fbpx

ภาวะแท้งคุกคามคืออะไร คุณแม่จะป้องกันแบบไหนได้บ้าง

Writer : giftoun
: 15 พฤษภาคม 2561

เชื่อว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่นั้นคงกังวลใจว่าภาวะแท้งคุกคามคืออะไร สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีไหนบ้าง มาดูกันค่ะ

ภาวะแท้งคุกคามคืออะไร

แท้งคุกคาม (Threatened abortion, Threatened miscarriage) คือ ภาวะใกล้แท้งหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการสิ้นสุดการตั้งครรภ์หรือแท้งลูกได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยที่คุณแม่จะมีเลือดออกมาจากช่องคลอดและอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยหรือไม่มีก็ได้ จึงอาจทำให้คุณแม่สับสนได้ว่าเป็นประจำเดือน

สาเหตุของภาวะแท้งคุกคาม

  • คุณแม่ที่มีอายุมากจะมีโอกาสเกิดภาวะแท้งคุกคามมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อย
  • คุณพ่อมีอายุมากเกินไป
  • คุณแม่ที่เคยแท้งมาแล้วหนึ่งครั้งจะเกิดความเสี่ยงในการแท้งในครั้งต่อไป
  • การได้รับอุบัติเหตุในขณะตั้งครรภ์ที่บริเวณท้องน้อย
  • ความผิดปกติของทารกในครรภ์ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน หรือเกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างตัวอ่อนแต่กำเนิด
  • ความผิดรูปร่างหรือความผิดปกติของมดลูก โพรงมดลูก ปากมดลูก
  • ผลจากการขูดมดลูก (Asherman syndrome)
  • คุณแม่มีการติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด หัดเยอรมัน ซีเอ็มวีไวรัส เป็นต้น
  • การขาดฮอร์โมนเพศที่เป็นตัวช่วยประคับประคองการตั้งครรภ์ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาพอที่จะรับการฝังตัวของตัวอ่อนในโพรงมดลูกได้
  • โรคประจำตัวของคุณแม่ เช่น โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเอสแอลอี โรคไทรอยด์ เป็นต้น
  • คุณแม่มีความเครียด
  • คุณแม่เป็นผู้สูบบุหรี่โดยตรงหรือเป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง
  • การดื่มสุรา ดื่มกาแฟมากเกินไป
  • การใช้สารเสพติดประเภทโคเคน (Cocaine) ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งแล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย

เมื่อไหร่ที่ควรรีบไปพบแพทย์

คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ส่วนมากจะมีความรู้สึกปวดหน่วง ๆ ในท้องน้อย แต่ที่สำคัญคือจะต้องไม่มีเลือดออกจากช่องคลอดตลอดการตั้งครรภ์ ดังนั้นถ้าปวดในลักษณะบีบ ๆ บิด ๆ เป็นพัก ๆ หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ก็ควรรีบไปพบแพทย์

คุณแม่จะทราบได้อย่างไรว่าแท้งแล้ว

ในกรณีที่มีเลือดออกมากและมีเศษชิ้นเนื้อหลุดออกมาด้วยแล้ว ก็มักจะลงเอยด้วยการแท้งจริง ๆ ดังนั้นหากเริ่มมีเลือดออกก็ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดในทันที

วิธีป้องกันการแท้งคุกคาม

มีทั้งสาเหตุที่สามารถป้องกันได้และสาเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้

สาเหตุที่สามารถป้องกันได้

  • รักษาและควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นอยู่แล้วให้ดี
  • ถ้าโพรงมดลูกมีความผิดปกติ ควรแก้ไขหรือผ่าตัดให้เรียบร้อยก่อนการตั้งครรภ์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงหลีกเลี่ยงความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ในทุก ๆ วัน
  • งดการสูบบุหรี่ และงดการดื่มแอลกฮอล์ทุกชนิด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาต่าง ๆ (รวมถึงยารักษาสิว) โดยไม่จำเป็น รวมถึงการหลีกเลี่ยงการใช้หรือสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ
  • ไม่ยกของหนักในช่วงตั้งครรภ์
  • ระมัดระวังเรื่องการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ การกระทบกระแทกแรง ๆ ฯลฯ
  • ตรวจสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์และฝากครรภ์ทันทีเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์

สาเหตุที่ไม่สามารถป้องกันได้

  • โครโมโซมของทารกที่ผิดปกติ
  • ระบบสืบพันธุ์ของคุณแม่มีความผิดปกติ เช่น ผนังมดลูกบาง มดลูกไม่แข็งแรง
  • การเกิดโรคประจำตัวของคุณแม่เอง

เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งท้องแล้ว ควรจะดูแลตัวเองให้ดีเป็นพิเศษและฝากท้องกับคุณหมออย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นอะไรไปจะแก้ได้ทันท่วงทีค่ะ

ที่มา – medthai

Writer Profile : giftoun


  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



สิทธิประโยชน์ “ฝากครรภ์ฟรี” ปี 60
ข้อมูลทางแพทย์
Update
12 ตุลาคม 2567

12 ตุลาคม 2567
12 ตุลาคม 2567
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save