fbpx

เป็นเด็กก็เครียดได้ "ภาวะโรคเครียดในเด็กที่พ่อแม่ต้องรู้"

Writer : Jicko
: 4 มกราคม 2562

รู้ไหมคะ ว่าเด็กๆ ก็สามารถเครียดได้เหมือนกับผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่ความสามารถในการแสดงออกระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่นั้นอาจแตกต่างกันออกไปค่ะ เพราะผู้ใหญ่อย่างเราๆ สามารถแสดงอารมณ์หรือแสดงความรู้สึกของตัวเองได้ เพราะเข้าใจความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งต่างกับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ที่ไม่สามารถแสดงออกทางภาษาได้อย่างครบถ้วนนั้นเองค่ะ

วันนี้ทาง Parentsone จึงนำเรื่องภาวะโรคเครียดมานำเสนอคุณพ่อคุณแม่กันในวันนี้ เพราะเรื่องเครียดของเด็กๆ ต้องได้รับการดูแลและช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ด้วยเช่นกัน ไปดูกันเลยค่ะ

ความเครียดในเด็กปัจจุบันเกิดจากสาเหตุต่างๆ มากมาย และทางจิตแพทย์เผยสถิติเด็กเครียดในปัจจุบันมีมากถึง 30% และ 10% อยู่ในระดับความเครียดที่รุนแรงนั้นเองค่ะ

ความเครียดของเด็กสามารถแบ่งได้ 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 เป็นลักษณะของเด็กที่มีความเครียด วิตกกังวล ไม่มีสมาธิ ซึ่งขึ้นนี้จะไม่เป็นความเครียดที่ไม่มีผลกระทบต่อการเรียนและไม่กระทบกับความสัมพันธ์ของคนรอบๆ ข้าง เพียงแค่เป็นความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงไปเท่านั้นค่ะ
  • ระดับที่ 2 เป็นลักษณะที่เริ่มรุนแรงขึ้นมาอีกขั้น โดยขั้นนี้จะกระทบต่อการเรียน และการทำงาน รวมไปถึงกับคนรอบข้างอีกด้วยค่ะ
  • ระดับที่ 3 เป็นลักษณะที่มีความรุนแรงและมีผลกระทบอย่างมาก ขึ้นนี้จะทำให้เด็กไม่มีสมาธิ ผลการเรียนตก ซึมเศร้า เหม่อลอย อยากตาย ร่างกายไม่มีกำลัง เพราะเนื่องจากระบบประสาททำงานผิดปกติ ฟังชั่นของเด็กผิดปกติไปด้วย เช่นเมื่อสมองไม่มีความสมดุล เมื่อเด็กเจอความเครียด ระบบสมองก็จะลดน้อยลงไป ทำให้การทำงานของเซลล์สมองติดขัด ทำให้สมองเปลี่ยนแปลงนั้นเองค่ะ

สาเหตุของความเครียด

มีด้วยกัน 2 สาเหตุหลักๆ ซึ่งได้แก่

  • ปัจจัยภายนอก เช่น เรื่องการบ้าน การงาน ความขัดแย้งกันในครอบครัว การย้ายบ้าน เป็นต้น
  • ปัจจัยภายใน ซึ่งบางเด็กบางคนมีนิสัยที่คิดมาก หรือวิตกกังวลในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้เกิดอารมณ์เครียดและเศร้าได้อย่างง่ายดาย

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียด

  • กรรมพันธุ์ที่ทำให้ระบบประสาทเกิดความเครียดง่าย หรือเรียกง่ายๆ ก็คือคุณพ่อคุณแม่มีนิสัยที่เครียดและวิตกกังวลง่าย ทำให้ลูกเรียนรู้นิสัยจากคุณพ่อคุณแม่นั้นเองค่ะ
  • สภาพแวดล้อมที่เครียด เช่น เกิดปัญหากันในครอบครัวบ่อย คุณพ่อคุณแม่คาดหวังและกดดันลูกเกินไป เป็นต้น
  • การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน โดยเฉพาะช่วงรอยต่อจากเด็กไปสู่วัยรุ่น ซึ่งมีการปรับตัวในสังคม และในช่วงวัยใกล้หมดประจำเดือนของผู้หญิง อีกทั้งวัยทองของผู้ชายก็ ซึ่งก็ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด วิตกกังวลและโกรธง่ายถึงแม้จะน้อยกว่าผู้หญิงก็ตามค่ะ

เด็กมักจะเครียดเรื่องอะไรบ้าง

  • การบ้านที่ต้องทำมากเกินไป : เนื่องจากเด็กๆ เรียนมาทั้งวัน แถมยังมีการบ้านที่เยอะแยะกลับมาทำที่บ้านอีก ทำให้เด็กๆ อาจจะเครียดได้ เพราะสมองของเขาได้ทำงานหนักมาทั้งวันนั้นเองค่ะ
  • ทะเลาะกับพี่น้อง หรือเพื่อนที่โรงเรียน : ซึ่งอย่างเราๆ เห็นก็คงเป็นเรื่องธรรมดาที่พี่น้องหรือเพื่อนต้องทะเลาะกัน แต่เด็กๆ นั้นยังไม่มีความเข้าใจและยับยั้งอารมณ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความเครียดกับเด็กๆ ได้ค่ะ
  • รู้สึกไม่มีใครรักและสนใจ : ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทำให้เด็กๆ ค่อนข้างเครียดอย่างมาก เพราะด้วยความเป็นเด็ก เขาต้องการการยอมรับจากคนรอบข้างโดยปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนที่เขารักและผูกพันธ์ด้วยนั้น เขาก็จะแสดงออกมาด้วยความหวงและอิจฉา ไม่พอใจ แกล้งไม่พูดด้วยหรือทำร้ายนั้นเองค่ะ เช่นเวลามีเพื่อนใหม่เข้ามาในกลุ่ม เพื่อนๆ คนอื่นก็ทำการต้อนรับและให้ความสนใจ จนคิดว่าเพื่อนรักเพื่อนใหม่มากกว่า ทำให้เขาต่อต้านและแยกตัวออกจากกลุ่ม เป็นต้น
  • เปลี่ยนโรงเรียนใหม่ : เนื่องจากเขาต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ไม่เคยเจอ ทำให้เด็กๆ อาจเกิดการเครียดได้ บางคนจะมีอาการไม่สบาย ปวดหัว ปวดท้อง อาเจียน หรือแกล้งป่วยเพื่อจะได้ไม่ไปโรงเรียนนั้นเอง วิธีแก้คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปเข้าค่ายเตรียมความพร้อมก่อนเข้าโรงเรียน ได้เจอกับเพื่อนใหม่ๆ ก่อน เพื่อให้เขาปรับตัวนั้นเองค่ะ
  • คิดว่าตัวเองไม่เก่งเอาซะเลย : ซึ่งเกิดจากความกดดันที่ไม่มีหรือไม่เก่งเหมือนคนอื่น เช่น พี่เรียนเก่งกว่า หรือเล่นกีฬาไม่เก่งเหมือนเพื่อน ทำให้เขารู้สึกท้อแท้และเกิดความเครียดขึ้นมาได้นั้นเองค่ะ ซึ่งเหล่านี้ต้องปรับที่สิ่งรอบๆ ตัว และความคิดหรือรู้สึกของตัวเด็กนั้นเองค่ะ

อาการ

เมื่อเด็กๆ รู้สึกเครียดจากอะไรก็ตามมาก ก็จะมีอาการที่บ่งบอกว่าเขาเครียดแล้ว เช่น

  • ปวดหัว หรือปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ท้องเสีย มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
  • ใจสั่น เหงื่อออก
  • เบื่อ เศร้า ไม่อยากทำอะไร
  • โกรธ หงุดหงิด หรือร้องไห้ง่าย
  • ไม่มีสมาธิ วิตกกังวล

น.พ. จอม ได้แนะนำวิธีป้องกัน และแก้ไขเพื่อไม่ให้เด็กเครียด ด้วยกัน 4 ข้อ ดังนี้

  • หมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของลูกอยู่เสมอ

คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปพูดคุย รับฟังความคิดเห็นจากลูก เมื่อลูกมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น เมื่อเห็นลูกเงียบๆ หรือเหนื่อยๆ ควรเข้าไปถามเขาว่ามีอะไรหรือเปล่า พยายามแสดงความห่วงใยและเข้าใจเขา แล้วลูกจะรับรู้เองว่าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจเขามากขึ้นนั้นเองค่ะ

  • ไม่ควรกดดันลูกจนเกินไป

เพราะการกดดันลูกโดยเฉพาะเรื่องการเรียน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดหวังลูกจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเครียดได้นั้นเองค่ะ แต่ถ้ากรณีที่เด็กมีความอ่อนไหวต่อความรู้สึกแม้ว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้กดดันเขา หรือไม่ได้คาดหวังอะไร เด็กก็อาจจะเครียดเองได้ เพราะเขาจะสร้างความกดดันให้กับตัวเอง โดยที่ตั้งเป้าหมายไว้ต้องทำให้ได้หรือไม่ ก็เกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยของเด็กนั้นเองค่ะ

  • ไม่ควรดุ ตำหนิ หรือตีลูก

การดุด่า หรือการตีลูกจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับตัวเอง และจะทำให้เขารู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่ไม่รัก อีกทั้งยังทำให้เขาเกิดการต่อต้าน และนำเอาวิธีที่ปฏิบัตินั้นไปใช้กับเพื่อนที่โรงเรียน ทางที่ดีก็คือคุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติและใช้เหตุผลกับลูกให้มากที่สุดนะคะ นอกจากนี้ต้องเลิกเพิกเฉยต่อเด็กอย่างสมเหตุสมผลเพราะบางอย่างเด็กอาจจะต้องการให้คุณพ่อคุณแม่สนใจเขาและเข้าใจเขาด้วยนั้นเองค่ะ

  • ใช้เวลาอยู่กับลูกบ่อยๆ และเข้าใจลูกให้มาก

ควรมีเวลาให้กับลูกบ่อยๆ อย่างเช่น การพาไปทำกิจกรรมร่วมกันเป็นครอบครัว เล่นกับลูกบ่อยๆ จะทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแนบแน่น ถ้าหากลูกอยู่ในวัยประถม คุณพ่อคุณแม่อาจจะเล่นสนุกกับเขา ชมเชยเขาได้ ส่วนถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยกำลังเป็นวัยรุ่นละก็ อาจจะเป็นที่ปรึกษาพูดคุยกับเขา เป็นการช่วยให้เขาเปิดใจระบายความในใจออกมาให้เราฟัง ทำให้ลูกไม่เครียดนั้นเองค่ะ

*** แต่หากรู้สึกว่าเครียดและวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ และควบคุมความรู้สึกไม่ได้ เป็นระยะเวลาที่นาน จนทำให้เด็กๆ ไม่มีความสุข และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะพาเด็กๆ ไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษา และช่วยปรับความคิดและพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้นนั้นเองค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : 40plus.posttodaybumrungradbangkokhealththaihealth

Writer Profile : Jicko

  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



เตรียมตัวเป็นแม่ เตรียมตัวเป็นแม่
26 พฤศจิกายน 2561
มีบุตรยาก แก้ไขอย่างไรได้บ้าง
ข้อมูลทางแพทย์
วิธีการสอนให้ลูกรับมือกับความผิดหวัง
เตรียมตัวเป็นแม่
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save