fbpx

วิธีรับมือโรคแพนิคของคุณแม่ๆ ตั้งครรภ์

Writer : Jicko
: 18 กันยายน 2563

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือเคยผ่านช่วงเวลาตั้งครรภ์คงทราบกันดีถึงอารมณ์ของคนท้องนะคะ ยิ่งเป็นคุณแม่ที่เพิ่งตั้งท้องแรก ยิ่งทำให้อารมณ์แปรปรวน บางคนเครียด วิตกกังวล หรือที่เราเรียกว่าโรคแพนิค ซึ่งการหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกนี้มักจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน และรุนแรงกว่าความเครียดโดยทั่วๆ ไป ซึ่งความรู้สึกด้านลบแบบนี้มันสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งของคุณแม่เองและของเจ้าตัวเล็กในครรภ์ได้ด้วยนะคะ

เพราะฉะนั้นคุณแม่ๆ เองก็ควรที่จะเรียนรู้วิธีรับมือ ซึ่งทาง Parents One ได้รวบรวมวิธีรับมือกับโรคแพนิคของคุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

ทำความรู้จักกับโรคแพนิค

โรคแพนิค (Panic disorder) หรือเรียกง่ายๆ ว่า โรคตื่นตระหนก เป็นภาวะวิตกกังวลหรือมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรงแบบไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆ หายๆ และเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้อีก โรคนี้ไม่อันตรายอย่างที่คิด หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและต่อเนื่องก็จะสามารถกลับมาเป็นปกติสุขได้นั่นเอง

อาการแพนิคกับคุณแม่ตั้งครรภ์

อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นมักจะเกิดจากความเครียดและวิตกกังวลที่มากกว่าปกติ ซึ่งอาการต่างๆ ได้แก่

  1. ตัวสั่น วูบวาบไปทั้งตัว
  2. หายใจลำบาก
  3. เวียนศีรษะ
  4. หัวใจเต้นเร็ว
  5. เกร็งตามกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
  6. กลัวบางสิ่งจนไม่ควบคุมตัวเองได้

** สำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพนิคเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ได้เกิดผลอะไรตามมา ก็ไม่นับว่าเป็นโรคแพนิคนะคะ เช่น นั่งรถนานๆ แล้วเกิดอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะขึ้นมา เพราะโรคนี้ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำหลายครั้ง ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีวิตค่ะ

วิธีรับมือที่ถูกต้อง

1.หากมีอาการเกิดขึ้นครั้งแรก ควรไปพบแพทย์ทันที

หากคุณแม่ๆ สังเกตอาการตัวเองแล้ว แล้วรู้สึกว่าตัวเองอาจจะเป็นและมีอาการตามที่บอกข้างต้น แต่ไม่แน่ใจว่าจะเป็นหรือเปล่า อยากแนะนำเลยว่าควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อจะได้ไม่กังวลและรับการตรวจวินิจฉัยโรคให้แน่ชัดและจะได้รักษาได้อย่างถูกต้องปลอดภัยค่ะ

แต่ถ้าทำวิธีต่างๆ พยายามสุดความสามารถที่คุณแม่คงหนึ่งจะทำได้แล้วแต่ก็ยังไม่หาย คุณแม่ควรรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการบำบัดและการรักษาที่เหมาะค่ะ และต้องให้ความร่วมมือกับคุณหมอทั้งเรื่องการทานยา และทั้งตัวคุณแม่เองอย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งแม่และลูกนั่นเองค่ะ

2.ระบายความรู้สึกออกมาบ้าง

เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์มักจะเกิดความวิตกกังวลต่างๆ ทั้งของตัวคุณแม่เองและของลูก กลัวทุกอย่างไปหมด การระบายความกังวลและความเครียดก็สามารถช่วยได้ อย่างเช่น การเล่าสู่กับคนในครอบครัว หรือใช้การเขียนบันทึกประจำวันก็ช่วยได้นะคะ

3.คุณแม่ต้องมีสติ

ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่อยากที่จะควบคุมตัวเองให้มีสติในตอนนั้นได้ เพราะอาการแพนิคมักจะเกิดขึ้นอย่างไม่รู้ตัวและไม่รู้สาเหตุ แต่การควบคุมสติถือเป็นสิ่งที่ดี อาจจะเริ่มจากการสงบสติอารมณ์ นั่งนิ่งๆ หายใจเข้าลึกๆ อย่าคิดว่าตัวเองป่วยหรือจะเสียชีวิต เพราะมันจะยิ่งทำให้คุณแม่เครียดกว่าเดิมได้นั่นเองค่ะ

4.ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ

การออกกำลังกายและการพักผ่อน ถือเป็นการช่วยให้ระบบหัวใจและปิดทำอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุลยิ่งขึ้น และเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้คุณแม่ที่มีอาการแพนิคผ่อนคลายได้อย่างมาก เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ เล่นโยคะ หากิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่เหมาะสมและปลอดภัยกับตัวคุณแม่และเจ้าตัวเล็กในครรภ์ก็ช่วยได้นะคะ กินอิ่ม นอนหลับ รับรองว่าช่วยให้อาการต่างๆ ลดลงได้เยอะเลยค่ะ

5.เข้าคอร์สเตรียมพร้อมระหว่างตั้งครรภ์

เพราะการเตรียมความพร้อมก่อน ยิ่งทำให้คุณแม่มั่นใจและพร้อมมากกว่า ยิ่งได้เข้าอบรมเตรียมความพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเรียนรู้การดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์และก่อนคลอด ยิ่งจะช่วยลดความกังวลและความเครียดได้มากเลยค่ะ แถมการเข้าคอร์สแบบนี้ยังทำให้คุณแม่ๆ ได้ไปแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ กับคุณแม่ท่านอื่น เรียกได้ว่าได้เพื่อนเพิ่มอีกด้วยนะคะ

6.คนรอบข้างนั้นสำคัญ

อย่างไรก็ตามโรคแพนิค จริงๆ แล้วสามารถพบได้บ่อยมาก และก็ไม่เคยมีใครเสียชีวิตจากโรคแพนิคมาก่อน ซึ่งคุณแม่ๆ ไม่ต้องกังวลใจไปเลยนะคะ เพราะโรคนี้รรักษาได้ แต่คุณแม่ที่เป็นต้องเข้าใจและรู้วิธีรับมือและแนวทางการรักษาจากคุณหมออย่างถูกต้องเท่านั้นเอง ที่สำคัญคนรอบข้างก็สำคัญ เพราะคุณแม่ที่เป็นโรคแพนิคนี้เขาต้องการคนที่เข้าใจและกำลังใจจากคนรอบข้างเท่านั้นเองค่ะ ถึงจะเป็นสิ่งที่เล็กน้อยแต่ก็สามารถทำให้คุณแม่ๆ มีกำลังใจและลดความวิตกกังวลไปได้มากเลยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : medthai.compobpad.com, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save