฒนาการ ซึ่งควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี

เมื่อรู้วิธีดูแลลูกดังกล่าวแล้ว คุณแม่ควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกบ่อยๆ ปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นคนดีได้ต่อไปในอนาคตค่ะ

ที่มา

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เริ่มให้ลูกฝึกปั่นจักรยานตอนไหนดี?
กิจกรรมของครอบครัว
ของสุดล้ำในงาน Baby Best Buy
ชีวิตครอบครัว
ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
10 สิงหาคม 2560
ทำไมลูกชอบร้องไห้ก่อนไปโรงเรียน
เด็กวัยเข้าโรงเรียน
7 เทคนิค พูดยังไงให้ลูกฟัง
ชีวิตครอบครัว
ทำอย่างไรเมื่อลูกรัก “ติดจอ”
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save