หลายครั้งที่ลูกทำผิด แม้จะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว คุณแม่ควรว่ากล่าวตักเตือนลูกเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็กลัวจะว่าลูกแรงไปบ้าง กลัวลูกจะเสียใจบ้าง จนบางทีก็ไม่กล้าแม้แต่จะว่าลูกเลย แล้วคุณแม่สามารถปรับวิธีการแสดงออกได้อย่างไรบ้าง
ต้องเป็นผู้นำที่ดีให้ลูกเห็น
ก่อนที่คุณแม่จะสั่งสอนว่ากล่าวตักเตือนลูกแล้ว จะต้องมั่นใจเสียก่อนว่าคุณแม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกเห็นและสามารถเป็นผู้นำที่ดีให้กับลูกของตัวเองได้ การตักเตือนลูกจะดูน่าเชื่อถือขึ้นมา
สร้างความไว้วางใจให้กับลูก
สร้างความไว้วางใจให้กับลูกถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อเวลาที่ลูกทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีลงไป ลูกจะได้กล้าปรึกษา แทนที่ลูกจะกลัวความผิด และใช้วิธีการโกหก
ไม่ควรตำหนิหรือดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิด
ไม่ควรตำหนิหรือดุด่าลูกเมื่อลูกทำความผิดแต่ควรใช้เหตุผลพูดคุยกัน เพราะบางทีการที่เด็กถูกตำหนิ อาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมชอบโกหก และคิดว่าไม่เป็นที่ต้องการ บางครั้งพฤติกรรมเหล่านั้นก็อาจจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นก็เป็นได้
หาสาเหตุของปัญหาให้ได้เสียก่อน
ทุกปัญหาจะมีสาเหตุเสมอ คุณแม่ควรรู้สาเหตุที่ลูกนั้นทำผิดคืออะไร จะทำให้แก้ได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น เช่น ตามใจลูกมากเกินไปจนลูกเอาแต่ใจ ตะโกนใส่ลูกบ่อยๆ จนลูกมีอาการก้าวร้าว
คิดเสียว่าติเพื่อก่อให้เกิดนิสัยที่ดี
คุณแม่ที่ไม่กล้าว่าลูกอาจจะมีความคิดว่าการว่าลูกจะรุนแรงกับลูกจนเกินไป อย่าไปคิดเด็ดขาดว่าการว่าลูกเป็นการทำร้ายจิตใจลูก แต่เป็นการทำให้ลูกรู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดและไม่ทำแบบนั้นอีก คิดเสียว่าเป็นการติเพื่อก่อให้เกิดนิสัยที่ดีกับลูกต่อไป
อย่าเป็นพ่อแม่รังแกฉันเลย
หลายๆ คนอาจไม่ได้ตั้งใจแต่กลายมาเป็นพ่อแม่รังแกฉันเสียเองเพราะกลัวที่จะว่าลูกเมื่อลูกทำผิด ทำให้ลูกได้ใจและมีนิสัยเอาแต่ใจก็เป็นได้ ดังนั้น อย่ากลัวที่จะว่าลูกเลยค่ะ
ปรับระดับการว่าลูกตามความเหมาะสม
อย่างไรก็ตามคุณแม่ควรมีการว่าและการลงโทษในระดับที่เหมาะกับความผิดนั้นๆ ของลูก ซึ่งเป็นไปตามความเหมาะสมกับสถานการณ์นั้นๆ
การสอนลูกให้เป็นคนดีนั้น เป็นหนึ่งในสิ่งที่คุณแม่ควรทำ เพื่อให้ลูกเติบโตเป็นคนดีในอนาคต อย่างไรก็ตามควรจะมีศิลปะในการว่าลูกที่มำให้ลูกรู้สึกสบายใจที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไปค่ะ
ที่มา