fbpx

รู้จักกับโรค Dyslexia โรคบกพร่องทางการอ่าน

Writer : Jicko
: 6 ตุลาคม 2563

การอ่านออกเขียนได้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนมักให้ความสำคัญ และอยากที่จะให้ลูกน้อยได้มีสิ่งเหล่านี้ แต่บางครั้งโชคก็ไม่เข้าข้างเอาเสียเลยกับเด็กๆ บางคน ที่มักจะเป็นปัญหาเรื่องการสะกดคำไม่เป็นหรืออ่านหนังสือไม่ได้ตามเพื่อนๆ จนทำให้เรียนไม่ทัน ซึ่งมันอาจจะเป็นผลมาจากโรคดิสเล็กเซีย (Dyslexia) ก็ได้ เจ้าโรคนี้จะเป็นยังไง พ่อแม่จะสังเกตลูกแบบไหน ไปทำความเข้าใจพร้อมกันเลยค่ะ

Dyslexia เป็นหนึ่งในภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ภาษาที่ส่งผลให้ไม่สามารถอ่าน สะกดคำ หรือเขียนหนังสือได้เหมือนคนทั่วไป ซึ่งเด็กๆ หลายคนมักจะประสบปัญหานี้แต่คุณพ่อคุณแม่อาจจะยังไม่ทราบว่าลูกเป็นโรค และคิดว่าลูกอาจจะเรียนไม่เก่งจริงๆ จนทำให้เกิดปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนนั่นเอง

ประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบเด็กที่เป็นโรค Dyslexia สามารถแบ่งเป็น 3 ข้อใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ความบกพร่องทางด้านการอ่าน (Reading Disorder) : เด็กๆ จะมีความสามารถในการอ่านต่ำกว่าคนอายุเท่าๆ กัน โดยจะไม่สามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่วเหมือนคนทั่วไป หรืออาจจะอ่านได้แต่ไม่สามารถจับใจความได้
  2. ความบกพร่องทางทักษะการเขียน การสะกดคำ การสร้างคำ หรือการสร้างประโยค (Written expression disorder) : สำหรับกลุ่มนี้เด็กๆ มักจะขาดทักษะการสะกดคำที่ถูกต้อง รวมทั้งยังไม่สามารถสร้างประโยคที่มีความหมายได้ ซึ่งมักจะพบควบคู่ไปกับความบกพร่องทางด้านการอ่านด้วยนั่นเอง
  3. ความบกพร่องทางด้านทักษะการคำนวณ (Mathematic disorder) : ส่วนความบกพร่องนี้เด็กๆ มักจะไม่เข้าใจถึงกระบวนการคำนวณต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บวก ลบ คูณ หรือหาร ซึ่งจะไม่เข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้คืออะไร

สาเหตุของความบกพร่อง

  • บุคคลในครอบครัวมีภาวะ Dyslexia
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักตัวแรกเกิดต่ำกว่าปกติ
  • เมื่อได้รับยา สารเสพติด หรือแอลกอฮอล์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ รวมถึงการเกิดภาวะติดเชื้อของมารดา ที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

อาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

วัยก่อนเข้าเรียน 

วัยนี้มักจะไม่แสดงอาการที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตได้ชัดเจน แต่สามารถสังเกตอาการได้บางราย ซึ่งมีดังนี้

1.มีปัญหาด้านการพูด เช่น พูดช้า ออกเสียงคำที่มีหลายพยางค์ไม่ได้

2.มีปัญหาเกี่ยวกับการจำตัวอักษร ตัวเลข และสี

3.สะกดคำไม่ได้ เรียนรู้คำใหม่ได้ช้า

4.ไม่เข้าใจเกี่ยวกับการเล่นเสียงสัมผัสของกลอนหรือเพลง

วัยเริ่มเข้าเรียน

เมื่อลูกเริ่มเข้าเรียนคุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มสังเกตอาการได้ชัดเจนขึ้น โดยอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการอ่านและเขียนหนังสือ ดังนี้

1.มีปัญหาเกี่ยวกับการจดจำชื่อหรือเสียงของตัวอักษร และการจัดลำดับของต่างๆ

2.มีปัญหาด้านการแยกความแตกต่างของรูปคำและเสียงตัวอักษร

3.มีพัฒนาด้านการสะกดคำและอ่านหนังสือช้ากว่าปกติ

4.อ่านออกเสียงคำที่ไม่คุ้นเคยไม่ได้

5.เลือกใช้คำพูดในการสื่อสารอย่างเหมาะสมไม่ได้

6.เขียนตัวอักษรและตัวเลขผิดอยู่เสมอ เช่น เลข 6 เป็น 9

 

พ่อแม่ควรดูแลเด็กๆ ได้อย่างไร ?

  • ให้เด็กๆ ได้ฟังเสียงตั้งแต่อายุ 6 เดือนหรือน้อยกว่านั้น เมื่อโตขึ้นอาจจะให้ฝึกอ่านนิทานก็ได้ค่ะ
  • สังเกตอาการของลูก หากมีภาวะ Dyslexia ให้ไปพบแพทย์ เพื่อรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อช่วยให้อาการดีขึ้น
  • ปรึกษาครูผู้สอนเกี่ยวกับการเรียนของลูกอย่างเหมาะสม คอยถามเกี่ยวกับการเรียนการสอนของลูกเสมอๆ
  • พยายามให้ลูกได้ฝึกอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ อาจจะมีการกำหนดเวลาสำหรับการอ่านหนังสือในแต่ละวันอย่างชัดเจนก็จะดีขึ้นค่ะ
  • ทำความเข้าใจโรค เพื่อความเข้าใจและควรอธิบายให้ลูกทราบด้วยว่า ภาวะนี้ไม่ใช่โรคที่เลวร้ายและไม่ใช่ความล้มเหลวในการใช้ชีวิตด้วย
  • พยายามกระตุ้นให้เด็กๆ มีความเชื่อมั่นในตนเองและเห็นคุณค่าในความสามารถด้านอื่นๆ ที่เขามี
  • เข้าร่วมกลุ่มสนับสนุนต่างๆ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับภาวะ Dyslexia รวมทั้งช่วยให้ผู้ที่เกิดภาวะนี้ได้เรียนรู้วิธีรับมือกับอารมณ์ของตนเองได้อย่างดีขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากคุณแม่ที่กำลังวางแผนมีบุตรหรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ หากต้องการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะ Dyslexia นี้ ก็ต้องดูแลตัวเองให้มาก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อตัวเองและลูก ที่สำคัญเลยต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัส สูดดม หรือรับประทานอาหารที่มีสารเคมีเจือปน หากมีการคลอดก่อนกำหนด ก็ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลกันต่อไปนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : Pobpad, Health.Kapook, Honestdocs, Catdumb

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



จะรู้ได้ยังไง ว่าลูกเป็น “สมาธิสั้น”
เตรียมตัวเป็นแม่
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save