fbpx

วิธีรับมือกับลูกชอบต่อรองอย่างไรให้ได้ผล

Writer : Jicko
: 11 มิถุนายน 2562

” หนูขออีกแปปเดียวนะคะ ” ใช่ค่ะประโยคตัวอย่างนี้คุณพ่อคุณแม่มักจะได้ยินบ่อยๆ เมื่อเด็กๆ เริ่มโตและเริ่มต่อรองในเรื่องต่างๆ ได้ จนบางครั้งคุณพ่อคุณแม่ก็เกินจะรับไหว เมื่อเขาต่อรองจนต้องแผลงฤทธิ์ตามมาจนเราต้องถอดใจ ทำตามที่เขาขอเพื่อไม่ให้ลูกงอแง

ซึ่งวันนี้ทาง ParentsOne มีแนวทางปฏิบัติเมื่อลูกชอบต่อรอง ที่ใช้ได้ได้ผลดี จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

เด็กวัยไหนที่ชอบต่อรอง

พบว่าเด็กวัย 3 – 4 ขวบ เป็นเด็กที่สามารถต่อรองเรื่องต่างๆ กับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว เนื่องจากทักษะทางภาษาของเขาเริ่มสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร และการต่อรองกับพ่อแม่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่สอนให้เด็กๆ รู้จักคิดและหาทางออกที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับได้นั้นเอง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมล่ะคะ เพราะการต่อรองมักจะมีฝ่ายที่งอแงเสมอ และด้วยความเป็นเด็กของเขาทำให้บางครั้งเขาก็ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับสิ่งที่ต่อรองจากคุณได้ เราต้องใช้เวลาค่ะ เรื่องนี้มีทางออกค่ะคุณพ่อคุณแม่

แนวทางปฏิบัติเมื่อลูกเกิดการ “ต่อรอง”

  • Kind but firm : เป็นเรื่องที่ยังไงก็ต่อรองกันไม่ได้

เป็นเรื่องที่ยังไงก็ไม่สามารถให้ลูกได้ แม้จะต่อรองกันยังไงก็ตาม กฏย่อมเป็นกฏ อย่างเช่น เรื่องการคาดเข็มขัดขณะอยู่บนรถทุกคนต้องปฏิบัติ เช่นเดียวกับลูกที่ต้องนั่งคาร์ซีท หากหนูไม่ยอมนั่งหรืองอแง คุณพ่อคุณแม่เองก็จะไม่ออกรถไปไหนทั้งนั้น เป็นต้น เพียงแค่ “เรายืนยัน ไม่ได้ก็คือไม่ได้ค่ะ”

  • ถามความคิดเห็น หรือให้ทางเลือกกับลูก 

ถ้าหากเรื่องนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ซีเรียส หรือต้องทำตามต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ก็สามารถต่อรองกันได้ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องพยายามไม่สั่งให้เขาต้องต่อรอง แต่เปลี่ยนมาเป็นการถามความคิดเห็นแทนหรืออาจจะให้ทางเลือก

เช่น ” ใกล้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก หนูจะอาบน้ำเมื่อไหร่ดี ” หรือ ” หนูจะดูการ์ตูนอีก 1 หรือ 2 ตอนดีคะ เราจะได้ไปนอนกัน ” เป็นต้น

  • win/win situation : เป็นการตกลงที่โอเคทั้งสองฝ่าย

ถ้าเป็นเรื่องที่ลูกก็ต่อรองได้ และคุณพ่อคุณแม่เองก็ไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกหรือเปล่า ขอแนะนำว่าให้เราและลูกช่วยกันคิด หรือตกลงกันที่ทั้งสองฝ่ายเข้าใจและโอเคทั้งคู่

เช่น ” แม่รู้ว่าหนูอยากดูการ์ตูนต่ออีกหลายตอน แต่ตอนนี้ถึงเวลากินข้าวแล้ว และคุณพ่อก็รอกินข้าวพร้อมกับเราอยู่ งั้นช่วยคิดซิว่า ทำยังไงให้หนูได้ดูการ์ตูนต่อแล้วเราก็ไปกินข้าวกับคุณพ่อกัน ”

ลูกก็จะตอบว่า ” งั้นหนูขอดูอีก 1 นาทีนะคะ แล้วจะรีบไปกินข้าวกับคุณพ่อกัน “/ คุณแม่พูดว่า ” ได้จ๊ะลูก งั้นอีกนาทีเดียวนะคะ ” เพียงเท่านี้ก็ถือว่า win win ทั้งคู่นะคะ

  • ท่าทีเป็นเรื่องสำคัญ

โดยการต่อรองนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรจะสบตากับลูกอย่างจริงจัง มีสีหน้า และท่าที ที่แสดงออกให้รู้ว่าเราเอาจริงแล้วนะ เมื่อตกลงกันแล้ว ถึงเวลาแม่จะเอาจริงนะ เมื่อลูกต่อรองถือว่าเป็นที่สิ้นสุด เมื่อครบตามเวลาที่ได้ตกลงกันแล้วทั้ง 2 ฝ่าย จะไม่มีการต่อรองเกิดขึ้นอีก ให้คุณแม่เดินเข้าไปหาลูกและสบตาเขาอย่างจริงจัง แล้วบอกลูกว่า “หมดเวลาแล้วตามที่ตกลง” แต่เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกว่ากดดันหรือบีดคั้นมากเกินไป เราอาจจะเสนอทางเลือกให้เขาเช่น ถึงเวลาปิดทีวีที่เราได้ตกลงไว้แล้วเราอาจจะถามเขาว่า “ลูกจะปิดเองหรือให้แม่ปิดคะ” เป็นต้น

  • มองโลกในแง่ดี

เมื่อเราได้เปิดใจไม่มองการต่อรองเป็นเรื่องที่เลวร้ายมากนัก ก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่เป็นพัฒนาการในแง่ดีนะคะ เพราะนอกจากที่เราจะได้รู้ว่า ลูกของเราก็รู้จักแสดงความคิดเห็นเป็นของตัวเองแล้ว ก็ยังรู้จักต่อรองอย่างเข้าใจเหตุผล ถึงแม้จะเป็นเหตุผลที่มีความเป็นเด็กก็ตามค่ะ  ดังนั้นเราต้องฝึกเด็กๆ ให้รู้จักต่อรองอย่างมีเหตุมีผลและรับฟังเหตุผลได้นั้นเองค่ะ เมื่อลูกได้เรียนรู้ว่าเรารับฟังความต้องการของเขา ความต้องการของเราก็จะถูกลูกเข้าใจมากขึ้นเสมอค่ะ

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : หมอโอ๋ เลี้ยงลูกนอกบ้าน, amarinbabyandkids, หมอเสาวภา เลี้ยงลูกเชิงบวก

 

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
25 มีนาคม 2562
กำลังใจที่ไม่เคยสังเกต
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save