fbpx

ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร

Writer : OttChan
: 4 พฤศจิกายน 2563

เคยเจอปัญหานี้กันไหมคะ ลูกชอบพูดแทรกเวลาเราคุยธุระหรือกำลังพูดคุยอยู่กับเพื่อนฝูงจนทำให้การพูดคุยนั่นมีสะดุดไปและสร้างความรู้สึกไม่ดีให้กับคู่สนทนาด้วย และบางครั้งถ้าเราทำทีไม่ฟังคิดว่าเดี๋ยวคุยเรื่องของเราจบค่อยหันไปสนใจก็ได้ เจ้าตัวแสบของเราก็จะเรียกร้องความสนใจทุกทางทั้งโวยวาย, เขย่าหรือดึงเราแรงๆ เพื่อให้หันมาสนใจและที่ทำให้ต้องตกใจที่สุดคืออาจทำลายข้าวของด้วยความน้อยอกน้อยใจ จนเราต้องละจากทุกสิ่งจริงๆ ไปจัดการ

หากใครกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ต้องมาอ่านแล้วล่ะค่ะกับบทความนี้เพื่อทำความเข้าใจและแก้ปัญหาไปด้วยกันกับปัญหา การชอบพูดแทรกของลูก จะเป็นอย่างไรนั้น อ่านไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ!

ทำไมลูกถึงชอบพูดแทรก

เป็นปัญหาที่มีความเห็นที่หลากหลายมากๆ ว่าทำไมเด็กบางคนถึงต้องพูดทุกครั้งในเวลาที่เรายกหูโทรศัพท์หรือตอนที่เรากำลังพูดคุยอยู่กับผู้อื่นแต่เวลาปกติก็ไม่เห็นจะเข้ามาพูดคุยหรืออยากให้เราฟังสิ่งที่เขาเล่าเลย ซึ่งในแต่ละอาการมีเหตุผลในการเข้ามาพูดคุยที่ต่างกันออกไปค่ะซึ่งสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ มาลองสังเกตกันนะคะว่าเด็กๆ ในบ้านเราเข้าข่ายพฤติกรรมไหนมากที่สุด

มีอาการสมาธิสั้น

อาการสมาธิสั้นเป็นหนึ่งให้เหตุผลที่ทำให้ลูกไม่มีความอดทนหรือไม่รู้จักการรอคอย แต่อาการนี้จะมีสิ่งอื่นที่พ่วงเข้ามามากกว่าแค่การชอบพูดแทรกคือ เหม่อลอย, ไม่สามารถอยู่กับกิจกรรมอะไรได้นานๆ , อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย, ขี้หลงขี้ลืม ฟังอะไรได้ไม่จบ ซึ่งถ้าหากลูกเข้าข่ายอาการนี้ต้องรีบหาทางแก้ไขอย่างจริงจังเพราะภาวะสมาธิสั้นจะมาพร้อมกับความไม่อยู่นิ่งจนน่าเวียนหัว

เรียกร้องความสนใจ

ในบางครั้งถ้าลูกของเราเลือกที่จะงอแงหรือชวนเราพูดคุยแค่เวลาที่เราพูดคุยกับผู้อื่นหรือกำลังคุยธุระทางโทรศัพท์กับคนอื่น แต่ในเวลาที่แตกต่างออกไป เขากลับไม่ได้มีความสนใจหรือเข้าหาแบบตอนที่เราต้องสนทนาก็อาจแปลได้ว่า ลูกกำลังเรียกร้องความสนใจ ไม่อยากให้เราสนใจคนอื่นมากกว่าเขาค่ะ

ไม่เข้าใจสถานการณ์และคิดว่าไม่ใช่เรื่องผิด

เพราะเด็กก็คือเด็กทำให้เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าเวลาไหนควรหรือไม่ควรในการเข้ามาพูดคุย เพราะคิดว่าสามารถทำหรือพูดได้ในทันทีแบบทุกครั้งและเขาก็อาจเป็นอีกหนึ่งคนที่อยากพูดคุยและแสดงความเห็นต่างๆ กับประเด็นที่กล่าวถึง ทำให้จังหวะการพูดคุยธุระของพ่อแม่ต้องมีสะดุดไปบ้าง และอาจส่งผลให้แย่ลงหากทุกครั้งที่มีการเรียกและผู้ปกครองหันลงไปสนใจและทำการพูดคุยกับเขาด้วย เขาก็จะยังคงไม่รู้ต่อไปว่าจังหวะไหนสามารถแทรกได้หรือไม่ได้

วิธีแก้ปัญหาที่ลูกชอบพูดแทรก

พอเราได้รู้สาเหตุแล้วว่าทำไมลูกถึงชอบพูดแทรกก็ได้เวลามาดูกันแล้วค่ะ ว่าหากลูกของเราเข้าข่ายอาการนี้มากที่สุดจะต้องแก้อย่างไร

วิธีแก้อาการสมาธิสั้น

อาการสมาธิสั้นนั้นเกิดขึ้นได้จากทั้งกรรมพันธุ์, พฤติกรรมและการเลี้ยงดูดังนั้นวิธีในการแก้นั้นจึงมีการแก้ที่แตกต่างกันออกไปซึ่งการแก้จะแบ่งออกไปตามจุดเริ่มต้นของอาการสมาธิสั้นค่ะ

  • เกิดจากการเลี้ยงดู, พฤติกรรมส่วนตัว คุณพ่อคุณแม่จะต้องหากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาการด้านการเสริมสร้างสมาธิเช่น, การวาดภาพ, การปั้นหรือแม้แต่การชักชวนมาอ่านนิทานก็ช่วยได้เช่นกัน และหากอยากให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ไม่ควรให้ลูกอยู่ติดหน้าจอเป็นเวลานานเพราะจะยิ่งทำให้อาการสมาธิสั้นเป็นหนักมากกว่าเดิม และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการมีเวลาให้เขาให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจกับอาการของลูก
  • เกิดจากกรรมพันธุ์, มีอาการมาตั้งแต่แรกเกิด จำเป็นต้องพบกับกุมารแพทย์เพื่อทำการประเมินอาการว่าอยู่ในระดับน่ากังวลหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ อาจได้ยามาให้เด็กๆ ทานเพื่อด้วยปรับสมดุลของอารมณ์อีกด้วยค่ะ แต่การพบแพทย์ต้องเป็นการพบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การรักษาเกิดความต่อเนื่อง ดังนั้นต้องใส่ใจมากๆ เลยค่ะ
วิธีแก้การเรียกร้องความสนใจ

ในปัญหานี้นับว่าเป็นปัญหาที่พบเจอได้มากที่สุดและสามารถแก้ไขได้ง่ายที่สุดค่ะซึ่งการแก้นั้นต้องค่อยๆ ทำทีละขั้นไป เรามาดูกันดีกว่าว่าจะต้องรับมืออย่างไร

  • ต้องพูดคุยกันเป็นกิจลักษณะ ทำให้รู้ว่านี่คือเรื่องจริงจังที่เราให้ความใส่ใจ
  • สอบถึงเหตุผลที่ลูกต้องการให้เราสนใจหรือเอาใจใส่ในเวลานั้น ให้ลูกได้ระบายความรู้สึกให้เราฟัง
  • ทำข้อตกลงกับลูกเวลาเราติดธุระพูดคุยกับบุคคลอื่น, คุยทางโทรศัพท์ ต้องอดทนรอได้ และต้องเน้นย้ำเสมอว่าเราเองก็ให้ความสำคัญกับเขา
  • เมื่อลูกรอได้ให้ชมเชยแสดงความจริงใจว่าเราชื่นชมจริงๆ กับการที่เขาทำตามข้อตกลงได้
  • รักษาสัญญาให้ได้หลังเขายอมรอ เช่นสัญญาว่าหากรอได้จะเล่นด้วย, จะทำอาหารที่ชอบให้ ก็ต้องทำตามสัญญาไม่เบี่ยงเบนหรือทำลืมไป
วิธีแก้การไม่เข้าใจสถานการณ์

เป็นธรรมดาที่ลูกนั้นยังเล็กเกินกว่าจะแยกได้ว่าแบบไหนคือการเสียมารยาท แบบไหนเป็นการร่วมวงสนทนาด้วย ซึ่งแน่นอนว่า เด็กๆ มักต้องการความสนใจ ทำให้เพวกเขาคิดว่าเขาสามารถพูดคุยได้กับทุกสถานการณ์และทุกคนก็ต้องฟังเขาด้วย หากมีการไม่ยินยอมฟังหรือใส่ใจ ความน้อยอกน้อยใจหรือปมด้อยต่างๆ อาจเกิดขึ้นมาได้โดยง่าย ดังนั้นจากลูกไม่รู้จังหวะควรแก้ไขดังนี้

  • แสดงสัญญาณทางร่างกายเช่นยกมือเล็กน้อยหรือบอกให้หยุดแต่ไม่มีท่าทีจะดุจะด่า
  • ขอให้ลูกรอก่อน และสัญญาจะรีบมาพูดคุยด้วย
  • เมื่อพูดคุยจบ ขอปลีกตัวออกมาเพื่อพูดคุยถึงเนื้อหาที่ลูกต้องการสื่อสารกับเรา ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง และสอนลูกว่าหากต้องการพูดคุยต้องรู้จักรอให้คนอื่นพูดจบก่อนจึงค่อยขอออกความเห็น
  • หากลูกบอกว่าต้องการจะร่วมวงสนทนาด้วย ควรพูดคุยให้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องมารยาทในการสนทนากับผู้อื่น
  • สอนถึงสิ่งที่ควรทำเวลาอยู่กลุ่มพูดคุยเพื่อปูให้เป็นมารยาทพื้นฐานที่ลูกสามารถนำไปใช้ได้กับทุกสังคมและทุกสถานการณ์

 

 

ที่มา : pobpad , themagicalkidsamarinbabyandkidsmgronline

Writer Profile : OttChan

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ชีวิตครอบครัว ชีวิตครอบครัว
3 มกราคม 2563
เพราะแม่จะเป็นใครก็ได้
ชีวิตครอบครัว
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save