fbpx

"เฮอร์แปงไจน่า" โรคระบาดเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้จัก

Writer : Jicko
: 5 มกราคม 2564

โรคระบาดในเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่คงคุ้นเคยดีและคงได้ยินกันมามากมายหลายโรคนะคะ และก็ยังมีอีกหลายโรคที่คุณพ่อคุณแม่เองก็ยังไม่คุ้นเคย อย่างวันนี้ที่ Parents One จะพาไปทำความรู้จัก นั่นคือ “โรคเฮอร์แปงไจน่า” ซึ่งเป็นโรคระบาดในเด็กอีกโรคหนึ่งที่ไม่ค่อยคุ้นหูแต่ก็เป็นโรคที่พบบ่อยมากและส่งผลต่อสุขภาพเด็กๆ ได้ด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกันเลยค่ะ

โรคเฮอร์แปงไจน่าคืออะไร 

โรคเฮอร์แปงไจน่าเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย สารคัดหลั่ง และอุจจาระ เรียกได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่มีเชื้อไวรัสชนิดเดียวกันกับ มือ เท้า ปาก นั่นเอง แต่โรคนี้จะเกิดเป็นแผลเฉพาะที่ “ปาก” เท่านั้นค่ะ

กลุ่มเสี่ยง

เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี เนื่องจากเด็กยังไม่มีภูมิต้านทานของเชื้อนี้ โดยเฉพาะเด็กที่ไปโรงเรียนอนุบาล ที่มักเล่นของเล่นร่วมกัน ทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายค่ะ

ติดต่อได้อย่างไร

โรคนี้มักจะระบาดในอากาศชื้นหรือฤดูฝน และติดต่อจากการสัมผัสแล้วนำมือเข้าปาก จึงทำให้ติดต่อเชื้อได้

  • สัมผัสน้ำมูก
  • สัมผัสน้ำลาย
  • อุจจาระของคนที่ติดเชื้อ

เมื่อติดเชื้อแล้วจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 3 – 14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่วันแรกที่ติดเชื้อไปจนกว่าจะหายจากโรคนั่นเองค่ะ

สังเกตอาการ

หลังจากติดเชื้อประมาณ 2 วัน ผู้ป่วยอาจมีตุ่มแดง หรือแผลเปื่อยขอบสีแดงบริเวณเพดานปากและลำคอ แต่อาจหายได้เองใน 7 วัน ทั้งนี้ บางรายอาจมีอาการแตกต่างกันไป เช่น

  • มีไข้สูงกว่า 38.5-40 องศาเซลเซียส
  • เจ็บคอขณะกลืนอาหาร
  • ปวดหัว ปวดคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองในคอบวมโต
  • น้ำลายไหลยืด (เด็กทารก)
  • อาเจียน (เด็กทารก)
  • ปวดท้อง
  • เบื่ออาหาร

อาการแบบไหนที่ต้องรีบไปพบแพทย์

  • เจ็บคอ หรือมีแผลในปากนานเกิน 5 วัน
  • มีไข้สูงเกิน 41 องศาเซลเซียส และไม่ลดลง
  • มีอาการภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง อ่อนเพลีย ตาลึกโบ๋ ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม เป็นต้น
  • มีอาการป่วยอื่นๆ เพิ่มเข้ามา

การรักษา

เป็นโรคที่ต้องรักษาตามอาการ ขึ้นอยู่กับอายุ อาการผู้ป่วย การทนต่อยา ซึ่งแพทย์มักจะแนะนำวิธีการรักษาดังนี้

  • รักษาด้วยยา : กินยาพาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟน เพื่อลดอาการปวดไข้ แต่ห้ามใช้ยาแอสไพรินรักษาในเด็กและวัยรุ่น นอกจากนี้ แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อลดอาการปวดสำหรับช่องปากและลำคอ เช่น ยาลิโดเคน
  • การบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม : ดื่มน้ำมาก ๆ โดยเฉพาะนมเย็น น้ำเย็น หรือกินไอศกรีม เพื่อเพิ่มปริมาณของเหลวในร่างกาย ทดแทนของเหลวที่เสียไปจากการมีไข้ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มร้อน และผลไม้ตระกูลส้ม เพราะอาจทำให้เจ็บแผลในปากและคอมากขึ้น

การป้องกัน

วิธีที่ดีทีสุดก็คือการรักษาความสะอาดของตัวเองนะคะ เช่น การล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และต้องระมัดระวังการสัมผัส น้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ที่เป็นส่วนรวม หากเด็กๆ มีอาการป่วยควรงดไปโรงเรียน 7 วันค่ะ

อ้างอิงจาก : rama.mahidolphyathai, pobpad, nakornthon.com

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



CAR SEAT กับเด็กแต่ละช่วงอายุ
ข้อมูลทางแพทย์
จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save