fbpx

9 วิธีปกป้องเด็กๆ จากฝุ่นละออง PM 2.5 เมื่อต้องอยู่ในเมืองที่มีมลพิษขั้นวิกฤต

Writer : Mneeose
: 5 กุมภาพันธ์ 2562

แม้ว่าค่าฝุ่นละออง PM จะค่อยๆ ลดจำนวนลงแล้วในประเทศไทย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่จะไม่เข้าไปก่อกวนในระบบร่างกายของลูกและตัวเรานั่นเอง จึงเป็นเหตุให้เราต้องหาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงฝุ่นละออง PM 2.5 รวมทั้งปรับตัว เมื่อต้องอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีมลพิษขั้นวิกฤตแห่งนี้ค่ะ

ไปดูกันเลยว่า กระทรวงสาธารณสุข จะมีวิธี หรือมาตรการการดูแลสุขภาพ และการดูเด็กเล็กให้ห่างจากฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5 อย่างไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

1. หมั่นเช็คค่าฝุ่นละอองอยู่เสมอ

เช็คค่าฝุ่นละอองในทุกเช้า ก่อนพาลูกไปโรงเรียน เพื่อที่จะได้ทราบว่าพื้นที่แถวโรงเรียนนั้นมีความหนาแน่นของฝุ่นเพียงใด และอย่าลืมให้ลูกสวมหน้ากาก N95 ทุกครั้งเมื่อออกจากห้องเรียนค่ะ เพื่อเป็นการป้องกันระบบหายใจของลูกไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำลายได้นั่นเอง

2. สวมหน้ากากกรองฝุ่นละออง

พยายามให้ลูกสวมหน้ากากกรองฝุ่นละออง โดยเฉพาะช่วงเช้าเวลาเดินทางไปโรงเรียน หรือออกไปภายนอกบ้าน เนื่องจากเป็นช่วงที่ค่าฝุ่นละอองแขวนลอยในอากาศเป็นจำนวนมาก แต่ผู้ปกครองอาจเจอปัญหาเนื่องจากเด็กๆ ไม่ยอมสวมหน้ากาก คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสวมเป็นตัวอย่างอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เด็กๆ รู้สึกแปลกประหลาด หรือหาหน้ากากลายการ์ตูน หรือสีที่เด็กๆ ชอบ เพื่อดักฝุ่นละอองและมลพิษอากาศค่ะ

 

3. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 แก้วต่อวัน

ดื่มน้ำและทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้เพียงพอ อาหารจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกภายในร่างกายให้ออกไปได้ค่ะ โดยเด็กๆ ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวันนั่นเอง

4. ใช้เครื่องกรองฝุ่น โดยเฉพาะเวลากลางคืน

ช่วงเวลากลางคืนยิ่งเป็นช่วงเวลาที่ที่มีฝุ่นละอองเยอะมาก เพราะค่าฝุ่นละอองจะหนาแน่นขึ้นเมื่ออากาศเย็นลง ซึ่งอยู่ในช่วงกลางคืน 1 ทุ่มจนกระทั่ง 9 โมงเช้า ทำให้เป็นช่วงเวลาที่ควรใช้เครื่องฟอกอากาศเพื่อลดปริมาณฝุ่นละออง และอย่าลืมว่าเด็กๆ จะหายใจลึกขึ้นขณะหลับอีกด้วย ทำให้ยิ่งเสี่ยงต่อการสูดดมฝุ่นละออง

 

5.หมั่นกำจัดฝุ่นละอองภายในรถ

นอกจากการจัดการกับฝุ่นละอองภายในบ้านและฝุ่นละอองในอากาศภายนอกแล้ว ไม่ควรละเลยเรื่องฝุ่นละอองภายในรถ ซึ่งเป็นที่ที่เสี่ยงต่อการสูดดมฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศอื่นๆ เข้าไปอีกด้วย เบื้องต้นให้ตรวจสอบกับทางศูนย์รถยนต์เพื่อเช็กฟิลเตอร์เครื่องปรับอากาศภายในรถ ให้เปลี่ยนจากฟิลเตอร์มาตรฐานทั่วไป มาเป็นฟิลเตอร์แบบ HEPA แทน หรือใช้เครื่องฟอกอากาศภายในรถร่วมด้วย

 

6. ปลูกต้นไม้ไล่สารพิษรอบๆ บ้าน

การปลูกต้นไม้ที่สามารถดูดกลืนสารพิษได้เป็นสิ่งที่ดี เมื่อเราปลูกไว้รอบๆ เพราะลูกจะได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ บ้านค่ะ นอกจากนี้ การปลูกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกและเพิ่มความชุ่มชื่นในอากาศ ซึ่งนอกจากจะช่วยดูดสารพิษแล้วเรายังจะได้รับอากาศที่ปลอดโปร่งอีกด้วย เช่น ต้นลิ้นมังกร  เยอบีร่า จั๋ง ดอกเดหลี เป็นต้น ค่ะ

7. พาลูกออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เราอาจได้ยินมาบ้างว่าในช่วงที่มีฝุ่นละอองหนาแน่น ควรเลี่ยงการออกกำลังกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายภายนอกอาคาร แต่ความจริงแล้วการออกกำลังกายเป็นผลดีกว่าการอยู่เฉยๆ ทำให้เด็กๆ ไม่ป่วยง่าย ควบคุมโรคหอบหืดได้ดีกว่าอีกด้วย เพียงแต่อาจเปลี่ยนเป็นการออกกำลังกายในตัวอาคารแทน เพื่อลดการปะทะกับฝุ่นละออง PM2.5 โดยตรง

 

8. ดูแลเด็กที่มีโรคประจำตัวอย่างใกล้ชิด

หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ให้รีบพาไปพบแพทย์ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง หากสัมผัสฝุ่นเป็นเวลานาน จะยิ่งทำให้โรคที่เป็นอยู่เกิดอาการกำเริบ และส่งผลให้เกิดโรคผิวหนังอื่นๆตามมาอีกด้วย

 

9. ไม่ทำให้เกิดฝุ่นภายในบ้าน

ในบางครั้งค่าฝุ่นละออง PM2.5 ภายในบ้านอาจมีความหนาแน่นกว่าภายนอกบ้าน เนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำอาหาร การจุดเทียน การจุดธูป เป็นต้น ควรมีการใช้พัดลมดูดอากาศ เครื่องดูดควันในครัว และงดการจุดธูปเทียนในพื้นที่ปิด

เด็กตัวเล็กๆ มักจะได้รับผลกระทบต่อร่างกายจากฝุ่นละออง PM2.5 มากกว่าผู้ใหญ่ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กแรกเกิด และเด็กเล็กซึ่งอยู่ในช่วงที่ร่างกายกำลังเติบโต รวมทั้งสามารถส่งผลกระทบต่อประหาสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย ในฐานะผู้ปกครองเราควรใส่ใจและปกป้องเด็กๆ เป็นพิเศษ เพื่อสุขภาพที่ดีและลดปัญหาที่จะตามมาในด้านต่างๆ นะคะ

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
นวด นวด นวด มานวดลูกน้อยกันเถิด
เด็กวัยแรกเกิด
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save