ลูกน้อยเปรียบเสมือนของขวัญอันล้ำค่า แน่นอนว่าคนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมอยากที่จะดูแลลูกให้ดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อลูกยังเล็กอย่างเช่นช่วงวัย 6 เดือน – 3 ขวบ ถึงแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่าน อาจจะไม่ได้เลี้ยงลูกแบบเต็มเวลา เพราะต้องออกไปทำงาน แต่มั่นใจได้เลยค่ะว่า คุณพ่อคุณแม่ก็รักและต้องการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุดไม่แพ้ใครๆ
โดยเฉพาะอาหารการกิน ยิ่งถ้าไม่มีเวลาทำอาหารเอง การเลือกซื้อ ‘อาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็ก’ ที่มีสารอาหารหลักครบ 5 หมู่ และมีอย. ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี ที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเจ้าตัวเล็กให้มีการเติบโตที่ยิ่งใหญ่ในทุกวันได้ค่ะ
พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน – 3 ขวบที่พ่อแม่ต้องรู้!
อย่างที่กล่าวไว้ว่าช่วงเวลาทองของชีวิต รวมช่วงอายุ 6 เดือน – 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้ความสำคัญด้านพัฒนาการเด็กเป็นพิเศษ เพราะการที่ได้รู้ว่าพัฒนาการของลูกเป็นอย่างไร และเหมาะสมหรือไม่ จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับเจ้าตัวน้อยได้ถูกต้องค่ะ โดยพัฒนาการเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ขวบแต่ละช่วงวัยมีดังต่อไปนี้
พัฒนาการเด็กวัย 6 เดือน
-
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : เริ่มยันตัวขึ้นจากท่านอนคว่ำ โดยเหยียดแขนตรงทั้งสองข้างได้
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก : เอื้อมมือหยิบของและถือในท่านอนหงายได้
-
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- ความเข้าใจภาษา : หันตามเสียงเรียก
- ภาษาพูด : เริ่มเลียนแบบการเล่นทำเสียงได้
-
พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง
- สนใจฟังคนพูดและสามารถมองไปที่ของเล่นที่นำมาเล่นกับเด็ก
พัฒนาการเด็กวัย 9 เดือน
-
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : ลุกนั่งจากท่านอน คลาน เหนี่ยวตัวยืนขึ้นและเกาะยืนได้แล้ว
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก : ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วอื่นๆ หยิบของ
-
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- ความเข้าใจภาษา : ทำตามคำสั่งง่ายๆ เมื่อใช้ท่าทางประกอบ เช่น ปรบมือ
- ภาษาพูด : เลียนเสียงคำพูดที่คุ้นเคยได้ อย่างน้อย 1 เสียง
-
พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง
- เล่นจ๊ะเอ๋เป็นแล้ว อีกทั้งยังใช้นิ้วหยิบอาหารทานเองได้
พัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบ
-
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : ตั้งไข่ และยืนขึ้นได้ด้วยตนเองในช่วงเวลาสั้นๆ
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก : ใช้ปลายนิ้วหยิบของ
-
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- ความเข้าใจภาษา : ทำตามคำสั่งง่ายๆที่มีท่าทางประกอบ เช่น โบกมือ สวัสดี หรือปรบมือได้
- ภาษาพูด : แสดงความต้องการด้วยการทำท่าทางและเปล่งเสียง
-
พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง
- เริ่มใช้สิ่งของตามหน้าที่ถูกต้อง เช่น ใช้หวีมาหวีผม
พัฒนาการเด็กวัย 2 ขวบ
-
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : เหวี่ยงขาเตะลูกบอล และกระโดด 2 เท้าอยู่กับที่
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก : ต่อก้อนไม้ 4 ชิ้น และเริ่มแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือง่ายๆ ด้วยตนเอง
-
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- ความเข้าใจภาษา : เริ่มพูดตอบรับหรือปฏิเสธ
- ภาษาพูด : พูดวลีที่ประกอบด้วย 2 คำต่อกัน เช่น กินข้าว
-
พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง
- ใช้ช้อนตักอาหารทานเอง ล้างและเช็ดมือเองได้
พัฒนาการเด็กวัย 3 ขวบ
-
พัฒนาการด้านร่างกาย
- กล้ามเนื้อมัดใหญ่ : ยืนขาเดียวได้ 3 วินาที
- กล้ามเนื้อมัดเล็ก : เลียนแบบลากเส้นเป็นวงต่อเนื่องกัน
-
พัฒนาการด้านการสื่อสาร
- ความเข้าใจภาษา : เลือกวัตถุขนาดใหญ่-เล็กได้ นอกจากนี้ยังนำของ 2 ชิ้นมาให้ตามคำสั่งได้
- ภาษาพูด : พูด 3-4 คำ อย่างน้อย 4 ความหมาย
-
พัฒนาการด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง
- ใส่กางเกงได้เอง
โภชนาการสำหรับเด็กวัย 6 เดือน – 3 ขวบ
เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ขวบ เป็นช่วงวัยที่สำคัญของการเจริญเติบโตของสมองและร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องของอาหารเพิ่มมากขึ้นกว่าตอนที่เป็นทารก เพื่อให้เจ้าตัวเล็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอในการเจริญเติบโต เสริมสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท กระดูก กล้ามเนื้อ และอวัยวะต่างๆ ค่ะ
โภชนาการสำหรับเด็ก 6 เดือน : คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกรับประทานอาหารอื่นๆ นอกจากนมแม่ได้แล้วนะคะ โดยป้อนอาหารวันละ 1 มื้อ ซึ่งอาหารที่จะให้ลูกทานจะต้องปรุงสุก บดละเอียด วัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ข้าว ตับ ไข่แดงสุก ปลา และผักหลากสีต้มเปื่อย ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ได้สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่
โภชนาการสำหรับเด็ก 8 เดือน : ช่วงวัยนี้จะเพิ่มมื้ออาหารเป็น 2 มื้อ และเพิ่มปริมาณขึ้นด้วยค่ะ ใช้วัตถุดิบที่ให้สารอาหารครบ 5 หมู่ ให้ลูกได้ลองทานอาหารที่ใช้วัตถุดิบหลากหลาย มีเนื้อสัมผัสที่หยาบขึ้นเป็นการสับละเอียด
โภชนาการสำหรับเด็ก 9-12 เดือน : ช่วงวัยนี้จะเพิ่มมื้ออาหารเป็น 3 มื้อ สามารถทานอาหารหยาบมากขึ้นได้แล้ว ควรเปลี่ยนจากบดหรือสับละเอียดมาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทนนะคะ เพราะลูกจะเริ่มหยิบอาหารเข้าปากด้วยตนเองได้แล้ว และที่สำคัญก็ยังคงต้องให้ลูกทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เช่นเดิมค่ะ
โภชนาการสำหรับเด็ก 1-3 ขวบ : ลูกสามารถทานอาหารใกล้เคียงกับอาหารผู้ใหญ่มากขึ้น แต่ควรเน้นเป็นอาหารที่ไม่เหนียว และไม่แข็งมาก อุดมไปด้วยสารอาหารหลักครบ 5 หมู่ให้ทานมื้อหลัก 3 มื้อ และอาหารว่างอีก 2 มื้อ รวมถึงควรดื่มนมรสจืดวันละ 2-3 แก้วค่ะ (อ้างอิง: สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2565, กรมอนามัย)
การให้ลูกทานอาหารที่มีประโยชน์ตามโภชนาการจะช่วยให้ลูกมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาเตรียมอาหารให้เจ้าตัวเล็กก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ เรามี ‘อาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็ก’ ที่วางขายในท้องตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าทั่วไป ก็สามารถเป็นผู้ช่วยของคุณพ่อคุณแม่ได้เช่นกันค่ะ
เลือกซื้ออาหารเสริมเด็กต้องดูอะไรบ้างนะ ?
ก่อนซื้ออาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ต้องอ่านฉลากอาหารและฉลากโภชนาการก่อนเป็นอย่างแรกค่ะ โดยอาหารเสริมเด็กที่เลือกจะต้องมี สารอาหารหลักครบ 5 หมู่ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโต และเสริมสร้างพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพตามช่วงวัยของลูกนะคะ
Checklist การเลือกอาหารเสริมเด็ก
- เลือกอาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็กที่มีสารอาหารหลักครบ 5 หมู่
- เลือกอาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็กที่ผ่านมาตรฐาน อย. มีเลขทะเบียน อย. และระบุว่าเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็ก โดยเลือกซื้อให้เหมาะสมกับอายุของลูก
- เลือกอาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็กที่ผลิตภัณฑ์มีบรรจุภัณฑ์เรียบร้อยและยังไม่หมดอายุ
- เลือกอาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็กที่ไม่เติมผงชูรส
- เลือกอาหารเสริมตามวัยสำหรับเด็กที่ไม่มีสารปรุงแต่งสี กลิ่น และไม่ใส่สารกันบูด
เมื่อมี Checklist ในการเลือกซื้ออาหารเด็กตามวัยดังนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้เลยว่า ในทุกๆ คำของอาหารเสริมเด็กตามวัยที่ป้อนให้ลูกนั้น จะมีสารอาหารสำคัญทั้ง 5 หมู่อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาในการปรุงอาหาร คืนเวลาให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีความสุข ในทุกการเติบโตเล็กๆ ของลูกน้อย ได้เห็นและได้อยู่กับเจ้าตัวเล็กในทุกช่วงเวลาสำคัญ
คุณพ่อคุณแม่สามารถศึกษาข้อมู
ข้อมูลอ้างอิง