ใครๆ ก็ไม่ได้คิดล่วงหน้าหรอกนะคะว่าชีวิตหลังแต่งงานของเราจะจบลงด้วยการหย่าร้าง แต่ในเมื่อมันเป็นวิกฤตของครอบครัวที่ไม่มีใครอยากเผชิญ เราเองก็ต้องหาทางที่ดีที่สุดวให้กับลูกและทำหน้าที่พ่อกับแม่อย่างดีที่สุดเช่นกัน เพื่อสถานะครอบครัวที่ยังคงอยู่ เราเลยมีวิธีเลี้ยงลูกอย่างสมานฉันท์หลังพ่อแม่แยกทางกันมาฝากกันค่ะ ไปดูกันเลย
1. กำหนดสิทธิในการดูแลลูก โดยคำนึงถึงลูกและเหตุผลไม่ใช่อารมณ์เป็นหลัก
หลายคู่หากแยกทางกันก็ยังสามารถไปเยี่ยมลูกได้อย่างไม่มีกฎเกณฑ์มากเท่าไหร่นัก เพราะตกลงกันได้ด้วยดี แต่หากกรณีพ่อแม่ตกลงกันไม่ได้เรื่องแบบนี้ต้องต้องพึ่งกฎหมายโดยให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ทั้งเรื่องค่าอุปการะ ทรัพย์สินค่างๆ และอำนาจในการเลี้ยงดูด้วย
2. ให้ลูกได้เจอหรือติดต่อกับอีกฝ่ายที่แยกออกไปอย่างสม่ำเสมอ
โดยอาจจะมีเวลาชัดเจนแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละฝ่าย ตกลงกันให้ชัดเจนและต้องทำตามที่ตกลงไว้อย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน
3. มีส่วนร่วมและช่วยเหลือลูกในการทำกิจวัตรประจำวันตามปกติต่อไป
หากอีกฝ่ายต้องการความช่วยเหลือเกี่ยวกับลูกทุกฝ่ายต้องพร้อมและให้ความร่วมมือเสมอ พยายามใช้เวลาร่วมกันพ่อแม่ลูกในโอกาสสำคัญ เช่น วันเกิดลูก วันที่ลูกเรียนจบ วัดหยุดปิดเทอมบางช่วงไปต่างจังหวัดด้วยกัน
4. คอยสอดส่องและห่วงใยลูกว่ามีความเหมาะสมของพฤติกรรมและพัฒนาการตามวัยหรือไม่
แม้พ่อแม่จะอยู่คนละที่แต่ควรประสานงานเรื่องการเลี้ยงดูลูกตลอด เช่น ขณะที่อยู่กับพ่อลูกมีไข้ไปหาหมอ หมอให้ยาฆ่าเชื้อมากิน 7 วัน พอย้ายมาอยู่กับแม่ ต้องกินยาต่ออีกกี่วัน หมอแจ้งว่าอย่างไรบ้าง พ่อควรประสานงานกับแม่ตอนนำเด็กไปส่งที่บ้านแม่
5. กรณีมีลูก 2 คน ควรใช้เวลากับลูกที่ถูกแยกออกไปให้มากขึ้น
พยายามให้เขาได้พบเจอกันพร้อมหน้าหรือเจอกันพี่น้องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองนั่นสำคัญและครอบครัวยังอยู่กับเขาเสมอ ลูกจะได้ไม่คิดว่าทำไมแม่หรือพ่อไม่รักหนู ทำไมรักพี่หรือน้องมากกว่า พยายามหาเวลาเจอลูกที่แยกออกไปให้มากขึ้น ถึงแม้พ่อแม่จะหย่ากันแล้ว แต่บทบาทการเลี้ยงลูกและครอบครัวต้องมาก่อน
อ้างอิงจาก : mahidol.ac.th, POBPAD