fbpx

ใจเย็นนะแม่จ๋า! 6 ขั้นตอนควบคุมอารมณ์เมื่อโมโหลูก

Writer : Lalimay
: 16 มิถุนายน 2564

เป็นกันไหมคะ เวลาที่เราโมโหทีไร เส้นอารมณ์จะขาดผึงจนไม่สามารถควบคุมได้ เราเอาแต่บ่นและเสียงดังใส่ลูก เพราะความโกรธหรืออารมณ์โมโหเป็นเรื่องของมนุษย์ค่ะ ไม่ว่าใครก็มีอารมณ์โมโหได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่ที่สำคัญคือเราจะจัดการกับความโมโหยังไงให้มีสติมากกว่า วันนี้เราจึงมีขั้นตอนการควบคุมอารมณ์เวลาที่โมโหลูกมาฝากค่ะ อาจไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายๆ แต่ถ้าฝึกบ่อยๆ จะทำได้ดีขึ้นแน่นอนนะคะ

1.ตั้งสติและรับรู้อารมณ์ตัวเองว่า “กำลังโมโห”

อย่างแรกที่ต้องทำคือรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองค่ะ ว่าตอนนี้คุณพ่อคุณแม่กำลังรู้สึกอะไร เพราะอะไร เช่น รู้สึกว่ากำลังโมโห เพราะลูกไม่ยอมเก็บของเล่นสักทีทั้งที่บอกไปหลายครั้งแล้ว

2.บอกลูกด้วยน้ำเสียงสงบ ไม่ต้องใส่อารมณ์ว่า “แม่กำลังโมโหอยู่นะ”

พอเรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองแล้ว ก็แนะนำให้พูดกับลูกตรงๆ ค่ะว่าเรากำลังรู้สึกอะไร เพราะอะไร แต่ต้องพูดด้วยน้ำเสียงสงบและห้ามใส่อารมณ์โดยเด็ดขาดนะคะ เช่น “ตอนนี้แม่กำลังโมโหหนูอยู่นะคะ ที่แม่บอกให้เก็บของเล่นหลายครั้งแล้ว แต่หนูไม่ยอมทำตาม”

3.บอกลูกว่าเดี๋ยวเราค่อยมาคุยกันหลังจากที่แม่ใจเย็นลงแล้ว

จากนั้นให้บอกลูกว่าเดี๋ยวเราจะไปจัดการอารมณ์ของตัวเองก่อน แล้วจะมาคุยกับลูกหลังจากที่ใจเย็นลงแล้ว เช่น “เดี๋ยวแม่จะไปหายใจลึกๆ แป๊บนึง แล้วเรากลับมาคุยกันตอนที่แม่ใจเย็นลงแล้วนะคะ”

4.ใช้เวลากับตัวเองสักแป๊บเพื่อให้ใจเย็นขึ้น

พอบอกลูกเสร็จให้คุณพ่อคุณแม่ปลีกตัวมาจากลูกแล้วใช้เวลาอยู่กับตัวเองสักพักเพื่อให้ใจเย็นลงค่ะ อาจนับ 1-10 ช้าๆ หายใจเข้าออกลึกๆ หรือทำอะไรก็ได้ให้ตัวเองใจเย็นลง เพราะจะทำให้คุณพ่อคุณแม่มีสติและควบคุมตัวเองได้ดีกว่า

5. คิดเสมอว่าเวลาที่เราตะคอกลูก ไม่เป็นผลดีกับใครทั้งนั้น

ให้เราคิดอยู่เสมอนะคะว่าเวลาที่เรากำลังอารมณ์ไม่ดี คำพูดของเราคือศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดที่จะทำร้ายจิตใจของคนอื่นได้ โดยเฉพาะจิตใจของลูก ดังนั้นพยายามควบคุมอารมณ์ให้ได้ และอย่าตะคอกลูกด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวเพราะทั้งลูกและเราก็จะรู้สึกไม่ดีด้วยกันทั้งนั้น

6. หลังจากที่ใจเย็นลงแล้ว “ค่อยคุยกับลูก”

เมื่อเราใช้เวลาจนเริ่มใจเย็นลง หัวค่อยๆ หายร้อนแล้วก็ค่อยไปคุยกับลูก คุยด้วยเหตุผล ทบทวนอารมณ์ที่เกิดขึ้น มานั่งสะท้อนอารมณ์กันแล้วคุยว่าลูกจะมีวิธีจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นยังไง เพื่อไม่ให้เกิดความโมโหแบบนี้ขึ้นอีก

อาจเป็นเรื่องที่ฟังดูยากใช่ไหมคะ เพราะเมื่อถึงหน้างานจริงๆ หลายคนคงฟิวส์ขาด ไม่ได้นึกถึงขั้นตอนเหล่านี้แน่ๆ ถึงอาจจะยากแต่เชื่อว่าถ้าเราฝึกฝนเรื่อยๆ รู้จักจับความรู้สึกของตัวเองได้บ่อยๆ เมื่อนานไปเราก็จะรับมือกันสถานการณ์แบบนี้ได้ดีขึ้นแน่นอน

และที่สำคัญเมื่อเราทำเป็นตัวอย่างบ่อยเข้า ลูกก็จะสามารถรับมือกับอารมณ์โมโหของตัวเองได้เช่นกัน เพราะถ้าอยากสอนให้ลูกควบคุมอารมณ์ได้ พ่อแม่ต้องทำให้ได้ก่อนนะคะ

ข้อมูลอ้างอิงจาก

 

Writer Profile : Lalimay

  • Blog :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ไม่เป็นไร
26 สิงหาคม 2563
แด่…ลูกสาวของแม่
ชีวิตครอบครัว
6วิธี ช่วยลูกน้อย ค้นหาพรสวรรค์
กิจกรรมของครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save