fbpx

รู้หรือไม่? อุบัติเหตุแบบไหนต้อง "ประคบร้อน VS ประคบเย็น" ดีนะ?

Writer : Mneeose
: 13 พฤษภาคม 2564

เมื่อลูกขาแพลง เพราะเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด คุณพ่อคุณแม่รู้หรือไม่คะว่าวิธีการปฐมพยาบาลขั้นต้นคือต้องทำอย่างไร? ถูกต้องแล้วค่ะ ก็ต้องประคบตรงบริเวณรอยฟกช้ำที่บวมเป่งนั่นเองใช่ไหมล่ะ ซึ่งการประคบก็มีอยู่หลากหลายแบบหลายวิธี เช่น การประคบร้อน และประคบเย็น แล้วแต่ประเภทของการปวดบวม

ที่สำคัญ คือ ใครจะไปคิดว่าการประคบสามารถรักษาโรคต่างๆ ให้หายได้หลายโรคเลยด้วย

เอ๊ะ!! แล้วการประคบร้อน หรือประคบเย็นนั้นมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?  เเล้วเราจะมีวิธี หรือเกณฑ์ในการเลือกใช้การประคบอย่างไรให้ถูกประเภท เราไปดูกันเลยค่ะ

ความแตกต่างของการประคบร้อน VS ประคบเย็น

ประคบเย็น

ประคบเย็นเมื่อปวด หรือได้รับบาดเจ็บภายใน 24-48 ชั่วโมง หรือ 1-2 วัน ประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อช่วยให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง นอกจากนี้ความเย็นยังช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้ดีอีกด้วย

อุปกรณ์ : แผ่นประคบเย็น หรือถุงห่อด้วยน้ำแข็ง

ประคบร้อน

ประคบร้อนเมื่อปวดเรื้อรัง หรือบาดเจ็บตั้งแต่ 2-3 วันขึ้นไป แล้วยังไม่หาย เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายความปวดตึง ประคบนาน 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้ง แต่ห้ามประคบร้อนตรงที่มีบาดแผลเปิด และมีเลือดออกเด็ดขาด เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และไม่ควรประคบนานจนเกินไป

เพราะความร้อนช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ช่วยบรรเทาอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ที่สำคัญ คือ ควรมีผ้ารองประคบร้อน เพื่อป้องกันการแสบ และแผลพุพอง

อุปกรณ์ : เจลประคบร้อน กระเป๋าน้ำร้อน หรือผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน

 

เราจะประคบเย็น เมื่อเกิดอาการ :

  • เลือดกำเดาไหล
  • มีไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะ
  • บาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • มีอาการอักเสบ เช่น ปวด บวม แดง ร้อน
  • ปวดฟัน หรือปวดเฉียบพลัน
  • รอยฟกช้ำจากการกระแทก เช่น หัวโน
  • ข้อเท้าแพลง
  • น้ำร้อนลวก
  • ไฟไหม้ที่รุนแรง

 

เราจะประคบร้อน เมื่อเกิดอาการ :

  • ปวดตึงกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดขา
  • ประคบหลังจากที่อาการกล้ามเนื้ออักเสบหายแล้ว และไม่มีอาการบวมแดง เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น เมื่อข้อเท้าลูกแพลงให้รีบประคบเย็นก่อน หลังจากที่เริ่มยุบและไม่มีอาการบวมแดงแล้ว ค่อยประคบร้อนต่อ
  • ตะคริว
  • ปวดประจำเดือน
  • เต้านมคัดในช่วงให้นมบุตร
  • Office Syndrome

ดังนั้น ก่อนการประคบร้อน-เย็น จึงควรสังเกตบริเวณที่ปวดว่ามีอาการ บวม แดง ร้อนหรือไม่ รวมทั้งอาการปวดว่าปวดแบบไหน หรืออุบัติเหตนั้นอยู่ในช่วง 7 วันแรกหรือไม่ก่อนนะคะ เพื่อที่จะได้รู้ว่าควรประคบเย็น หรือประคบร้อนให้ถูกวิธีนั่นเอง

ขอขอบคุณแหล่งอ้างอิง : www.hsri.or.th
www.cherseryhome.com

Writer Profile : Mneeose

💙💙💙

  • Blog :
  • Social Media :

  • Official Sponsors :
  • Samitivej Hospital

Generic placeholder image

บทความที่เกี่ยวข้อง



ลูกชอบพูดแทรก จะแก้อย่างไร
ชีวิตครอบครัว
แม่จ๋า! น้ำร้อนลวกหนู ทำอย่างไรดี
ข้อมูลทางแพทย์
Update
anal porno zdarma culi nudi al mare free sex videos antalya escort

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save